สภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3

Main Article Content

สุลัดดาวัลย์ อัฐนาค
อัศวฤทธิ์ อุทัยรัตน์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการตามความคิดเห็นของครูผู้สอนในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูผู้สอนเกี่ยวกับสภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาจำแนกตามเพศ ตำแหน่งของครูผู้สอน และวุฒิทางการศึกษาและเพื่อศึกษาเงื่อนไขที่ส่งเสริมการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากตารางสำเร็จรูปของ Krejcie andMorgan ได้กลุ่มตัวอย่าง 283 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ได้ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับด้านสภาพการปฏิบัติงาน เท่ากับ .98 และด้านปัญหาการปฏิบัติงานเท่ากับ .94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t และการทดสอบค่า F

ผลการวิจัย พบว่า

1. การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา มีสภาพการบริหารงานวิชาการโดยรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก และมีปัญหาการบริหารงานวิชาการโดยรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับน้อย

2. การเปรียบเทียบสภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา พบว่า

2.1 ครูผู้สอนที่มีเพศแตกต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการบริหารวิชาการในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ทั้งโดยรวมและรายด้านแตกต่างกัน

2.2 ครูผู้สอนที่มีตำแหน่งแตกต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการบริหารวิชาการในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา โดยรวมไม่แตกต่างกัน

2.3 ครูผู้สอนที่มีวุฒิการศึกษาแตกต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3. เงื่อนไขที่ส่งเสริมการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา พบว่า 3.1 ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ครูผู้สอนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ต้องมีการวิเคราะห์เอกสารหลักสูตร สาระแกนกลางเกี่ยวกับสภาพปัญหาและความต้องการของสังคมและท้องถิ่น

3.2 ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ครูผู้สอนต้องจัดทำแผนการเรียนรู้ตามสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจ ความถนัดของผู้เรียน

3.3 ด้านการวัดผลประเมินและเทียบโอนผลการเรียน สถานศึกษาต้องกำหนดระเบียบแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการวัดผลประเมินผลให้สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษา

3.4 ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาครูผู้สอนต้องศึกษา วิเคราะห์ วิจัย เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ในแต่ละกลุ่มสาระ

3.5 ด้านการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ครูผู้สอนต้องจัดหาสื่อและเทคโนโลยีเพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอน และพัฒนางานด้านวิชาการอย่างสม่ำเสมอ

3.6 ด้านการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ สถานศึกษาต้องส่งเสริม สนับสนุนให้ครูใช้แหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกโรงเรียนในการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างประสบการณ์ให้เกิดกับผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง

3.7 ด้านการนิเทศการศึกษาสถานศึกษาต้องจัดอบรมหรือให้การนิเทศด้วยการสอนแก่ครูอย่างสม่ำเสมอ เพื่อประเมินผลการปฏิบัติงานในสถานศึกษา

3.8 ด้านการแนะแนวการศึกษาสถานศึกษาต้องจัดระบบการแนะแนวทางวิชาการและวิชาชีพภายในสถานศึกษา โดยเชื่อมโยงกับระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

3.9 ด้านการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาสถานศึกษาต้องมีการจัดระบบโครงสร้างองค์กร ให้รองรับการจัดระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

3.10 ด้านการส่งเสริมความรู้ทางวิชาการแก่ชุมชน สถานศึกษาต้องจัดให้ความรู้ และเทคนิคทักษะทางวิชาการในชุมชนอย่างสม่ำเสมอ

3.11 ด้านการประสานความร่วมมือ ในการพัฒนางานวิชาการกับสถานศึกษาและองค์กรอื่น สถานศึกษาต้องมีการประสานความร่วมมือช่วยเหลือโดยการวิจัยจะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด

3.12 ด้านการส่งเสริมสนับสนุนงานวิชาการแก่บุคคล ครอบครัว องค์กร หน่วยงานและสถานบันอื่นที่จัดการศึกษาต้องจัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการจัดการศึกษากับสถาบันอื่นอย่างต่อเนื่อง

 

State and Problems of Academic Affairs in the School Education Expansion Area Office of Ubon Ratchathani Education Service Area 3

This research aims to study the conditions and problems of academic administration as perceived by the teachers in school Education Expansion under Office of Bangkok City Primary 3 to compare the opinions of teachers about. academic Administration and problems in school, by sex, educational opportunities for their teachers. And Education And to study the conditions that promote the academic administration in schools expand educational opportunities.

The research population As a teacher in schools Education Expansion Area under the Office of Education District 3 of 55 hotels in Ubon 2555 a total of 1,074 samples were used in the research. Determine the sample size of the table finished Krejcie and Morgan (1970 : 608, cited in Theerawut Mono S. 2550: 143-144) and 283 samples have the confidence both to the operational conditions were .98 and. the operational problems was .94

The research findings were as follows:

1. Academic administration of the school to expand educational opportunities. Area under the Office of Education District 3 Ubon condition overall academic administration and all the sides were level. And the problem of academic management, and the sides were level.

2. Comparison and Problems of Academic Administration expands educational opportunities. Area under the Office of Education District 3 Ubon found.

2.1 Teachers having sex with a different opinion about the Civil Aeronautics Administration in the Office of School Education Expansion Area Elementary Ratchathani District 3 as a whole and the different aspects

2.2 Teacher positions with different opinions about the Civil Aeronautics Administration School Education Expansion Overall, no difference

2.3 Education teachers have different opinions about the administration. Academic school educational opportunities. By different

3. Conditions that promote academic administration in schools expand educational opportunities. Area under the Office of Education District 3 Ubon found.

3.1 Development curriculum . Teachers and stakeholders . Must have basic education curriculum document analysis. The core essence of the Ministry of Education About the problems and needs of society.

3.2 In terms of the development of the learning process. Teachers should plan learning material and activities according to their interest. Aptitudes of learners

3.3 Measuring the assessment and transfer of learning. The school should set the rules for guidelines on assessing compliance with educational standards .

3.4 Research to improve the quality of education. Teachers should study research to improve the quality of learning in each strand .

3.5 In developing innovative media and technology for education. Teachers should provide materials and technology for use in teaching and learning. Academic Development and consistently.

3.6 The development of learning resources . Education should promote Teachers are encouraged to use the source Learning both in and out of school learning experiences for the students to create an ongoing basis.

3.7 The Educational Supervision The school should provide training or supervision with instruction to teachers regularly. To evaluate the performance of educational institutions .

3.8 The Education Schools should organize academic and professional careers in education. By linking with the Student Care.

3.9 The development of quality assurance in education. The school should have an organized structure .To support a system of quality assurance in education.

3.10 The promotion of academic knowledge to the community. The school should provide the knowledge. Academic and technical skills in the community regularly.

3.11 The cooperation In the development of educational institutions and other organizations. The school should be helped by the research collaboration will benefit.

3.12 The academic support to individuals, families, organizations and agencies. Other educational institutions The school should provide for the exchange of knowledge in management studies with other institutions that manage continuing education.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)