Economic Analysis of Law as Legal Philosophy

Main Article Content

Pawarit Lertdhamtewe

Abstract

นิติเศรษฐศาสตร์เชื่อว่าการเลือกอย่างมีเหตุผลของคนในชีวิตประจำวันคือรากฐานสำคัญของการสร้างความเป็นธรรมในสังคม แนวคิดสำนักนิติเศรษฐศาสตร์จึงเป็นสำนักคิดนิติปรัชญารูปแบบหนึ่งที่แสวงหาความยุติธรรม โดยวางหลักไว้ว่ามนุษย์ทุกคนจะเลือกทำสิ่งใด ก็ต่อเมื่อสิ่งนั้นก่อให้เกิดความพึงพอใจมากที่สุด ฉะนั้น หากคนเราต้องการสิ่งใด บุคคลนั้นย่อมยินดีที่จะ “จ่าย” ราคาเพื่อให้ได้สิ่งนั้นมา นิติเศรษฐศาสตร์จึงสอดคล้องกับแนวคิดทางนิติปรัชญาทั้งสองสำนักอย่างกฎหมายธรรมชาติและกฎหมายบ้านเมือง แนวคิดที่สนับสนุนนิติเศรษฐศาสตร์ คือการทำให้เกิดความมั่งคั่งสูงสุด มุมมองของนิติเศรษฐศาสตร์จึงมองกฎหมายเป็นเครื่องมือในการนำพาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคม การวิเคราะห์กฎหมายโดยใช้หลักทางเศรษฐศาสตร์จึงสามารถอธิบายให้เห็นถึง (1) เหตุผลและความจำเป็นของการบัญญัติกฎหมายที่แท้จริง (2) ผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายในการกำกับ “พฤติกรรม” ของคนในสังคม และ (3) กฎหมายที่ควรจะเป็น บทความนี้กล่าวถึงนิติเศรษฐศาสตร์ในฐานะที่เป็นสำนักหนึ่งของปรัชญากฎหมาย

Article Details

Section
Research Articles
Author Biography

Pawarit Lertdhamtewe, Faculty of Law, Ramkhamhaeng University

Pawarit Lertdhamtewe holds Ph.D. degree from the University of London where he was a Herchel Smith Scholar. He is currently a director of LL.M. program at Bangkok University, Thailand. He has been commissioned by a number of international organizations and Thai public institutions, such as Quaker United Nations Office in Geneva, Office of the Constitutional Court of Thailand, as well as the Ministry of Justice.

References

หนังสือ/ตำรา
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต), นิติศาสตร์แนวพุทธ (พิมพ์ครั้งที่ 14, กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พระพุทธศาสนาของธรรมสภา, 2555)
ปวริศร เลิศธรรมเทวี, ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา (พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2562)
ปวริศร เลิศธรรมเทวี, สิทธิด้านสิ่งแวดล้อมกับรัฐธรรมนูญ (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์นิติธรรม, 2559)
ศักดา ธนิตกุล, กฎหมายกับเศรษฐศาสตร์ (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์นิติธรรม, 2557)
David Friedman, Law’s Order: What Economics Has to Do with Law and Why It Matters (Princeton: Princeton University Press, 2001)
Raymond Wacks, Philosophy of Law: A Very Short Introduction (Oxford: Oxford University Press, 2014)
Richard A. Posner, Economic Analysis of Law (United States: Wolters Kluwer, 1973)
Richard A. Posner, The Economic of Justice (Cambridge, Massachusetts: Harvard University Press, 1983)
Steven Shavell, Foundations of Economic Analysis of Law (Cambridge, Massachusetts: Harvard University Press, 2004)

บทความในหนังสือ (Chapter in Edited Books)
Giovanni B. Ramello, ‘The past, present and future of comparative law and economics’ in Theodore Eisenberg and Giovanni B. Ramello (eds), Comparative Law and Economics (Cheltenham: Edward Elgar, 2016) 3-22
Louis Kaplow and Steven Shavell, ‘Economic Analysis of Law’ in Alan J. Auerbach and Martin Feldstein (eds), Handbook of Public Economics (Amsterdam: Elsevier, 2002) 1661-1784

วารสารวิชาการ (Journal Articles)
Guido Calabresi, ‘Some Thoughts on Risk Distribution and the Law of Torts’ (1961) 70(4) Yale Law Journal, 499-553

รายงานวิจัย (Research Reports)
ปกป้อง จันวิทย์, การวิเคราะห์กฎหมายด้วยหลักเศรษฐศาสตร์: แนวคิดและวรรณกรรมปริทัศน์ (กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2554)
รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์, เศรษฐศาสตร์รัฐธรรมนูญ : บทวิเคราะห์รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 (กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2545)
สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ และคณะ, โครงการการวิเคราะห์และกระบวนการยุติธรรมทางอาญาด้วยเศรษฐศาสตร์ (กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2554)