ตัวแบบการสร้างความผูกพันต่อองค์การของทีมงาน ที่มีความเชื่ออำนาจควบคุมตนเอง: กรณีศึกษาโรงงานอุตสาหกรรม จังหวัดปทุมธานี

Authors

  • ณัฐพร ฉายประเสริฐ นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยปทุมธานี

Keywords:

ความเชื่ออำนาจควบคุมตนเอง, ทีมงาน, ความผูกพันต่อองค์การ

Abstract

วัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อศึกษา 1) เพื่อ ศึกษาและวิเคราะห์ตัวแบบการสร้างความผูกพันต่อ องค์การของทีมงานที่มีความเชื่ออำนาจควบคุมตนเอง กรณีศึกษาโรงงานอุตสาหกรรม ในจังหวัดปทุมธานี 2) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งเสริม สนับสนุนและ มีความสัมพันธ์กับตัวแบบการสร้างความผูกพันต่อ องค์การของทีมงานที่มีความเชื่ออำนาจควบคุมตนเอง กรณีศึกษาโรงงานอุตสาหกรรม ในจังหวัดปทุมธานี 3) เพื่อเสนอตัวแบบการสร้างความผูกพันต่อองค์การ ของทีมงานที่มีความเชื่ออำนาจควบคุมตนเอง กรณี ศึกษาโรงงานอุตสาหกรรม ในจังหวัดปทุมธานี โดย ใช้กรอบในการศึกษาได้แก่แนวคิดและทฤษฎีว่าด้วย ความเชื่ออำนาจควบคุมตนเองทีมงานและการสร้าง ความผูกพันต่อองค์การรูปแบบของการวิจัยใช้ทั้งเชิง ปริมาณและเชิงคุณภาพ ส่วนเครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก ได้สัมภาษณ์พนักงาน และผู้บริหารจำนวน 10 คน เมื่อได้ข้อมูลสำคัญจึงนำ มาพัฒนาแบบสอบถามแล้วสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรม จังหวัดปทุมธานี จำนวน 20 โรงงาน โรงงานละ 20 ตัวอย่าง ได้จำนวนประชากร 385 ราย และวิเคราะห์ ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปด้านสถิติ เชิงพรรณนา และการวิเคราะห์รายละเอียดทั้งตัวแปร ต้น ตัวแปรแทรก ตัวแปรตาม ที่มีความสัมพันธ์กัน ตามข้อสมมติฐานของการวิจัย สถิติที่ใช้ได้แก่การ วิเคราะห์ Path Analysis สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เพียรสัน (Pearson Correlation) และการวิเคราะห์องค์ ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis)

ผลการวิจัยพบว่า 1) บุคลากรที่มีความเชื่อ อำนาจควบคุมตนเอง มีความกระตือรือร้นสูง มีแรง จูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการทำงานสูง มีความเชื่อมั่นใน เหตุผลมั่นคงและเด็ดเดี่ยวและทุ่มเทการทำงานให้กับ องค์การ มีกระบวนการและขั้นตอนในการตัดสินใจ ทำให้ องค์การเกิดความน่าเชื่อถือ และยังทำให้พนักงานที่เข้า มาใหม่ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี เพราะมีหัวหน้างานและพนักงานเก่าสอนงานและให้คำแนะนำอื่น ๆ จึงสามารถปรับตัวเข้ากับงานและเพื่อนร่วมงานได้ดี ไม่มี ความวิตกกังวลในการทำงาน 2) ปัจจัยที่ส่งเสริม สนับสนุน และมีความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้น ตัวแปรแทรก และตัวแปรตาม พบว่า มีความสัมพันธ์ กันทุกตัวแปร เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ .01 เนื่องจากผลการวิเคราะห์ที่ ได้มีค่าออกมาเข้าใกล้ 1 ทุกตัวแปร ซึ่งข้อมูลเชิง คุณภาพที่ได้จากการสัมภาษณ์ เป็นการสนับสนุนผล การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณที่ได้ 3) การเสนอตัว แบบการสร้างความผูกพันต่อองค์การของทีมงานที่ มีความเชื่ออำนาจควบคุมตนเอง กรณีศึกษาโรงงาน อุตสาหกรรม ในจังหวัดปทุมธานี ตัวแบบความเชื่อ อำนาจควบคุมตนเอง ประกอบด้วย ความกระตือรือร้น แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ความเชื่อมั่นในเหตุผลมั่นคงและ เด็ดเดี่ยวการตัดสินใจ การปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม ความวิตกกังวล และการรับคำแนะนำอื่น ๆ ตัวแบบ ทีมงาน ประกอบด้วย วัตถุประสงค์และเป้าหมายร่วม การมีส่วนร่วม การสนับสนุนและความไว้วางใจต่อกัน ความเปิดเผยต่อกันและการเผชิญหน้าเพื่อแก้ปัญหา และความสัมพันธ์ในทีม ตัวแบบความผูกพันต่อองค์การ ส่วนที่โรงงานควรดำเนินการค่าตอบแทน โอกาสความ ก้าวหน้า และคุณภาพชีวิตการทำงาน ทำให้เกิดการ ธำรงรักษาความเป็นสมาชิกขององค์การ ความพยายาม ทุ่มเทปฏิบัติงานเพื่อความสำเร็จขององค์การ และการ ยอมรับเป้าหมายและค่านิยมขององค์การ ส่วนข้อเสนอ แนะสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม ควรให้ความสำคัญกับ ความผูกพันต่อองค์การ เกี่ยวกับค่าตอบแทน โอกาส ความก้าวหน้า และคุณภาพชีวิตการทำงาน

