ทรรศนะของอาจารย์และความพึงพอใจของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ที่มีต่องานพัฒนานักศึกษา ของวิทยาลัยนาฏศิลป

Authors

  • Thammanoon Srichumnon การศึกษากับการพัฒนาประเทศ

Keywords:

The Satisfaction of Undergraduate Students to ward Student, Development Division in The College of Dramatic Arts

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษา 1) ทรรศนะของอาจารย์ต่องานพัฒนานักศึกษา ของวิทยาลัยนาฏศิลป 2) ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ที่มีต่องานพัฒนานักศึกษา ของวิทยาลัยนาฏศิลป 3) เปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ที่มีต่องานพัฒนานักศึกษา ของวิทยายาลัยนาฏศิลป จำแนกตามเพศ และระดับชั้นปี 4) ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ที่มีต่องานพัฒนานักศึกษา ของวิทยายาลัยนาฏศิลป การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ อาจารย์ผู้ปฏิบัติหน้าที่เป็นหัวหน้างานด้านต่าง ๆ  ในงานพัฒนานักศึกษา ของวิทยาลัยนาฏศิลป ได้แก่ ด้านงานสโมสรนักศึกษา ด้านงานแนะแนวและทุนการศึกษา ด้านงานบริการทางวิชาการ ด้านงานนักศึกษาวิชาทหาร และด้านงานอาจารย์ที่ปรึกษา จำนวน 5 คน และนักศึกษาระดับปริญญาตรีทุกชั้นปีตั้งแต่ชั้นปีที่ 1ถึงชั้นปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 108 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า 1) ทรรศนะของอาจารย์ต่องานพัฒนานักศึกษา ของวิทยาลัยนาฏศิลป  ประกอบด้วย งานด้านต่าง ๆ จำนวน 5 ด้าน พบว่า (1) ด้านงานสโมสรนักศึกษา (2) ด้านงานแนะแนวและทุนการศึกษา และด้านงานอาจารย์ที่ปรึกษา ทรรศนะของอาจารย์เห็นคล้ายกัน คือ เห็นว่าการมีบทบาทและการมีส่วนร่วมในส่วนการดำเนินการจัดทำแผนงานโครงการตลอดจนปฏิทินและคำสั่งการปฏิบัติงาน อยู่ในระดับน้อย  การปฏิบัติงานรวมทั้งการสื่อสารไม่เป็นไปตามระบบและขั้นตอน  ขอบข่ายภาระหน้าที่งานไม่ชัดเจน  และขาดการประสานงาน (5) ส่วนด้านงานบริการทางวิชาการ เห็นว่า บทบาทและหน้าที่ไม่ชัดเจน  เนื่องจากรายละเอียดของงานทับซ้อนกับงานฝ่ายศิลปวัฒนธรรม บทบาทการดำเนินการส่วนมากอยู่ที่ฝ่ายศิลปวัฒนธรรม  และขาดการประสานงานระหว่างฝ่ายศิลปวัฒนธรรมกับงานบริการทางวิชาการ  และด้านงานนักศึกษาวิชาทหาร  เห็นว่า  มีบทบาทในการดำเนินการจัดทำแผนงานโครงการในการปฏิบัติงาน  มีการแจ้งกำหนดต่าง ๆ ให้นักศึกษาและมีการรายงานให้ทางวิทยาลัยฯ ทราบ  มีการติดตาม  กำกับ  ดูแลนักศึกษาวิชาทหารทั้งในภาคที่ตั้งและภาคสนาม  2) ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ที่มีต่องานพัฒนานักศึกษาของวิทยาลัยนาฏศิลป ประกอบด้วยงานด้านต่าง ๆ จำนวน 5 ด้าน  ได้แก่  ด้านงานสโมสรนักศึกษา  ด้านงานแนะแนวและทุนการศึกษา  ด้านงานบริการทางวิชาการ  ด้านงานนักศึกษาวิชาทหาร และด้านงานอาจารย์ที่ปรึกษา พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน  พบว่า  ด้านงานนักศึกษาวิชาทหาร  นักศึกษามีความพึงพอใจในระดับน้อย  3) ผลการเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของนักศึกษาระดับปริญญาตรี  ที่มีต่องานพัฒนานักศึกษา ของวิทยาลัยนาฏศิลป ที่มีเพศต่างกัน  พบว่า มีระดับความพึงพอใจแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐาน ส่วนนักศึกษาที่มีชั้นปีต่างกัน  พบว่า มีระดับความพึงพอใจ ไม่แตกต่างกัน ไม่เป็นไปตามสมมติฐาน 4) ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมของนักศึกษาระดับปริญญาตรี  ที่มีต่องานพัฒนานักศึกษาของวิทยายาลัยนาฏศิลป ประกอบด้วยงานด้านต่าง ๆ จำนวน  5 ด้าน  ได้แก่  ด้านงานสโมสรนักศึกษา  ด้านงานแนะแนวและทุนการศึกษา  ด้านงานบริการทางวิชาการ  ด้านงานนักศึกษาวิชาทหาร และด้านงานอาจารย์ที่ปรึกษา  พบว่า ด้านงานสโมสรนักศึกษา  มากที่สุด คือ  การส่งเสริม  สนับสนุน  กิจกรรมสโมสรนักศึกษาและกิจกรรมอื่น ๆ  ควรมากกว่านี้ ร้อยละ 27.27  และรองลงไป คือ  การมีส่วนร่วมและบทบาทของนักศึกษาน้อยไป ร้อยละ 24.68  ด้านงานแนะแนวและทุนการศึกษา  พบว่า มากที่สุด คือ  การให้บริการและสารสนเทศเกี่ยวกับงานแนะแนวมีน้อย ร้อยละ 25.86 และรองลงไป คือควรให้ความสนใจนักศึกษามากกว่านี้ ร้อยละ 20.69ด้านงานบริการทางวิชาการ พบว่า มากที่สุด คือ การทราบถึงแผนงานหรือโครงการหรือปฏิทินหรือคำสั่งกระชั้นชิดร้อยละ (40.38%)  และรองลงไป คือ  มีงานการแสดงมากจนไม่มีเวลาเรียน ร้อยละ 34.62 ด้านงานนักศึกษาวิชาทหาร  พบว่า มากที่สุด คือ มีงานการแสดงและกิจกรรมมากจนกระทบกับการเรียนวิชาทหารร้อยละ (8.62) และรองลงไป คือ  ควรส่งเสริมสนับสนุน  และกำกับดูแลมากกว่านี้และการทราบถึงแผนงานหรือโครงการหรือปฏิทินหรือคำสั่งกระชั้นชิดร้อยละ 5.17  และด้านงานอาจารย์ที่ปรึกษา  พบว่า  มากที่สุด  คือ เวลาในการพบปะระหว่างนักศึกษากับอาจารย์ที่ปรึกษาน้อย  ไม่ค่อยตรงกันเนื่องจากมีภารกิจร้อยละ 30.00  และรองลงไป คือ การทราบถึงแผนงานหรือโครงการหรือปฏิทินหรือคำสั่งกระชั้นชิดและการประชาสัมพันธ์ข้อมูลให้นักศึกษาทราบมีน้อย ร้อยละ 24.00

