มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการเกณฑ์ทหารและการจัดการกำลังสำรอง

Authors

  • ธวัชชัย ผลสะอาด นิติศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกริก

Keywords:

มาตรการทางกฎหมาย, การเกณฑ์ทหาร, กำลังสำรอง

Abstract

“ทหาร” เป็นวิชาชีพที่มีวัตถุประสงค์เพื่อความมั่นคงของรัฐ ซึ่งโดยสาระสำคัญ คือ การต่อสู้กับ รัฐศัตรู เพื่อดำรงไว้ซึ่งรัฐที่ตนสังกัด เหตุที่ทหารเป็นวิชาชีพ เพราะทหารต้องผ่านการฝึกการใช้อาวุธและยุทธวิธีต่าง ๆ ในการรณรงค์สงครามให้บรรลุเป้าหมายตามภารกิจที่ได้รับมอบหมาย ข้อดีของการมีทหาร คือ ความมั่นคงของรัฐในการปกป้องอำนาจอธิปไตยจากภายนอกกรณีมีการพิพาทในทางระหว่างประเทศระหว่างรัฐกับรัฐ แต่ข้อเสียของการมีทหารก็คือ การที่ทหารถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองในประเทศการใช้กำลังพลจากการเกณฑ์เป็นการได้มาซึ่งฐานอำนาจของตน ซึ่งสามารถพัฒนาต่อมาเป็นอำนาจทางการเมืองได้ ซึ่งปัจจุบันการเกณฑ์ทหารยังคงมีปัญหาอยู่ในเกือบทุกมุมโลก“ความมั่นคงของรัฐ” จัดเป็นเรื่องสำคัญที่รัฐธรรมนูญต้องคำนึงถึง แต่ทั้งนี้ความมั่นคงของรัฐในมิติเรื่องการเกณฑ์ทหารตลอดจนการจัดการกำลังสำรองสมควรจะมีขอบเขต ตามกฎหมายว่าด้วยการจำกัดสิทธิและเสรีภาพซึ่งเป็นหลักการที่พัฒนามาจากหลักนิติรัฐ นิติธรรมที่เป็นการคลี่คลายตัวเพื่อรองรับกับหลักการสิทธิมนุษยชน การศึกษาวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้มีข้อเสนอแนะต่อเรื่อง ผลกระทบจากการเกณฑ์ทหารและการจัดการกำลังสำรอง และสิทธิประโยชน์จากระบบการรับราชการทหารโดยสมัครใจ คือ

ปัญหาข้อโต้เถียงเรื่องการเกณฑ์ทหารขัดต่อปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนจะหมดไปจึงสมควร “ยกเลิกระบบการเกณฑ์ทหาร” ตามพระราชบัญญัติพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2494 และเปลี่ยนมาใช้ระบบการจัดการกำลังสำรองแบบสมัครใจแทนอย่างเช่น ประเทศอังกฤษ และสหรัฐอเมริกา เพราะประเทศไทยมิได้มีสงคราม หรือ สภาวะคับขันเรื่องข้อพิพาทในทางระหว่างประเทศรุนแรงแต่อย่างใด สำหรับในเรื่องการจัดการกำลังสำรอง การให้ศึกษาวิชาทหารของนักเรียนชาย อาจจะมีการปรับหลักสูตรให้นักเรียนมัธยมชายได้รับการศึกษาวิชาทหารในหลักสูตรภาคบังคับ และสำหรับเด็กผู้ชายที่มีปัญหาด้านสุขภาพก็จัดหลักสูตรในลักษณะเหล่าสนับสนุน หรือทำหน้าที่บริการสาธารณะ และมีสวัสดิการให้แก่นักเรียน โดยถ้าเป็นนักเรียนหญิงอาจใช้ระบบเลือกสมัครใจในการเข้าเรียน โดยมีการปรับปรุงพระราชบัญญัติส่งเสริมวิชาการฝึกทหาร พ.ศ.2503

สมควรมีการบัญญัติรับรองในเรื่องสิทธิมนุษยชนไว้ในรัฐธรรมนูญ อย่างชัดเจนเป็นรูปธรรมโดยให้ครอบคลุมถึงทหาร และกำลังพลสำรอง โดยให้คำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ความเสมอภาค และสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย เพื่อปกป้องการทำร้ายร่างกายจากวัฒนธรรมทางทหารที่ผิด ๆ ของกองทัพไทย ในเรื่องการ “ซ่อม” หรือ “การลงโทษทางวินัยอย่างรุนแรงเกินความจำเป็น”

กำหนดให้มีกฎหมายเรื่องสวัสดิการสำหรับผู้สมัครใจ เข้าร่วมเป็นทหาร อย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม โดยป้องกันการทุจริตค่าตอบแทนทหารอย่างเคร่งครัด และในเรื่องความสมดุลเรื่องแรงงานให้มีการบัญญัติกฎหมายเรื่องการกำลังสำรองมิใช่เพียงแค่ การปฏิบัติงานในฐานะทหารเท่านั้น สมควรให้มีการปฏิบัติงานในหน้าที่อื่นด้วยในลักษณะคล้ายข้าราชการพลเรือน เพื่อช่วยให้รัฐสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ในเรื่องการบริหารรัฐกิจได้อย่างมีคุณภาพ โดยเทียบเคียงกับระบบของประเทศสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) หรือประเทศสิงคโปร์ เป็นฐานในการพัฒนา

Author Biography

ธวัชชัย ผลสะอาด, นิติศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกริก

นิติศาสตร์

References

ดาณุภา ไชยพรธรรม. การเมืองการปกครอง (ฉบับชาวบ้าน). กรุงเทพมหานคร : เคล็ดไทย, (มปป.).
ทหารเด็ก. (2521). ทหารปฏิวัติทำไม.พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพมหานคร : โรงเรียนช่างพิมพ์เพชรรัตน์.
เผ่าพงศ์ วีรวรมัน. (2555). เผด็จการที่จากไป คิม จอง อิล อดีต ปัจจุบัน และอนาคต ของเกาหลีเหนือ. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: นานาสำนักพิมพ์.
พงษ์ศักดิ์ บัวศรี. (2556). “นโยบายการพัฒนาระบบทหารอาสาสมัครของกองทัพไทยโดยการสร้างแรงจูงใจเข้าสู่การเป็นทหารกองประจำการ” วรสารร่มพฤกษ์. มหาวิทยาลัยเกริก.
พระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2494.
พระราชบัญญัติกำลังพลสำรอง พ.ศ.2558.
วิโรจน์ อำไพ. (2548). เมื่อมีกองทัพแดง ประชาชนจีนจึงมีอำนาจรัฐ.
(History of china in Red Army). (พิมพ์ครั้งที่ 1) กรุงเทพมหานคร: สายส่งสุขภาพใจ.
สามารถ อาลอ. (2548). มาตรการทางกฎหมายในการแก้ปัญหาการหลีกเลี่ยงการรับราชการ
ทหารกองประจำการและการหนีราชการทหาร.
วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
สีหนาท วงศาโรจน์. (2540) “อุปสรรคที่มีผลต่อการพัฒนาระบบกำลังสำรองเพื่อความพร้อมรบของกองทัพบกไทย ศึกษาเฉพาะกรณี : ระบบการฝึก ศึกษากำลังพลสำรอง” ภาคนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Downloads

Published

2017-08-09

How to Cite

ผลสะอาด ธ. (2017). มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการเกณฑ์ทหารและการจัดการกำลังสำรอง. Academic Journal Phranakhon Rajabhat University, 8(2), 44–54. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/AJPU/article/view/95616

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Article)