 

Organizational Commitment Model of a Team with Locus of Control: Case Study in Industrial factory, Pathumthani Province

The Research on “organizational commitment from a team with locus of control: case study of industrial factories in Pathumthani Province.” objectives are as follows :First, to study and analyzed the organizational commitment from a team with locus of control model case study of industrial factories in Pathumthani Province. Second, to study and analyzedsupporting factors that’s contributes and relates to the organizational commitment from a team with locus of control model case study of industrial factories in Pathumthani Province. And third to present the organizational commitment from a team with locus of control model case study of industrial factories in Pathumthani Province. Case study of industrial factories in Pathumthani Province frameworks are concept and theory concerning locus of control team and forming organizational commitment. The context of quantitative and qualitative statistical analysis the methodology used in the study include and in-depth interviews with 10 employees and employers which then developed to rigorous questionnaires the sample of administrators and employees in 20 industrial factories in Pathumthani Province, 20 sample each with the population of 385 individuals. The statistical analysis involved the application of the SPSS where the research hypothesis software on the dependent variables, the intermediate and the explanatory variables, along with person correlation coefficients.

The study results were as follows; 1) The analysis indicated that high locus of control in connection with high enthusiasm, motivation for achievement, firm and resolute believe in reasoning and dedication to the organization. Data, processes and procedures used in decision making creates organizational commitment in employees not only does it helps creates organizational credibility, but also helps new employees adapt to new environment as a result of a boss and experience employees with teaching and giving good advice makes adaption to work and co-workers smooth and anxiety-free. 2) Study and analysisof supporting factors that’s contributes and relates to the organizational commitment from a team with locus of control model case study of industrial factories in Pathumthani. Analyzing the dependent variables, the intermediate and the explanatory variables, the study discovers relations in all factors as hypothesized with the level of significance at .01 and from analysis, all variables were closed to 1 in which qualitative statistic data received from interviews supports the analyzed quantitativestatistic data.3) Presenting the organizational commitment from a team with locus of control model case study of industrial factories in Pathumthani. The locus of control’s model comprise with enthusiasm, motivation for achievement, firm and resolute believe in reasoning, anxiety, environmental adaption and acceptance of advices. The team’s model comprise with shared objectives and goals, participation, support, trust, frankness, confrontation of problems and in-team relationships. The organizational commitment model comprise with compensation from factories, chance of improvement and Quality of work life creates retention of organization’s employees, dedication in work for organization’s success and acceptance of organization’s goals and values. The research made the recommendation that the entrepreneurshould take an interest in the organizational commitment regarding compensation, chance of improvement and Quality of work life.

Downloads

How to Cite

ฉายประเสริฐ ณ. (2015). ตัวแบบการสร้างความผูกพันต่อองค์การของทีมงาน ที่มีความเชื่ออำนาจควบคุมตนเอง: กรณีศึกษาโรงงานอุตสาหกรรม จังหวัดปทุมธานี. Academic Journal Phranakhon Rajabhat University, 5(2), 46–57. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/AJPU/article/view/42193

Issue

Section

บทความวิชาการ (Article)