ทิศทางและอนาคตของการวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์

Authors

  • ทิพนาถ ชารีรักษ์

Abstract

วิชารัฐประศาสนศาสตร์ เป็นวิชาที่ว่าด้วยการบริหารราชการแผ่นดิน มีวีการบริหารที่นำมาใช้หลากหลายเพื่อให้บรรลุผลลัพธ์ คือ ประโยชน์สุขของประชาชน และความเจริญรุ่งเรื่องที่ยั่งยืน ในช่วงปี 1950 – 1970 มีนักวิชาการเสนอแนวความคิดในการบริหารงานที่แตกต่างออกไป  เช่น มองว่าการบริหารงานของรัฐจำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับการเมือง รวมถึงหลักการบริหารแบบวิทยาศาสตร์ถูกท้าทายจากการเสนอหลักการบริหารที่คำนึงถึงหลักมนุษย์สัมพันธ์และทรัพยากรมนุษย์ (เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ, 2549). ทำให้วิชารัฐประศาสนศาสตร์โดยรวมถูกท้าทายจนเกิดวิกฤตการณ์ด้านเอกลักษณ์ ในช่วงต่อเนื่องกันนี้ผู้เสนอวิชารัฐประศาสนศาสตร์ในแนวทางใหม่ (New Public Administration – NPA) ที่เสนอให้ระบบราชการต้องคำนึงถึงปัจจัยในเรื่องค่านิยมของสังคม ความยุติธรรม ความสำคัญในเรื่องการเมืองต่อการบริหารงานและสิ่งแวดล้อมในการบริหารงานอื่น ๆ นอกจากนี้แนวโน้มของวิชารัฐประศาสนศาสตร์ในอนาคตยังเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพแวดล้อมภายนอกด้วย มีประเด็นที่สำคัญทั้งหมด 15 ประเด็น ประกอบด้วย 1) ยุคของการติดต่อสื่อสารที่รวดเร็ว 2) โลกที่ไม่มีพรมแดนด้านเศรษฐกิจ 3) ขั้นตอนที่จะนำไปสู่โลกเศรษฐกิจเดียว 4) สังคมการบริการรูปแบบใหม่ 5) จากใหญ่ไปเล็ก 6) ยุคใหม่ของการใช้เวลาว่าง 7) การเปลี่ยนแปลงรูปแบบของการทำงาน 8) ผู้หญิงก้าวเข้ามาเป็นผู้นำ 9) ยุคของการใช้สมอง 10) วัฒนธรรมชาตินิยม 11) การเติบโตของชนชั้นล่าง 12) ประชาชนมีช่วงเฉลี่ยของอายุขัยยาวนานขึ้น 13) สังคมที่ต้องพึงพาตนเอง 14) การประกอบธุรกิจที่ต้องพึ่งพาอาศัยกัน 15) ยุคปัจเจกบุคคล

Downloads

Published

2018-12-01

How to Cite

ชารีรักษ์ ท. (2018). ทิศทางและอนาคตของการวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์. Journal of Humanities and Social Sciences Loei Rajabhat University, 1(2), 107–110. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/husolru/article/view/245407