การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี

Authors

  • อธิพงษ์ เพชรสุทธิ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

Keywords:

การมีส่วนร่วม, ยุทธศาสตร์การพัฒนา, Participation, Development Strategy

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนองค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตอำเภอเมือง  จังหวัดปทุมธานี 2) เพื่อศึกษายุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตอำเภอเมือง  จังหวัดปทุมธานี 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมของประชาชนกับยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอเมือง  จังหวัดปทุมธานี  กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งที่มีภูมิลำเนาอาศัยอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี  จำนวน 342 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุ (Multiple Regression Analysis)\

              ผลการวิจัยพบว่า

  1. 1. ข้อมูลส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จำนวน 198 คน คิดเป็นร้อยละ 89 มีอายุระหว่าง 46 - 50 ปีมากที่สุด จำนวน 96 คน คิดเป็นร้อยละ 28.07 ส่วนใหญ่มีวุฒิการศึกษาในระดับมัธยมศึกษา จำนวน 123 คน คิดเป็นร้อยละ 35.96 ส่วนใหญ่มีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 10,000 บาท จำนวน 178 คน คิดเป็นร้อยละ 52.05 และประกอบอาชีพรับจ้างมากที่สุด จำนวน 151 คน คิดเป็นร้อยละ 44.15
  2. 2. การมีส่วนร่วมของประชาชนองค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการร่วมรับผลประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุดและมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด  รองลงมาได้แก่ ด้านการปฏิบัติงาน ด้านการตัดสินใจ และด้านการประเมินผล ตามลำดับ
  3. 3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยหัวข้อยุทธศาสตร์การพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิต อยู่ในระดับมาก และมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการบริหารจัดการที่ดี ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานและการบริการสาธารณะ ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ ยุทธศาสตร์การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และพัฒนาการท่องเที่ยว และยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตามลำดับ
  4. 4. การมีส่วนร่วมของประชาชนที่ส่งผลต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตอำเภอเมือง  จังหวัดปทุมธานี  พบว่า การมีส่วนร่วมของประชาชน ด้านการปฏิบัติงาน ด้านการตัดสินใจ ด้านการประเมินผล และด้านการร่วมรับผลประโยชน์ ส่งผลเชิงบวกต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบล  ในเขตอำเภอเมือง  จังหวัดปทุมธานี  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน ด้านการปฏิบัติงาน ส่งผลเชิงบวกต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบล  ในเขตอำเภอเมือง  จังหวัดปทุมธานี  สูงสุด และการมีส่วนร่วมของประชาชน ด้านการร่วมรับผลประโยชน์ ส่งผลเชิงบวกต่อการยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบล  ในเขตอำเภอเมือง  จังหวัดปทุมธานี  ต่ำสุด โดยที่ตัวพยากรณ์ทั้ง 4 ด้าน สามารถพยากรณ์ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบล  ในเขตอำเภอเมือง  จังหวัดปทุมธานี  ได้ร้อยละ 72.30

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2548). การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น.
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2548). ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบล. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น.
โกวิทย์ พวงงาม. (2545). การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน. ม.ป.ท.
โกวิทย์ พวงงาม. (2552). การกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย. กรุงเทพฯ : วิญญูชน.
วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น. (2552). เยาวชนอาสาต้นกล้าท้องถิ่น. นนทบุรี : สถาบัน พระปกเกล้า.
วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น. (2552). การจัดทำยุทธศาสตร์พัฒนาท้องถิ่น : จากแนวคิดสู่ การปฏิบัติ. นนทบุรี : สถาบันพระปกเกล้า.
สถาบันพระปกเกล้า. (2552). Good Governance. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า.
Cohen , J.M. & Uphoff , N.T. (1981). Participations place in rural development: Seeking clarity through specificity. New York : World Developments.
Goodman R.I. (1980). The Effectiveness Index as Comparative Measure in Media Product Evaluation. Education Technology, 20(09), 30 -34.
Mintzberg, Henry. (1979). The structuring of organizations. Englewood Cliffs, N.J. : Prentice Hall.
Szentendre. (1996). Public Participation Training Module. Hungary : The Regional Environmental Center.
United Nations. (1981). “Popular Participation as a Strategy for Promoting Community Level Action and National Development”. In Department of International Economic and Social Affairs. New York : United Nations.

Downloads

Published

2017-08-08

How to Cite

เพชรสุทธิ อ. (2017). การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี. Academic Journal Phranakhon Rajabhat University, 8(2), 66–80. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/AJPU/article/view/95598

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Article)