ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจภูธรจังหวัดสุราษฎร์ธานี
Keywords:
ประสิทธิผลการปฏิบัติงาน, การยอมรับ, ความยุติธรรม, ความเป็นส่วนตัว, งานเฉพาะด้าน, Performance Effectiveness, acceptance, fairness, privacy, specificationAbstract
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาระดับความคิดเห็นต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจภูธรจังหวัดสุราษฎร์ธานี เปรียบเทียบระดับความคิดเห็นต่อประสิทธิผลผลการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจภูธรจังหวัดสุราษฎร์ธานี และศึกษาข้อเสนอแนะต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจภูธรจังหวัดสุราษฎร์ธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ข้าราชการตำรวจภูธรจังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 350 คน โดยวิธีการสุ่มอย่างแบบง่ายและกลุ่มตัวอย่างจำนวน 8 คน เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.97 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบ ได้แก่ สถิติทดสอบทีและการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่าระดับความคิดเห็นต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจภูธรจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยระดับความคิดเห็นด้านความเป็นส่วนตัว มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านงานเฉพาะด้าน ด้านความยุติธรรม และด้านการยอมรับมีค่าเฉลี่ยต่ำสุดตามลำดับ การศึกษาเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจภูธรจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่มีเพศ ระดับการศึกษา อายุราชการ สายงานที่สังกัด และระดับชั้น/ยศ ที่ต่างกัน ในภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน และข้อเสนอแนะต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจภูธรจังหวัดสุราษฎร์ธานี ควรมีกระบวนการปฏิบัติงานที่ชัดเจน ยึดถือหลักความชอบธรรมเพื่อให้เป็นที่ยอมรับและเป็นที่ต้องการ เพื่อให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิผลและประสบความสำเร็จได้
References
เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์. (2547). หลักกฎหมายว่าด้วยสิทธิเสรีภาพ. กรุงเทพฯ : วิญญูชน.
ขวัญตา กีระวิศาสกิจ. (2542). การยอมรับมาตรฐาน ISO 9000 ของพนักงานโรงงานคอนกรีตผสมเสร็จ: ศึกษาเฉพาะกรณี บริษัท ทีพีไอ คอนกรีต จํากัด. วิทยานิพนธปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ทิตย์วรรณ เกื้อกูล. (2544). การประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการพลเรือน ศึกษากรณีกรมการขนส่งทางบก. กรุงเทพฯ: สำนักงาน กพ.
นิสดาร์ เวชยานนท์. (2543). การประเมินบุคคล. กรุงเทพฯ: คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ประยงค์ โขขัด. (2541). รายงานการวิจัย การศึกษาลักษณะการยอมรับวิทยาการสมัยใหม่ใน จังหวัดชายแดนภาคใต้. ปัตตานี : ภาควิชาภูมิศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ปรีชา ช้างขวัญยืน. (2549). ปรัชญากับวิถีชีวิต. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.
พรพรรณ อุ่นจันทร์. (2543). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการทำงานของพนักงานในโรงงาน
อุตสาหกรรม : ศึกษาเฉพาะกรณีโรงงานน้ำอัดลม. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ยงยุทธ เกษสาคร. (2547). การวางแผนและนโยบายทางด้านทรัพยากรมนุษย์. (พิมพ ครั้งที่2). กรุงเทพฯ: สถาบันราชภัฏสวนดุสิต
รวีวรรณ บัณฑิตธรรมกุล. (2546). วิธีการบริหารจัดการที่ดี (Good practices) กรณีศึกษามุ่งเน้นที่ทรัพยากรบุคคลาการฝึกอบรมและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ บริษัทไทยเซฟตี้กลาส จำกัด. งานนิพนธ์ (กจ.ม.). สาขาวิทยาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
เสถียร หอมขจร. (2540). ทฤษฎีการเมืองและจริยธรรม 2. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สมยศ เชื้อไทย. (2545). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อนุชา หอยสังข์. (2542). “ระบบการประเมินผลการปฏิบัติงาน :ศึกษากรณีข้าราชการกรมการปกครองตำแหน่งปลัดอำเภอ ระดับ 3-5”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราม คำแหง.
Bernardin. (1998). Humanr Resource managent : An Experimental Approach. New York: Mcgraw-Hill, Inc.
Noe, R A., Hollenbeck, J. R., Gerhart, B., and Wright, P.M. (2006). Human Resource Management: Gaining Competitive Advantage. 5th ed. New York: McGraw-Hill.
Tosi, H.L. and Carroll, SJ. 1982. Management. New York: John Wiley and Sons.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
"บทความวิชาการในวารสารฉบับนี้ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น"
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์