พร้อมเพื่อรบ : ทหารเรือในจังหวัดชายแดนภาคใต้
คำสำคัญ:
ราชนาวีไทย, กองทัพเรือไทย, จังหวัดชายแดนภาคใต้, การรบบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. สภาพการปฏิบัติหน้าที่ของทหารเรือในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2. ผลกระทบจากการปฏิบัติหน้าที่ 3. การปรับตัวและแนวทางการเตรียมความพร้อมของทหารเรือที่ปฏิบัติหน้าที่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผลการวิจัยพบว่า
- สภาพการปฏิบัติหน้าที่ ประกอบด้วยประเด็นสำคัญคือ 1) ด้านความเป็นอยู่ 2) ด้านการปฏิบัติงานและ 3) อันตรายจากการปฏิบัติงาน
- ผลกระทบของการปฏิบัติหน้าที่ 1) ผลกระทบต่อสุขภาพคือ ผลกระทบทางร่างกายและสุขภาพจิต กระทบทางร่างกาย คือ การปฏิบัติงานในสิ่งแวดล้อมที่ไม่คุ้นเคยและ เสี่ยงต่ออันตราย มีโอกาสเผชิญกับภัยคุกคามต่างๆ เช่น เสียงดัง อุณหภูมิอากาศที่สูง หรือต่ำเกิน ภัยจากสารเคมี ผลกระทบต่อสุขภาพจิต ประกอบด้วยปัจจัยภายนอก เช่น การลาดตระเวนในสภาพอากาศที่ร้อน และในที่มืดมองเห็นสิ่งต่างๆไม่ชัด และสิ่งกระทบกระเทือนต่างๆ ปัจจัยภายใน เช่น ความรู้สึกนึกคิด, ความรู้สึกโดดเดี่ยว, ความรู้สึกเหงา, ความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ, ความรู้สึกสิ้นหวัง, การแยกจากครอบครัว, ความรู้สึกเสียใจเมื่อผู้ร่วมงานหรือคนรู้จักเสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่ 2) ผลกระทบทางเศรษฐกิจ ผลกระทบทางบวก คือ ผู้ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ภาคใต้จะได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ ได้รับสวัสดิการ ได้รับค่าตอบแทนพิเศษ และการได้รับพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน ผลกระทบทางลบ คือ มีค่าใช้จ่ายสูงในการกลับไปดูแลครอบครัวในช่วงเวลาพัก และผลกระทบทางสังคม พบว่ามีผลทั้งทางบวกและทางลบ ผลกระทบทางบวก คือ การได้รับประสบการณ์และทักษะที่จำเป็นในการทำงาน ทำให้ครอบครัวได้รับการดูแลจากหน่วยงาน ผลทางลบ คือ อุปสรรคในการปฏิบัติงานเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เช่น การผลัดเปลี่ยนบุคคลากรทำให้ขาดความต่อเนื่องในการปฏิบัติงาน ขาดความชำนาญและยังไม่คุ้นเคยกับพื้นที่
- การปรับตัว ประกอบด้วย 4 ด้าน คือการปรับตัวทางด้านสรีระ ด้านอัตมโนทัศน์ ด้านบทบาทหน้าที่ และ ด้านการพึ่งพาระหว่างกัน การเตรียมความพร้อมประกอบด้วย 1) การเตรียมความพร้อมด้านความรู้วัฒนธรรมในพื้นที่และความรู้เฉพาะด้านที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานทางทหาร 2) การเตรียมความพร้อมส่วนบุคคลประกอบด้วย การเตรียมด้านร่างกาย การเตรียมการด้านจิตใจ 3) การเตรียมการด้านความรู้ส่วนบุคคล 4) การเตรียมทัศนคติในการทำงาน และ 5) การจัดการเกี่ยวกับครอบครัวและเอกสารส่วนบุคคล
References
กรมแพทย์ทหารเรือ.(2556). ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพจิตและยาเสพติดสำหรับกำลังพลสายแพทย์. กรุงเทพฯ: เอกสารการสอน.
