ปี่แก้วในวงมโหรีโคราช

Authors

  • ยงยุทธ ไปรสุข อาจารย์ประจำสาขาวิชาดุริยางคศิลป์ไทยคณะวิทยาลัยนาฏศิลปนครราชสีมา มหาวิทยาลัยสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

Keywords:

Pi Kaew, Mahori, Korat Orchestra, local orchestra

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ประวัติความเป็นมาและโครงสร้างเสียงของปี่แก้วในวงมโหรีโคราช 2) บทบาทหน้าที่ของปี่แก้วในวงมโหรีโคราชที่มีต่อวัฒนธรรมพื้นบ้านโคราช ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 5 คน ศิลปินอิสระเครื่องดนตรีชำนาญในการเป่าปี่แก้ว เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต และเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารต่างๆ  การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา

            ผลการศึกษาพบว่า 1) ประวัติความเป็นมาของปี่แก้วมีโครงสร้างเสียงกลุ่มช่วงเสียงของปี่แก้วทั้งหมด 15 เสียงแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มเสียงช่วงที่ 1 เสียงที่ 1-8 เรียกว่าเสียงกลาง หมายถึงช่วงเสียงไม่สูงไม่ต่ำใช้กันมากที่สุดในการดำเนินทำนอง  ช่วงที่ 2  ตั้งแต่เสียงที่ 8-15 หมายถึงช่วงเสียงที่สูงจนถึงสูงที่สุดปี่แก้ว มีบทบาทหน้าที่สำคัญคือเป็นผู้นำวงมโหรี หรือเป็นผู้นำบทเพลงในวงมโหรีโคราช บทเพลงที่ใช้บรรเลงในการประกอบการแสดง  การเทียบเสียงในวงมโหรี ปี่แก้วมีหน้าที่เทียบเสียงในวงมโหรี เทียบเสียงให้กับซอประเภทต่างๆ และในปัจจุบันยังคงมีความสำคัญต่อชุมชน โดยชาวพุทธจะต้องมีพิธีกรรมทางศาสนาอยู่ต่อเนื่องตลอดทั้งปี เช่น งานอุปสมบท งานแห่กฐิน งานทอดผ้าป่า และงาน รื่นเริงต่างๆ ที่มีกิจกรรมพระพุทธศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น งานมงคลสมรส งานทำบุญขึ้นบ้านใหม่  ซึ่งงานเหล่านี้เจ้าภาพส่วนมากต้องการจะให้มีวงมโหรีเข้ามามีส่วนร่วมบรรเลงประกอบพิธีกรรม 

            วงมโหรีโคราชเป็นวงดนตรีพื้นบ้านเป็นรูปแบบของการผสมผสาน เครื่องดนตรีกลุ่ม เครื่องเป่า และเครื่องดนตรีในกลุ่มเครื่องสาย วงมโหรีชนิดนี้มีความผูกพันธุ์กับ วิถีชีวิตของชาวโคราช นิยมใช้ในงานมงคลหรืองานเทศกาลต่าง ๆ พบมากในจังหวัดนครราชสีมา มีบทบาทหน้าที่ ต่อพิธีกรรมต่าง ๆ ความเชื่อเฉพาะท้องถิ่น การจัดวงเครื่องดนตรีมีเอกลักษณ์เฉพาะ มี 4 ประเภท1) วงมโหรีแบบดั้งเดิม  2) วงมโหรีแบบผสมผสาน  3) วงมโหรีแบบประยุกต์  4) วงแห่นางแมว  วงมโหรีโคราช มีหน้าที่ถ่ายทอดค่านิยมจารีตประเพณี ศีลธรรม และความเชื่อให้แก่คนในสังคม

References

กรมศิลปากร. (2550). ประวัติศาสตร์เมืองสุรินทร์. กรุงเทพฯ. บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิสซิ่ง จำกัด (มหาชน)
พิชชาณัฏ ตู้จินดา. (2556). นัยสำคัญแห่งพิธีไหว้ครูดนตรีไทย. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2557 จาก http://
kotavaree.com/?p=48[])

Downloads

Published

2017-08-08

How to Cite

ไปรสุข ย. (2017). ปี่แก้วในวงมโหรีโคราช. Academic Journal Phranakhon Rajabhat University, 8(1), 321–328. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/AJPU/article/view/69663

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Article)