การพัฒนาการบริหารจัดการกลุ่มมุสลิม ผู้ผลิตตังเมกรอบ บ้านนํ้าเชี่ยว ตำบลนํ้าเชี่ยว อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด
Keywords:
การบริหารจัดการ, ผลิตภัณฑ์ชุมชน, กลุ่มธุรกิจชุมชน, เครือข่ายการผลิต, Management, Community Product, Community Business, Production NetworkAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนา กลุ่มมุสลิมผู้ผลิตตังเมกรอบ บ้านน้ำเชี่ยวให้มี องค์ความรู้เรื่องการบริหารจัดการกลุ่มการดำเนิน ธุรกิจการเชื่อมโยงเครือข่ายการผลิตและการตลาดและ 2) พัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ตังเมกรอบ ของ กลุ่มมุสลิมบ้านน้ำเชี่ยวให้เข้าสู่มาตรฐานการคัดสรรสุด ยอดหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย และตรงกับความ ต้องการของตลาด แบบแผนการวิจัยเป็นการวิจัยเชิง ปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ สมาชิก กลุ่มมุสลิมผู้ผลิตตังเมกรอบบ้านน้ำเชี่ยว จำนวน 24 คน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสังเกต และหลักเกณฑ์ การคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย ซึ่งจัด ทำโดยกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย และ แผนงานการยกระดับผลิตภัณฑ์ตามเกณฑ์มาตรฐาน การคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย ปี 2552 กลุ่มมุสลิมบ้านนน้ำเชี่ยว (กลุ่ม ก.ไก่ ตังเมกรอบ) ตำบลน้ำเชี่ยว อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด วิเคราะห์ ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา จากการพิจารณาผลการ ดำเนินงานเทียบกับเกณฑ์และตัวบ่งชี้ความสำเร็จ
ผลการวิจัยพบว่า สมาชิกกลุ่มมีความรู้เรื่อง การบริหารจัดการกลุ่ม การดำาเนินธุรกิจการเชื่อมโยง เครือข่ายการผลิตและการตลาด พิจารณาจากการ ปรับปรุงระบบการวางแผน มีการจัดองค์การที่เหมาะ สม มีการปรับปรุงระบบบัญชี มีการเชื่อมโยงกับกลุ่ม ธุรกิจอื่น และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ในการพัฒนา และปรับปรุงผลิตภัณฑ์ และสามารถยกระดับผลิตภัณฑ์ ของกลุ่มให้อยู่ในระดับ 4 ดาวได้ โดยรายการที่บ่งชี้ ให้เห็นความเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน คือ 1) ได้มีการ พัฒนาบรรจุภัณฑ์ โดยปรับรูปแบบของบรรจุภัณฑ์ ให้ตรงตามเกณฑ์มาตรฐานกำหนด 2) มีการจัดทำสื่อ แสดงเรื่องราวของบรรจุภัณฑ์สำหรับแนบติดกับกล่อง ขนมตังเมกรอบ และ 3) มีการจัดทำบัญชีตามรูปแบบ ที่ได้รับการอบรม
Development Administration of Muslim Community Producing Tung-may Dessert In Ban Nam Chiew Tumbol Nam Chiew Amphur Lam-Ngob Trat Province
The purposes of this research were to 1) Develop Muslim Community producing Tung-may Dessert in Ban Nam Chiew to have body of knowledge in community’s enterprise administration in order to link the network of production and marketing and 2) Develop product and packaging of Tung-may Dessert in Ban Nam Chiew produced by Muslim Community to reach OTOP Product Champion Selection Standard and conforming to the market demand. Population of this participatory action research were 24 members of Muslim Community producing Tung-may Dessert in Ban Nam Chiew. Instruments were Observation form and Criteria of OPC: OTOP Product Champion Selection regulated by Community Development Department, Ministry of Interior as well as Product Upgrading Plan of Muslim Community in Ban Nam Chiew (Gor Gai Tungmay Grob Group) Tumbol Nam Chiew Amphur Lam-Ngob Trat Province according to Criteria of OPC: OTOP Product Champion Selection 2009. Analysis by considering the performance against the criteria and indicators of success. Results revealed that Members of Muslim Community in Ban Nam Chiew had the knowledge of Group administration Link the network of production and marketing. Considering in improving plan system aspect, there were Well organized Accounting system improvement Linking to other enterprises Continuing to develop and improve product and Able to upgrade community product to the Star level of 4. Indicators shown development in this project were 1) Packaging development according to the criteria of OPC Standard: 2) Release media or information to describe the story of package attached to Tung-may Dessert Box: and 3) Accounting record in the pattern which had been trained.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
"บทความวิชาการในวารสารฉบับนี้ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น"
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์