ลักษณะการทำงานของบุคลากรในสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตามแนวทางการเป็นองค์กรแห่งความเป็นเลิศ

ผู้แต่ง

  • Wanarat Chumpa -

คำสำคัญ:

องค์กรแห่งความเป็นเลิศ, สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ลักษณะการทำงานของบุคลากร

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการทำงานของบุคลากรในสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตามแนวทางการเป็นองค์กรแห่งความเป็นเลิศและเพื่อศึกษาวิธีการพัฒนาบุคลากรในสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตามแนวทางการเป็นองค์กรแห่งความเป็นเลิศ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ รวบรวมข้อมูลจากประชากรจำนวน 20 คน โดยใช้แบบสอบถาม และทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า
          1. ลักษณะการทำงานของบุคลากรที่บ่งบอกถึงการเป็นองค์กรแห่งความเป็นเลิศของสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้ง 7 ด้าน พบว่า ส่วนใหญ่มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 3.99 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านที่ 4 การเปิดกว้างและความพร้อมในการทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่น มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.25 รองลงมาคือด้านที่ 7 การจัดการโดยใช้ข้อมูลจริง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.13 และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านที่ 5 การมีมุมมองเชิงระบบ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.81
          2. วิธีการพัฒนาบุคลากรในสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคตะวันออกเฉียงเหนือสู่การเป็นองค์กรแห่งความเป็นเลิศ ในด้านการพัฒนาบุคลากรพบว่าเห็นด้วยอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 3.63 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ข้อ 2 องค์กรมีแนวทางการจัดการความก้าวหน้าในอาชีพได้อย่างเหมาะสม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.80 ทั้งนี้พบว่า ข้อ 4 องค์กรมีการฝึกอบรมในการเพิ่มทักษะที่ดีในการปฏิบัติงานอยู่เสมอ มีค่าเฉลี่ยเท่ากันคือ 3.80 รองลงมา คือ ข้อ 1 องค์กรมีระบบประเมินผลการพัฒนาบุคลากรที่เหมาะสม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.75 และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ข้อ 8 องค์กรของท่านมุ่งเน้นการให้รางวัล การยกย่องชมเชย เพื่อสร้างแรงจูงใจในการพัฒนาตนเองให้กับบุคลากร มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.20

References

ไชยภัทร รื่นมล. (2558). ความสัมพันธ์องค์การแห่งการเป็นเลิศตามมาตรฐานระบบการประเมินคุณภาพรัฐวิสาหกิจ (SEPA) หมวด 5 การมุ่งเน้นบุคลากร และความผูกพันต่อองค์การของพนักงานธนาคารกรุงไทย สำนักงานใหญ่. นครปฐม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

โด่งสยาม โสมาภา. (2559). การวิเคราะห์ปัจจัยและแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศในการบริหารจัดการสถานศึกษาเอกชนเพื่อรับรางวัลพระราชทาน. วารสารสมาคมนักวิจัย. 21 (1): 101-121.

เทียนชัย อร่ามหยก. (2564). รูปแบบการบริหารองค์กรเพื่อความเป็นเลิศสำหรับอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ในเครือ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน). วารสารนวัตกรรมและการจัดการ. 6 (1): 86-99.

นภธิดี เขียวกลม. (2564). ความต้องการการพัฒนาตนเองของเจ้าหน้าที่คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. 11 (2): 27-39.

นิภาพรรณ เจนสันติกุล. (2561). สภาพปญหาดานบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในภูมิภาคตะวันตก. วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 4 (1): 1-14.

ปาริชาติ เยพิทักษ์ และธีระวัฒน์ จันทึก. (2559). การบริหารจัดการข้อมูลขององค์การในภาครัฐ. Veridian E-Journal, Silpakorn University. 9 (1): 16-26.

พีรดาว สุจริตพันธ์ และเพ็ญศรี ฉิรินัง. (2565). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ภาครัฐในบริบทระบบราชการ 4.0. Journal of Modern Learning Development. 7 (4): 389-393.

วรรณภา วรรณสาร. (2564). ความต้องการของบุคลากรสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่นในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด. 1 (2): 25-31.

วินุลาศ เจริญชัย. (2562). รูปแบบการบริหารจัดการองค์การสมรรถนะสูงเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น. 17 (1): 102-108.

วัชระ ณรงค์ฤทธิเดช สุมิตรา เรืองพีระกุล และชมสุภัค ครุฑกะ. (2563). ความก้าวหน้าในการพัฒนาตนเองของบุคลากรสำนักหอสมุดกลางมหาวิทยาลัยรามคำแหง. Journal of Management and Development Ubon Ratchathani Rajabhat University. 7 (2): 103-118.

สุขพงศ์ สุขพิพัฒน์ สมบูรณ์ สุขสำราญ และสุเทพ เชาวลิต. (2561). การบริหารมหาวิทยาลัยรังสิต

ให้เป็นองค์การสมรรถนะสูง. วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์. 3 (1-2): 126-135.

สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (2565). แบบแสดงลักษณะงานสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ค้นเมื่อ กรกฎาคม 10, 2565, จาก https://mail.google.com/mail/u/0/#sent/TsBr=1&messagePartId=0.1

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2564). รางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ 4.0 ประจำปี พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.).

เอลวิส โคตรชมภู และจุฬาพรรณภรณ์ ธนะแพทย์. (2565). การบริหารทุนมนุษย์ในยุคศตวรรษที่ 21. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์. 7 (1): 1017-1028.

Gardner, J. (1961). Excellence. New York: Haper and Row.

Haug, A., Arlbjørn, S.A. & Pedersen, A. (2009). A Classification Model of ERP System Data Quality. Industrial Management & Data Systems. 109 (8): 1053-1068.

Linder, J. C., & Brooks, J. D. (2004). Transforming the Public Sector. Outlook. 6 (3): 74-83.

Xu, H., Nord,J. H., Brown, N. & Nord, G. D. (2002). Data Quality Issues in Implementing an ERP. Industrial Management & Data Systems. 102 (1): 47-58.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2022