คุณภาพการให้บริการของสนามกีฬา: กรณีศึกษาสนามกีฬากลางจังหวัดตราด
คำสำคัญ:
คุณภาพการให้บริการ, สนามกีฬากลาง, จังหวัดตราดบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพการให้บริการ 2) เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพการให้บริการ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการ 3) เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างความคาดหวังและความต้องการของผู้ใช้บริการสนามกีฬากลางจังหวัดตราด โดยใช้แบบสอบถามโดยสุมตัวอย่างจำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเปรียบเทียบ ได้แก่ การวิเคราะห์ค่าที แบบIndependent การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และสถิติเพื่อหาความสัมพันธ์ คือ ค่าสถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า ระดับคุณภาพการให้บริการโดยรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนในรายด้าน พบว่า ด้านการเข้าใจและรู้จักผู้รับบริการ เป็นด้านที่ผู้ใช้บริการให้ความสำคัญสูงที่สุดอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาอยู่ในระดับมาก คือ ด้านความมั่นใจ ด้านความมีตัวตนจับต้องได้ด้านความน่าเชื่อถือ และด้านความรับผิดชอบเป็นด้านที่ผู้ใช้บริการให้ความสำคัญน้อยที่สุดผู้ใช้บริการเพศหญิงมีความคิดเห็นต่อคุณภาพการให้ บริการด้านความน่าเชื่อถือ และด้านความมั่นใจสูงกว่าเพศชาย ในขณะที่เพศชายมีความคิดเห็นต่อคุณภาพการให้บริการด้านความรับผิดชอบสูงกว่าเพศหญิง ผู้ใช้บริการที่มีอายุต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับกับคุณภาพการให้บริการทุกด้าน และโดยภาพรวมแตกต่างกัน ผู้ใช้บริการที่มีระดับการศึกษาต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับกับคุณภาพการให้บริการด้านความมีตัวตนจับต้องได้ ด้านความน่าเชื่อถือ และด้านความรับผิดชอบแตกต่างกัน ผู้ใช้บริการที่มีอาชีพและรายได้ต่อเดือนต่างกันมีความคิดเห็นต่อคุณภาพการให้บริการ ด้านความมีตัวตนจับต้องได้ ด้านความน่าเชื่อถือ ด้านความรับผิดชอบ และด้านการเข้าใจและรู้จักผู้รับ บริการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความสัมพันธ์ระหว่างความคาดหวัง และความต้องการของผู้ใช้บริการ และคุณภาพการให้บริการในภาพรวมมีความสัมพันธ์กันในทิศทางเดียวกันในระดับต่ำ (r = .233) โดยคุณภาพการให้บริการด้านความรับผิดชอบมีความสัมพันธ์ทิศทางเดียวกับความคาดหวัง และความต้องการของผู้ใช้ บริการสูงที่สุด r = .347)
References
Kaewchuen, N. (2010). Satisfaction of people using Phitsanulok Stadium. Special Problems Master of Public Administration, Public Policy Branch, Naresuan University. (in Thai)
Laosumlit, T. (2010). Development of the quality of the service of the Sports Stadium of Thailand. Master of Business Administration, Business Administration, Kasem Bundit University. (in Thai)
Navaratnaayoottaya, T. (2009). Theory and strategy. Bangkok: Printing Office of Chulalongkorn University. (in Thai)
Ministry of Tourism and Sports. (2016). National sports development plan (2560-2564). Bangkok: Office of the Permanent Secretary, Ministry of Tourism and Sports. (in Thai)
Petchrojd, L., Angsuchod, S., & Chanipasas, A., (2012). Statistics for research and techniques for using SPSS. 2nd edition. Bangkok: Charn Dee Strong Printing. (in Thai)
Service Organization of Trat Province. (2016). Statistics of Trat Provincial Stadium in 2016. Bangkok: Service Organization of Trat Province.
Singha, B. (2008). Public opinion on the quality of service of the municipality Bo Thong Amphoe Bo Thong, Chonburi Province. Master of Public Administration, College of Public Administration, Burapha University. (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
"บทความวิชาการในวารสารฉบับนี้ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น"
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์