การพัฒนาและส่งเสริมสมรรถนะของบุคลากรสำนักงานเทศบาลตำบลเมืองเก่าเพื่อรองรับระบบราชการ 4.0

ผู้แต่ง

  • วานิสา วรวุธ -

คำสำคัญ:

การพัฒนา, สมรรถนะ, ระบบราชการ 4.0

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะของบุคลากรสำนักงานเทศบาลตำบลเมืองเก่าเพื่อรองรับระบบราชการ 4.0 และศึกษาแนวทางในการพัฒนาและส่งเสริมสมรรถนะของบุคลากรสำนักงานเทศบาลตำบลเมืองเก่าเพื่อรองรับระบบราชการ 4.0 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 130 คน ด้วยแบบสอบถาม ได้รับคืนจำนวน 120 คน คิดเป็นร้อยละ 92.31 วิเคราะห์ผลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า

  1. ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 41-50 ปี พนักงานเทศบาล จบการศึกษาระดับปริญญาตรี และมีระยะเวลาในการปฏิบัติงาน 6-10 ปี
  2. สมรรถนะของบุคลากรสำนักงานเทศบาลตำบลเมืองเก่าตามคุณลักษณะของระบบราชการ 4.0 ประกอบด้วย 3 ด้าน คือ 1) เปิดกว้าง และเชื่อมโยงกัน 2) ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง 3) มีขีดสมรรถนะสูงและทันสมัย พบว่า ภาพรวมมีสมรรถนะตามคุณลักษณะของระบบราชการ 4.0 อยู่ในระดับมากที่สุดเท่ากับ 4.43 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.52 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง มีระดับสมรรถนะของบุคลากรอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.46 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.54 รองลงมา คือ เปิดกว้าง และเชื่อมโยงกัน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.43 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.55 และน้อยที่สุด คือ มีขีดสมรรถนะสูงและทันสมัย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.41 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.46
  3. สมรรถนะของบุคลากรสำนักงานเทศบาลตำบลเมืองเก่า ประกอบด้วย 5 ด้าน คือ 1) การมุ่งผลสัมฤทธิ์ 2) บริการที่ดี 3) การสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ 4) การยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรม และจริยธรรม 5) การทำงานเป็นทีม พบว่า ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยของสมรรถนะของบุคลากรอยู่ในระดับมากที่สุดเท่ากับ 4.52 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.51 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรม และจริยธรรม มีระดับสมรรถนะของบุคลากรอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.67 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.48 รองลงมา คือ การทำงานเป็นทีม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.57 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.50 และน้อยที่สุด คือ การสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.39 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.57
  4. แนวทางในการพัฒนาและส่งเสริมสมรรถนะของบุคลากร คือ การฝึกอบรมตามสายงาน เพื่อเพิ่มพูน ความรู้ ทักษะ ทัศนคติที่ดี คุณธรรมและจริยธรรม เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ

 

คำสำคัญ: การพัฒนา, สมรรถนะ, ระบบราชการ 4.0

References

จิราภรณ์ พงษ์วาปี. (2563). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักปลัดเทศบาลเทศบาลเมืองหนองคาย. รายงานการวิจัยสหกิจศึกษา หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พิชญ์ลดา เชื้อสาวะถี. (2564). ระดับสมรรถนะในการปฏิบัติงานของบุคลากรที่ทำการปกครองอำเภอหนองเรือ. รายงานการวิจัยสหกิจศึกษา หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พิพัฒน์ ไทยอารี และคณะ. (2564). แนวทางการพัฒนาสู่การเป็นระบบราชการ 4.0 และองค์การนวัตกรรม กรณีศึกษา กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย. วารสารการบริหารและสังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 4 (2): 15-31.

พีรดาว สุจริตพันธ์ และเพ็ญศรี ฉิรินัง. (2565). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ภาครัฐในบริบทระบบราชการ 4.0. Journal of Modern Learning Development. 7 (4): 389-393.

ภัทรชนก คุณธร. (2561). การพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรเพื่อรองรับระบบราชการ 4.0. หลักสูตร รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารรัฐกิจ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ละเอียด ศิลาน้อย. (2560). การใช้สูตรทางสถิติ (ที่ถูกต้อง) ในการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างเพื่อการวิจัยเชิงปริมาณในทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. 12 (2): 50-61.

วีระยุทธ พรพจน์ธนมาศ. (2565). การศึกษาเปรียบเทียบการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาของเครื่องมือวิจัยด้วยเทคนิค IOC, CVR และ CVI. รังสิตสารสนเทศ. 28(1): 169-192.

ศิริพร ตาตะมิ. (2563). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรภายในเทศบาลเมืองศิลา จังหวัดขอนแก่น. รายงานการวิจัยสหกิจศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2560). คู่มือการประเมินสถานะของหน่วยงานภาครัฐ ในการเป็นระบบราชการ 4.0. สืบค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม 2565, จาก https://office.dpt.go.th/web-upload/21xdee05b3b4525a6c082be11a682e4efef/tinymce/32-6340c2bed475820c05ba40f0d141159a/pmqa%2040/Manual/PMQA4.0_Mannual.pdf

สำนักงานเทศบาลตำบลเมืองเก่า. (2564). นโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล (พ.ศ. 2564 – 2566) ของเทศบาลตำบลเมืองเก่า. สืบค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม 2565, จาก https://muangkaokk.go.th/attachments/article/290/025.65.doc.pdf

อิสระพงศ์ กุลนรัตน์ และธนวิทย์ บุตรอุดม. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นระบบราชการ 4.0 ของเทศบาลนครอุดรธานี. มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ปริทัศน์. 9(1): 37-48.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2022