พระบรมราโชบายด้านการศึกษากับภารกิจของกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏในการเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น

ผู้แต่ง

  • ดร.นงรัตน์ อิสโร Ministry of Natural Resources and Environment

คำสำคัญ:

พระบรมราโชบายด้านการศึกษา, ภารกิจ, กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ

บทคัดย่อ

กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นที่กระจายตัวอยู่ทุกภูมิภาคของประเทศไทย ได้น้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาในการสร้างให้ผู้เรียนมีทัศนคติที่ดีและถูกต้อง มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคงเข้มแข็ง มีอาชีพ-มีงานทำ และเป็นพลเมืองดีมีระเบียบวินัยมาสู่การปฏิบัติ โดยจัดทำยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579) ขึ้นเพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางในการยกระดับคุณภาพการศึกษาและพัฒนาท้องถิ่นในท้องที่ตน รวมทั้งยังได้ร่วมกันพัฒนาการจัดการเรียนรู้นอกห้องเรียนรูปแบบใหม่ โดยใช้งานกิจกรรมนักศึกษาระหว่างเรียนเพื่อสร้างทักษะจำเป็นสำหรับศตวรรษที่ 21 ให้บัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเป็นนักคิด นักสื่อสาร นักประสาน และนักสร้างนวัตกรรม ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ข้ามศาสตร์แบบลงมือปฏิบัติจริงที่ใช้การพัฒนาชุมชนท้องถิ่นเป็นฐาน ซึ่งจะทำให้นักศึกษาที่ผ่านกระบวนการบ่มเพาะนี้มีทักษะจำเป็นที่จะนำไปใช้ในการจัดการกับปัญหาหรือความท้าทายในชีวิตที่มีความซับซ้อนมากขึ้นได้

References

ทิศนา แขมณี. (2555). บัณฑิตศึกษาในศตวรรษที่ 21: การปรับหลักสูตรและการสอน. เอกสารอัดสำเนา.

นงรัตน์ อิสโร (2562). วิศวกรสังคม (Social Engineer) สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาประเทศ. เอกสารสรุปผลการอบรมเชิงปฏิบัติการ

นงรัตน์ อิสโร (2562). วิศวกรสังคม คนของพระราชา ข้าของแผ่นดิน. เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการวิศวกรสังคม

ประเวศ วะสี. (2554). ระบบการศึกษาที่แก้ความทุกข์ยากของคนทั้งแผ่นดิน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นครปฐม: ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล.

มนตรี แย้มกสิกร. (2546). การพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาการคิดเชิงระบบของนิสิตระดับปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีทางการศึกษา. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตรบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ (2563). การประชุมที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ 38 แห่ง ทั่วประเทศ ครั้งที่ 1/2564. เอกสารประกอบการประชุม

คู่มือยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ฉบับปรับปรุง (2561). การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อทบทวนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น 8-11 ตุลาคม 2561. เอกสารสรุปผลการประชุมเชิงปฏิบัติการนำเสนอต่อ พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ องคมนตรี

Cook DJ, Mulrow CD, Haynes RB. Systematic reviews: synthesis of the best evidence for clinical decisions. Ann Intern Med 1997; 126(5):376-80.

Kay, K. (2010). 21st Century Skills: Why the Matter, What They are, and How We Get There. In Bellanca, J. & Brandt, R. (Eds.), 21st Century Skills: Rethinking How Students Learn. Bloomington, In: Solution Tree Press.

Kurt F. Geisinger (2016) 21st Century Skills: What Are They and How Do We Assess Them?, Applied Measurement in Education, 29:4, 245-249

Linus J. McManaman (1958) Social Engineering: The Legal Philosophy of Roscoe Pound, St. John’s Law Review, 33:1, 1-47

Mulrow CD, Cook DJ, Davidoff F. Systematic reviews: critical links in the great chain of evidence. Ann Intern Med 1997; 126(5):389-91.

Senge, P. M. (1990). The Fifth Discipline: The Art and Practice of the Learning Organization. New York: Doubleday Currency.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-08-2021