กองทัพเรือ. (2552). แผนยุทธศาสตร์กองทัพเรือ 2553-2556. วันที่ค้นข้อมูล 1 กุมภาพันธ์ 2565, เข้าถึงได้จาก http://www.navy.mi.th/ncd/main/knowledge/store_knowledge/p181209111635.pdf.
ขจรศักดิ์ อินทเนตรและปราโมทย์ วงศ์สวัสดิ์.(2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อระดับความเครียดของพลทหารกองประจำการใหม่หน่วยทหารแห่งหนึ่งในจังหวัดพิษณุโลก. วารสารพยาบาลทหารบก, 21(2), 231-240.
เด่นเดชา ประทุมเพ็ชร. (2544). สุขภาพจิตในกองทัพเรือ. วารสารนาวิกศาสตร์, 48(12), 47-51.
จีรพรรณ ชีรานนท์ และคณะ. (2545). รายงานการวิจัยทางการคลังเพื่อนำไปสู่การจัดการทรัพยากรสิ่งแวดล้อมชายฝั่งในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลเชิงทะเล อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต. ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ชนันรัตน์ ชุดไธสง .(2559) . การปรับตัวของประชาชนในเหตุการณ์ความไม่สงบเขตพื้นที่เซฟตี้โซน ถนนรวมมิตร จังหวัดยะลา. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาพัฒนามนุษย์และสังคม, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ชิดชนก ชัยธนามี. (2552). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับกำลังขวัญในการปฏิบัติงานราชการสนาม 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ยะลา ปัตตานี นราธิวาส) ของข้าราชการตำรวจตระเวนชายแดน กองบังคับการสนับสนุนทางอากาศ (ค่ายนเรศวร) กรณีศึกษา กองกำกับการสนับสนุนทางอากาศ. สังคมสงเคราะห์ศาตรมหาบัณฑิต, หมวดวิชาการปฏิบัติงานตรง, ภาควิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ประเวศ วะสี. (2543). สุขภาพในฐานะอุดมการณ์ของมนุษย์. กรุงเทพฯ : สำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพ.
วราคม ทีสุกะ. ( 2527). สังคมวิทยาเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพ : โรงพิมพ์มิตรสยาม.
วีระ เขื่องศิริกุล. (2554). จิตเวชศาสตร์ทหาร. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 56(4), 339-344.
สนธยา พลศรี. (2541). สังคมวิทยาเบื้องต้น. สงขลา: สถาบันราชภัฏสงขลา.
สกุลกาญจน์ นิยมพลอย. (2564). กรอบแนวคิดความมั่นคงของชาติ ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง และสมรรถนะนายทหารสัญญาบัตรกองทัพบก. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า. 8(2564), 50-63.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2554). เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจและสังคมไทยที่สำคัญ พ.ศ.2554. กรุงเทพฯ: สำนักสถิติพยากรณ์.
อภินันท์ แจ่มแจ้ง. (2553). การพัฒนาสมรรถนะและตัวชี้วัดของอาสาสมัครทหารพรานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, คณะรัฐประศาสนศาตร์, สถาบันบัณฑิตพัฒน บริหารศาสตร์.
Dawis, R.V. (1994). The Minnesota Theory of Work Adjustment. The Major Theories of Career Development, Choice, and Adjustment. Minneapolis: University of Minnesota Press.
Kammeyer – Mueller ; & Wanberg. (2003). Unwrapping the Organization entry Process: Disentangling Multiple Antecedents and Their Pathways to adjustment. Journal of apply psychology., 88(5). 779 – 794.
Roy, C (1984). Introduction to nursing: An adaptation model (2nd ed.) . Englewood Cliffs, NJ: Prentice – Hall.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย และบุคลากรท่านอื่นๆในกองบัญชาการฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว