แนวทางส่งเสริมการจัดจำหน่ายเครื่องยนต์มือสองผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในเขตพระนครศรีอยุธยา
Keywords:
promotion, automotive used engines, social mediaAbstract
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภูมิหลังของการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของผู้ซื้อและผู้จัดจำหน่ายเครื่องยนต์มือสองในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา.2) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและอุปสรรคการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของผู้ซื้อและผู้จัดจำหน่ายเครื่องยนต์มือสองในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 3) พัฒนาแนวทางส่งเสริมการจัดจำหน่ายเครื่องยนต์มือสองผ่านใช้สื่อสังคมออนไลน์ของผู้จัดจำหน่ายเครื่องยนต์มือสองในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ใช้ระเบียบวิธีวิจัย รูปแบบเชิงคุณภาพ ประชากร หรือ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ ผู้ซื้อเครื่องยนต์มือสองในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 385 คน และผู้จัดจำหน่ายเครื่องยนต์มือสองในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา30คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้โปรแกรม SPSS และสังเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า 1) ทำให้ทราบถึงสภาพปัจจุบันอยู่ในระดับปานกลาง (2) ทำให้ทราบถึงปัญหาและอุปสรรคจากการใช้สื่อสังคมออนไลน์ซื้อเครื่องยนต์มือสอง ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง 3) ทำให้สามารถพัฒนาแนวทางส่งเสริมการจัดจำหน่ายเครื่องยนต์มือสองผ่านการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของผู้จัดจำหน่ายเครื่องยนต์มือสองในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
References
จันทนา ทองประยูร. (2548). “คุณลักษณะเด่นของสื่อสังคมออนไลน์.” วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, ปีที่ 2 ฉบับที่ 1,2548.
ชลายุทธ์ ครุฑเมือง. (2551).“สภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดอุตรดิตถ์.” งานวิจัยศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการกำจัดขยะและบำบัดน้ำเสียตามแนวพระราชดำริ ภาคเหนือ จังหวัดอุตรดิตถ์, มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์.
ชัยเดช บุญสอน. (2554). “การพัฒนากระบวนการเรียนออนไลน์ด้วยกรณีศึกษาผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้การแก้ปัญหาการควบคุมหุ่นยนต์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5.” วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต, สาขาวิชาครุศาสตร์เทคโนโลยี คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
ชาญชัย สุขสำรวม. (2551). “พฤติกรรมการตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์มือสอง: กรณีศึกษาในจังหวัด
พระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี และสุพรรณบุรี.” วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไป คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา.
นพวรรณ มีสมบูรณ์. (2553). “ปัจจัยการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการผ่านการทำการตลาดออนไลน์บนโทรศัพท์เคลื่อนที่ กรณีศึกษา : นักศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.” ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร คณะวิทยาศาสตร์, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ปิยะ วราบุญทวีสุข. (2553). สังคมออนไลน์กับการทำธุรกิจ:แนวทางการทำการตลาด. วารสารนักบริหาร, 30,2 (เมษายน-มิถุนายน), 181-185
ปริศนา เพชระบูรติน. (2556). พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์กับสังคมไทย. วารสารวิชาการปทุมวัน, 39-45
ผุสดี วัฒนสาคร.(2554). “อนาคตของการใช้สื่ออินเทอร์เน็ตเพื่อการโฆษณาในประเทศไทย.” งานวิจัยทุนอุดหนุน มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต.
พรศิริ สุทธิรัตน์ชัยชำนาญ.(2551). “การศึกษาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องมือทางการตลาดออนไลน์ของเว็บไซต์ผลิตภัณฑ์หัตถกรรมไทย.” สารนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
มนัสพนธ์ จีรศักดิ์ธนา. (2549). “การสื่อสารทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์หนังปลานิล.” สารนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยราชภัฎ ธนบุรี.
เมฐิพรรณ บุญติ. (2555). “การวิเคราะห์กลยุทธ์ทางการตลาดสำหรับธุรกิจแฟชั่น สไตล์วิลเทจ ผ่านสื่อสังคมออนไลน์.” สารนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ คณะศิลปศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วิภาดา พงศ์พุทธิพูน. (2553). รูปแบบการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภค:ศึกษาเปรียบเทียบ ระหว่างการซื้อ สินค้าแฟชั่นทางออนไลน์และออฟไลน์. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาวิทยา ศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศิริรักษ์ จันทระ. (2555). “ความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อการเปิดรับสื่อโฆษณาออนไลน์ในรูปแบบ Viral Marketing.” วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน คณะศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
อาภรณ์ บุญคงมาต. (2556). แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเพื่อสร้างการรับรู้ ผลกระทบและ พฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของ นักเรียนมัธยมศึกษาใน จังหวัดภูเก็ต. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 6(1),108-117.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
"บทความวิชาการในวารสารฉบับนี้ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น"
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์