กระบวนการจัดการความรู้ เพื่อสร้างองค์การนวัตกรรม

Authors

  • วิไลพรรณ ตาริชกุล สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • เกรียงไกรยศ พันธุ์ไทย บริหารธุรกิจ

Keywords:

Knowledge management, Innovation, Innovative organization

Abstract

องค์การประสบกับภาวะวิกฤติ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการที่องค์การนั้นขาดความสามารถในการแข่งขัน ความสามารถในการจัดการต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมขององค์การการที่องค์การไม่สามารถแข่งขันปรับตัวให้เหมาะสมในภาวะเศรษฐกิจในยุคปัจจุบันได้  พบว่าปัจจัยหนึ่งนั้นเกิดจากการที่องค์การ ขาดการจัดการความรู้ที่มีอยู่ เพื่อนำมาต่อยอดสร้างนวัตกรรมในการขับเคลื่อนองค์การ นวัตกรรมเป็นกระบวนการที่นำเอาแนวคิด ความรู้ มาบูรณาการ เพื่อประยุกต์ให้เกิดกระบวนการผลิต กระบวนการทำงานใหม่ๆรวมไปถึงการพัฒนา ปรับปรุงผลิตภัณฑ์ และบริการให้มีคุณภาพ และประสิทธิภาพที่ดีขึ้น ทำให้องค์การสามารถที่จะแข่งขัน สร้างกิจการขยายตลาด ได้มากขึ้น ซึ่งนวัตกรรมจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยการผสมผสานความรู้ นำเอาประสบการณ์ต่างๆที่ผ่านมาทำการวิเคราะห์  ซึ่งวัตถุประสงค์ของเนื้อหาในบทความนี้ เพื่ออธิบายให้เข้าใจถึงกระบวนการ และองค์ประกอบของการจัดการความรู้ และอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการจัดการความรู้ กับการสร้างองค์การนวัตกรรม         

ผลการวิเคราะห์พบว่าการที่องค์การจะสร้างนวัตกรรม พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการได้นั้น องค์การต้องสร้างบรรยากาศสิ่งแวดล้อม ให้สร้างสรรค์ สนับสนุนให้เกิดการสร้างความรู้  แลกเปลี่ยนความรู้  การจัดเก็บ การเข้าถึงความรู้ได้อย่างสะดวก ซึ่งนั้นหมายถึงองค์การต้องเอื้อให้มีกระบวนการจัดการความรู้ให้เกิดขึ้นในองค์การ เพื่อสร้างนวัตกรรม สำหรับใช้ในการขับเคลื่อนสังคม และประเทศได้ นวัตกรรมจะสัมฤทธิผลได้ย่อมต้องมีกระบวนการจัดการความรู้ที่เหมาะสม กิจกรรมของกระบวนการจัดการความรู้จะทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ เกิดแนวคิดใหม่ๆ ที่ผสมผสานระหว่างความรู้ที่ชัดแจ้ง และความรู้ที่ฝังลึก เพื่อที่จะทำให้เกิดการเป็นองค์การนวัตกรรม

         

 

 

Author Biography

วิไลพรรณ ตาริชกุล, สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง

บริหารการศึกษา

References

Boisot,M. 1998. Knowledge asset - Securing competitive advantage in the information economy. Oxford University Press. Oxford .
Davenport,TH.,&Prusak,L.1998.Working Knowledge :How Organizations Manage What They Know.
Harvard Business School Press. Boston
Hansen,T.M.,Nohria,N. and Tierney,T. 1999. What’s your strategy for managing knowledge.Harvard Business Review on Organization Learning. Boston.
Nonaka, Ikujiro. 1998. The Knowledge-Creating Company .Harvard Business Review on Knowledge Management. 21-45
Marquardt, MJ. 1996. Building the learning organization: A system approach to quantum improvement and global success. New York: McGraw-Hill
Seufert,A.,von Krogh,G.andBach,A. 1999. Towards knowledge networking. Journal of Knowledge Management. Vol.3 No.3 pp. 180 – 190
Snowden, David .2002 .Complex Acts of Knowing : Paradox and Descriptive Self-awareness. Journal of Knowledge Management Vol. 6 No.2 pp. 100 – 111.
Stonehouse.H.G &Pemberton.D.J. 1999. Learning and knowledge management in the intelligent organization . Participation & Empowerment : An International Journal . Vol 7. No.5. pp.131-144
Wenger, E. and W.M. Synder. 2000. Communities of Practice : the Organizational Frontier. Harvard Business Review. pp. 139-145

Downloads

Published

2017-08-09

How to Cite

ตาริชกุล ว., & พันธุ์ไทย เ. (2017). กระบวนการจัดการความรู้ เพื่อสร้างองค์การนวัตกรรม. Academic Journal Phranakhon Rajabhat University, 8(2), 271–279. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/AJPU/article/view/95626

Issue

Section

บทความวิชาการ (Article)