พระบรมราโชบายด้านการศึกษากับการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน
คำสำคัญ:
พระบรมราโชบายด้านการศึกษา, การพัฒนาชุมชนบทคัดย่อ
พ่อหลวงรัชกาลที่ ๙ พ่อหลวงแห่งแผ่นดินสยาม ตลอดระยะเวลา ๗๐ ปี ที่ทรงครองราชย์ พระองค์ทรงพยายามทำทุกสิ่งในการบำบัดทุกข์ เสริมสร้างสุขให้เกิดขึ้นกับประชาชนชาวไทยทุกคน ประเทศไทยของเรากำลังพัฒนาในด้านต่างๆ เทียบเท่าอารยประเทศ อย่างไรก็ตาม สิ่งหนึ่งที่เติบโตควบคู่กันไปด้วยก็คือปัญหาและอุปสรรคที่เกิดจากภัยธรรมชาติ ปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม ปัญหาความยากจน ปัญหาด้านยาเสพติด โรคระบาด ประชาชนไม่มีงานทำ ครอบครัวแตกแยก การไม่ได้รับการศึกษาของเยาวชน ฯลฯ เป็นต้น
เพื่อเป็นการป้องกันและแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น พระองค์จึงทรงคิดทบทวนเพื่อหาหนทางในการแก้ไขปัญหาให้กับราษฎรเหล่านั้นในระยะยาวโดยมีคณะองคมนตรีเป็นที่ปรึกษา พระองค์ทรงริเริ่มดำเนินโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่ที่แตกต่างกันออกไป โครงการทั้งหมด จึงเปรียบเสมือนยาวิเศษ เป็นตัวแทนของความรักและความห่วงใยของพ่อหลวงรัชกาลที่ ๙ ที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยทุกคน ขอเพียงให้ทุกคนได้ศึกษา ทำความเข้าใจ และนำไปเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตประจำวัน ก็จะสามารถนำไปใช้ในการแก้ปัญหาต่างๆ ได้ยั่งยืน
แต่ในความเป็นจริง ปัญหาที่เกิดขึ้นในบริบทของแต่ละชุมชนนั้นมีความแตกต่างกันออกไป จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้คนดี ที่มีความรู้มีความเข้าใจและดำเนินชีวิตตามรอยของพ่อหลวงรัชกาลที่ ๙ ได้ร่วมกันแสดงออกเพื่อประโยชน์ของชุมชน แต่ในความเป็นจริงคนดีที่มีความรู้ความเข้าใจและเดินตามแนวทางการปฏิบัติของพ่อหลวงรัชกาลที่ ๙ นั้นมีอยู่อย่างจำกัด ทำให้การพิจารณาแก้ไขปัญหาภายในชุมชนไม่สามารถกระทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเร่งสร้างคนดีให้มีอยู่ในทุกชุมชน
ดังนั้นการน้อมนำพระบรมราโชบายด้านด้านการศึกษาของในหลวงรัชกาลที่ ๑๐ ซึ่งพระองค์ทรงมีพระราชดำรัสว่า “การศึกษา คือ ความมั่นคงของประเทศ การศึกษาต้องสร้างให้คนไทยมีทัศนคติที่ดีและถูกต้อง มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคงเข้มแข็ง มีอาชีพ มีงานทำ และมีความเป็นพลเมืองดี มีระเบียบวินัย” ดังนั้น พระบรมราโชบายด้านการศึกษา จึงเป็นการสร้างและพัฒนาคนดี ให้มีความรู้ความสามารถ และร่วมกันพัฒนาชาติบ้านเมืองให้เจริญงอกงามอย่างถาวรต่อไป
ทุกคนในชุมชนล้วนมีส่วนสำคัญในการพัฒนาชุมชนด้วยกันทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังนั้นการน้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของพ่อหลวงรัชกาลที่ ๑๐ มาร่วมสร้างคนดีให้กับชุมชน รวมถึงการนำมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันและการทำงาน จะสร้างให้ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ ได้รับการพัฒนาอย่างถูกต้องเหมาะสม ประหยัดงบประมาณ สามารถนำไปแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิผล ส่งเสริมให้เกิดความมั่นคงในชุมชนให้เกิดขึ้นได้อย่างถาวร
References
พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ องคมนตรี (๒๕๖๒). เนื้อหาการสอนวิชา พระบรมราโชบายด้านการศึกษาของในหลวงรัชกาลที่ ๑๐ หลักสูตรจิตอาสาพระราชทาน ๙๐๔ หลักสูตรหลักประจำรุ่นที่ ๓/๖๒ “เป็นเบ้า เป็น แม่พิมพ์”
พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ องคมนตรี (๒๕๖๓). เนื้อหาการสอนวิชา พระบรมราโชบายด้านการศึกษาของในหลวงรัชกาลที่ ๑๐ หลักสูตรจิตอาสาพระราชทาน ๙๐๔ หลักสูตรหลักประจำรุ่นที่ ๕/๖๓ “เป็นเบ้า เป็น แม่พิมพ์”
ราชกิจจานุเบกษา (๒๕๔๗). มหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. ๒๕๔๗. สืบค้นเมื่อ ๑๔ มกราคม ๒๕๖๔. จากhttps://www.cmru.ac.th/assets/files/act/rajabhat-university-act-be-2547.pdf
มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี. (๒๕๖๓). กองพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. สืบค้นเมื่อ ๑๔ มกราคม ๒๕๖๔. จาก http://stu.sru.ac.th/2020/09/18/social-engineer-suratthani-rajabhat-university/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย และบุคลากรท่านอื่นๆในกองบัญชาการฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว