การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้ในยุค 4.0 โดยใช้ Google classroom

ผู้แต่ง

  • แสงดี ปรีชาประพาฬวงศ์ โรงเรียนวัดพุทธบูชา

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้ในยุค 4.0, Google Classroom, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้ในยุค 4.0 โดยใช้ Google classroom ในรายวิชาการออกแบบและเทคโนโลยี  2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้ในยุค 4.0 โดยใช้ Google Classroom ในรายวิชาการออกแบบและเทคโนโลยี  กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4 โรงเรียนวัดพุทธบูชา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร  เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวนนักเรียน 33 คน ซึ่งกำหนดกลุ่มตัวอย่างจากการสุ่มแบบเจาะจง (purposive sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ระบบจัดการเรียนการสอนออนไลน์ด้วย Google classroom รายวิชาการออกแบบและเทคโนโลยี และแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาการออกแบบและเทคโนโลยี จำนวน 40 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเฉลี่ยร้อยละ และการทดสอบแบบกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระ
ต่อกัน (T – test dependent)

        ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้ในยุค 4.0 โดยใช้ Google classroom ในรายวิชาการออกแบบและเทคโนโลยี มีค่าคะแนนผ่านเกณฑ์ประเมิน คิดเป็นร้อยละ 100 ของคะแนนค่าเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้น 13.51 คะแนน 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ในยุค 4.0 โดยใช้ Google classroom ในรายวิชาการออกแบบและเทคโนโลยี มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนมีความแตกต่างกัน โดยคะแนนหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 

References

กิดานันท์ มลิทอง. (2548). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. กรุงเทพ: อรุณการพิมพ์.

นิชาภา บุรีกาญจน์. (2556). ผลการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาโดยใช้แนวคิดแบบห้องเรียนกลับด้านที่มีผลต่อความรับผิดชอบและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น.วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา. 9 (2), 768-782.

ลาภวัต วงศ์ประชา. (2561). แนวทางส่งเสริมการใช้ Google Classroom พัฒนาการเรียนการสอนนักศึกษาในระดับอาชีวศึกษา มหาวิทยาลัยนครพนม. วิทยานิพนธ์ ค.ม. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

วิชาญ ชัยอ่อน. (2559). Academic Focus ประเทศไทย 4.0. ค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563, จาก htpp://dl.parliament.go.th/handle/tirt/493129.

สุชาดา เกตุดี. (2564). การประยุกต์ใช้ Google Classroom สำหรับการเรียนการสอนออนไลน์ในยุคโควิด-19. ใน: รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 7: “วิถีพุทธ วิถีชุมชนรากฐานชีวทัศน์เชิงสังคมล้านนาในสังคมวิถีใหม่” (น.331-341). วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุรศักดิ์ ทิพย์พิมล. (2560). การพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้ Google classroom ในรายวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. ครู คศ.2. โรงเรียนสะอาดเผดิมวิทยา. จังหวัดชุมพร.

สุวิมล มธุรส. (2564). การจัดการศึกษาในระบบออนไลน์ในยุค NEW NORMAL COVID-19. วารสารรัชต์ภาคย์, 15(40), 33-42.

อภิรมย์ สุวรรณชาติ. (2559). การเรียนการสอนโดยเน้นที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางกับเครื่องมือ Google Classroom. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า ศูนย์ราชการเฉลิม พระเกียรติ 80: กรุงเทพมหานคร.

Wongyai, W., & Patphol, M. (2020). Learning Design for the New Normal. Bangkok: Graduate School, Srinakharinwirot University

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-08-2022