คุณลักษณะส่วนบุคคลและการมีส่วนร่วมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประชาชนในตำบลควนโส อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง

  • ทวนธง ครุฑจ้อน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, การอนุรักษ์, ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นเชิงปริมาณ โดยกำหนดวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประชาชนและศึกษาเปรียบเทียบคุณลักษณะส่วนบุคคลและการมีส่วนร่วมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประชาชนในตำบลควนโส อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนในตำบลควนโส อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา จำนวน 356 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที การวิเคราะห์ความแปรแปรวทางแบบทางเดียว และการทดสอบรายคู่ด้วยวิธี LSD ทั้งนี้กำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

ผลการวิจัยพบว่า การมีส่วนร่วมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประชาชนในภาพรวม อยู่ในระดับมาก (m = 3.93) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การมีส่วนร่วมทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านการรับผลประโยชน์ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (m = 4.02) รองลงมาคือ ด้านการปฏิบัติ (m = 4.00) ด้านการตัดสินใจ (m = 3.95) และด้านการประเมินผล (m = 3.71) ตามลำดับ สำหรับผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ประชาชนที่มีคุณลักษณะส่วนบุคคลของอายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ ต่างกันมีส่วนร่วมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ส่วนคุณลักษณะของเพศต่างกันมีส่วนร่วมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไม่แตกต่างกัน

References

กชมน ฤทธิเดช และคณะ. (2557). ป่าเว้น: จารีตรักษาป่าของชุมชนควนโส. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่, 6(2), 45-62.
เครือวัลลิ์ นนทะเสน และปราโมทย์ ประจนปัจจนึก. (2557). การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลของประชาชน ตำบลเกาะลิบง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 9(2), 144-153.
นภา จันทร์ตรี และพงศธร จันทร์ตรี. (2561). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลนเพื่อพัฒนาความหลากหลายทางชีวภาพ กรณีศึกษาชุมชนบางชัน. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 12(3), 201-207.
นัฐวุฒิ วงศ์ประสิทธิ์. (2552). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยทับทัน ห้วยสำราญ จังหวัดสุรินทร์ (วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. สุรินทร์.
นิศาชล รัตนมณี และประสพชัย พสุนนท์ (2562). อัตราการตอบกลับของแบบสอบถามในงานวิจัยเชิงปริมาณ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธนบุรี, 13(3), 181-188.
พันธุ์พงษ์ คงเดชอดิศักดิ์. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง จังหวัดตราด (งานนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี.
พระครูอุทัยวรกิจ (ณรงค์ สุปญฺโญ), สุรินทร์ นิยมางกูร และเติมศักดิ์ ทองอินทร์. (2560). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติของป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2), 67-82.
ไพสุดา ตรีเดชี. (2546). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ป่าชุมชนบ้านทุ่งสูง จังหวัดกระบี่ (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สงขลา.
สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย. (2560). ทรัพยากรธรรมชาติ. สืบค้นเมื่อ 19 สิงหาคม 2563, จาก https://www.tei.or.th/th/area_about.php?area_id=6
สำราญ รักชาติ. (2548). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ป่าชายเลนปากน้ำเวฬุ จังหวัดจันทบุรี (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.
สุขขี คำนวณศิลป์. (2550). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุทยานแห่งชาติใต้ร่มเย็น อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต. ภูเก็ต.
องค์การบริหารส่วนตำบลควนโส. (2555). ประวัติความเป็นมา องค์การบริหารส่วนตำบลควนโส จังหวัดสงขลา. สืบค้นเมื่อ 19 สิงหาคม 2563, จาก http://www.khuanso.go.th/content/information
Baruch, Y. (1999). Response rates in academic studies-a comparative analysis. Human Relations. 421-434.
Berdie, D.R., Anderson J.F., & Niebuhr M.A. (1986). Questionnaires: design and use. Metuchen, N.J.: Scarecrow Press.
Bryman, A. (2004). Social research methods (2nd ed.). New York: Oxford University Press.
May, T. (2011). Social Research (4th ed.). New York: McGraw-Hill.
Cohen, J.M. & Uphoff, N.T. (1980). Participation’s place in rural development: Seeking clarity through specificity. World Development, 8 (3), 213-235.
Yang, K. & Miller, G.J. (2008). Handbook of research methods in public administration (2nd ed.) New York: Taylor & Francis group.
Yamane, T. (1967). Statistics: An introductory analysis (2nd ed.) New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-04-2022