แนวทางการส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อของหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา

ผู้แต่ง

  • สุขรินทร์ เมธยาภา สำนักงานทหารพัฒนา หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา

คำสำคัญ:

โคเนื้อ, การส่งเสริมอาชีพ, หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา, SWOT

บทคัดย่อ

          การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบสถานการณ์โคเนื้อในปัจจุบัน ปัจจัยที่มีผลต่อการส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อ และเสนอแนวทางการส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อของหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา โดยสถานการณ์ในปัจจุบันการผลิตเนื้อโคในประเทศไทยยังไม่เพียงพอต่อความต้องการบริโภคภายในประเทศ ซึ่งยังได้รับผลกระทบจาก FTA ไทย-ออสเตรเลีย ที่มีการนำเข้าผลิตภัณฑ์เนื้อโคแช่แข็ง แต่ก็ยังมีโอกาสจากสถานการณ์การระบาดโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (African swine fever : ASF) ของประเทศเพื่อนบ้าน ในการเพิ่มช่องทางการจำหน่ายของเกษตรกร เมื่อทำการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการส่งเสริมโคเนื้อ ด้วยการทำ SWOT วิเคราะห์ปัจจัยภายในเพื่อให้รู้ถึงจุดแข็งจุดอ่อนของตลาดโคเนื้อ และประเมินสถานการณ์ปัจจัยภายนอกเพื่อหาโอกาสและอุปสรรค จนได้แนวทางในการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงโคเนื้อของหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา 3 ด้าน ดังนี้ ด้านการสนับสนุนอาชีพการเลี้ยงโคเนื้อโดยเจ้าหน้าที่ต้องมีข้อมูลรอบด้านโดย ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในการพิจารณาการส่งเสริมอาชีพ ด้านการสนับสนุนเจ้าหน้าที่ผสมเทียมโดยการพัฒนาความรู้ มีทักษะมีความเชี่ยวชาญ และเป็นผู้ประสานงานในการทำงานกับเกษตรกรและเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ด้านการผลิตน้ำเชื้อแช่แข็งโดยจัดทำการจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM) เพื่อดึงองค์ความรู้จากบุคคลออกมาใช้ถ่ายทอดให้กับกำลังพลและนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

References

Mintzberg, H. (1990). The design school: reconsidering the basic premises of strategic management. Strategic management journal, 11(3), 171-195.
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ. (2551). ความตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย (Thailand - Australia Free Trade Agreement: TAFTA). สืบค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2563, จาก http://www.thaifta.com/ThaiFTA /Home/FTAbyCountry/tabid/53/ctl/detail /id/21/mid/480/usemastercontainer/true/Default.aspx.

กรมปศุสัตว์. (2562). แผนเตรียมความพร้อมเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรและแนวทางเวชปฏิบัติของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร. สืบค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2563, จาก https://dld.go.th/th/images/stories/hotissue/asf/ContingencyPlanAndCPG2.pdf

กรมปศุสัตว์. (2563). จำนวนเกษตรกรและโคเนื้อ รายจังหวัด ปี 2563, สืบค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2563, จาก http://ict.dld.go.th/webnew/images/stories/report/regislives/2020/country/2-cattle.pdf

กรมส่งเสริมสหกรณ์. (2563). ประมวลข้อมูลการดำเนินงานส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์ภาคการเกษตรและกลุ่มเกษตรกรประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. สืบค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2563, จาก http://office.cpd.go.th/dacfg/images/2563/63_PDF.pdf

คณะอนุกรรมาธการพิจารณาศึกษาผลผลิตทางการเกษตรในคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ. (2560). รายงานผลการศึกษายุทธศาสตร์การส่งเสริมและการพัฒนาอุตสาหกรรมโคเนื้อไทยทั้งระบบ. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2564). สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญและแนวโน้ม ปี 2564. สืบค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2563, จาก http://www.oae.go.th/assets/portals/1/files/jounal/2564/ trend2564.pdf

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ. (2563). รายงานผลกระทบของโรคไข้หวัดหมู (African swine fever : ASF) ต่อสินค้าเนื้อหมูในตลาดจีน. สืบค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2563, https://www.ditp.go.th/ditp_web61/article_sub_view.php?filename=contents_attach/613749/613749.pdf&title=613749&cate=413&d=0

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-04-2021