References

จตุรวัฒน์ ผนึกรัมย์. (2557). การมีส่วนร่วมในกิจกรรมนักศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ปีการศึกษา 2556. นครราชสีมา:มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
ปนัดดา อินทรชุมนุม. (2553).ความต้องการในการเข้าร่วมกิจกรรมนักศึกษาของนักศึกษาวิชาทหาร มหาวิทยาลัยรามคำแหง. กรุงเทพฯ : สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ภานุวัฒน์ เกตุวงศ์ และบดินทร์ แว่วสอน. (2553). ความพึงพอใจของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ มหาสารคาม ชั้นปีที่ 1 ต่อการจัดระบบให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏ มหาสารคาม. มหาสารคาม : สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
เล็ก จันทร์สอาด. (2546). ความพึงพอใจของนักเรียน นักศึกษา ที่มีต่อการจัดกิจกรรมนักเรียน. การศึกษามหาบัณฑิต. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
วิทยาลัยนาฏศิลป. (ม.ป.ป.).ประวัติวิทยาลัยนาฏศิลป. สืบค้น 8 ธันวาคม 2558, จากhttp://cda.bpi.ac.th.
สำเนาว์ ขจรศิลป์. (2538). ระบบอาจารย์ที่ปรึกษาวิชาการระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัย.กรุงเทพฯ : กองบริหารการศึกษา สำนักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัย.
สิริอร ข้อยุ่น และคณะ. (2553). ระบบอาจารย์ที่ปรึกษาตามความคิดเห็นของนักศึกษาพยาบาลและ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุดรธานี. อุดรธานี : วิทยาลัยบรมราชชนนี อุดรธานี.

Downloads

Published

2017-08-09

How to Cite

Srichumnon, T. (2017). ทรรศนะของอาจารย์และความพึงพอใจของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ที่มีต่องานพัฒนานักศึกษา ของวิทยาลัยนาฏศิลป. Academic Journal Phranakhon Rajabhat University, 8(2), 176–186. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/AJPU/article/view/66529

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Article)