ระดับสมรรถนะในการปฏิบัติงานของบุคลากรที่ทำการปกครองอำเภอหนองเรือ

ผู้แต่ง

  • พิชญ์ลดา เชื้อสาวะถี หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

ระดับสมรรถนะ, การปฏิบัติงาน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะในการปฏิบัติงานและสภาพปัญหาในการปฏิบัติงานของบุคลากรที่ทำการปกครองอำเภอหนองเรือ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ รวบรวมจากประชากร จำนวน 49 คน โดยใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1)ระดับสมรรถนะในการปฏิบัติงานของบุคลากรที่ทำการปกครองอำเภอหนองเรือโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.32 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.17) เมื่อพิจารณาระดับสมรรถนะในการปฏิบัติงานของบุคลากรที่ทำการปกครองอำเภอหนองเรือเป็นรายด้าน พบว่า ระดับสมรรถนะในการปฏิบัติงานของบุคลากรที่ทำการปกครองอำเภอหนองเรือที่มีระดับสมรรถนะมากที่สุด คือ ด้านที่ 4 การยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรมและจริยธรรม (ค่าเฉลี่ย 4.50 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.51) รองลงมาด้านที่ 5 การทำงานเป็นทีม (ค่าเฉลี่ย 4.40 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.53) และน้อยที่สุด ด้านที่ 3 การสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.05 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.61) 2) สภาพปัญหาในการปฏิบัติงานของบุคลากรที่ทำการปกครองอำเภอหนองเรือ ได้แก่ ปัญหาด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการให้บริการ ปัญหาด้านระเบียบกฎหมายที่ทำให้การบริการล่าช้า และปัญหาด้านบุคลากรที่ขาดความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานทำให้การทำงานมีความล่าช้าและไม่เป็นระบบ

References

จิราภรณ์ พงษ์วาปี. (2563). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักปลัดเทศบาล เทศบาลเมืองหนองคาย. รายงานการวิจัยสหกิจศึกษา หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ธิดาพร บูระณะพล. (2563). การปฏิบัติตามสมรรถนะหลักของข้าราชการส่วนท้องถิ่นสังกัดเทศบาลเมืองปู่เจ้าสมิงพราย จังหวัดสมุทรปราการ. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ประภัสสร มีน้อย. (2553). การสร้างสมรรถนะหลักของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง จากกรอบคุณลักษณะของบุคลากรในส่วนราชการ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ผ่องศรี พรมสอน. (2554). ความคิดเห็นเกี่ยวกับสมรรถนะหลักของข้าราชการกรมพัฒนาที่ดิน. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พิศิษฐ ตัณฑวณิช และ พนา จินดาศร. (2561). ความหมายที่แท้จริงของค่า IOC. วารสารคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 24 (2): 3-12.

ไพศาล บรรจุสุวรรณ. (2559). การเคลื่อนตัวทางความคิดจากการบริหารรัฐกิจดั้งเดิมสู่การบริหารปกครองแบบประชาธิปไตย:ตัวอย่างบทวิเคราะห์ปัญหาด้านการศึกษาของประเทศไทย. วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง. 5(1): 1-41.

ศิริพร ตาตะมิ. (2564). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรภายในเทศบาลเมืองศิลา จังหวัดขอนแก่น. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มมร. วิทยาเขตอีสาน. 2 (2): 1-8.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2553). คู่มือการกำหนดสมรรถนะในข้าราชการพลเรือน: คู่มือสมรรถนะหลัก. กรุงเทพฯ: บริษัท ประชุมช่าง จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2552). คู่มือสมรรถนะหลัก คำอธิบาย และตัวอย่างพฤติกรรมบ่งชี้. กรุงเทพฯ: พี.เอ.ลิฟวิ่ง.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-08-2022