การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อรับรองการเข้ามาของเทคโนโลยีของธนาคารไทยพาณิชย์

ผู้แต่ง

  • สุธีรา ทิพย์วิวัฒน์พจนา Lampang Rajabhat University
  • ชาญชัย บัญชาพัฒนศักดา สาขาวิทยาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยชินวัตร กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย

คำสำคัญ:

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, ธนาคารไทยพาณิช, การขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อรองรับการเข้ามาของเทคโนโลยีของธนาคารพาณิชย์ไทย 2) ศึกษาระดับการขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมของธนาคารพาณิชย์ไทย 3) เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระดับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อรองรับการเข้ามาของเทคโนโลยีของธนาคารพาณิชย์ไทย ระหว่างกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก 4) เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระดับการขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมของธนาคารพาณิชย์ไทย ระหว่างกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก และ 5) ศึกษาปัจจัยของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อรองรับการเข้ามาของเทคโนโลยีของธนาคารพาณิชย์ไทยที่มีความสัมพันธ์และมีผลต่อการขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมของธนาคารพาณิชย์ไทย

            ประชากรในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ พนักงานของธนาคารพาณิชย์ไทย กลุ่มที่ 1 จำนวน 14 แห่งเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางประมาณขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครจซีและมอร์แกนที่ระดับความเชื่อมั่น 95 % ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 445 คน  เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ

            ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อรองรับการเข้ามาของเทคโนโลยีของธนาคารพาณิชย์ไทย โดยรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก 2) ระดับการขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมของธนาคารพาณิชย์ไทย โดยรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก 3) ค่าเฉลี่ยระดับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อรองรับการเข้ามาของเทคโนโลยีของธนาคารพาณิชย์ไทย ระหว่างกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก ไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05  4) ค่าเฉลี่ยการขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมของธนาคารพาณิชย์ไทย ของกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก ไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05  5) ปัจจัยของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อรองรับการเข้ามาของเทคโนโลยีของธนาคารพาณิชย์ไทย มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมของธนาคารพาณิชย์ไทย และร่วมกันพยากรณ์การขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมของธนาคารพาณิชย์ไทยได้ร้อยละ 95.7 ในเชิงบวกที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .01

References

Bangkok Bank. (2016). Corporate social responsibility report (2559). Bangkok: Bangkok Bank Public Company Limited. (in Thai)

BOT, Bank of Thailand. (2015). Financial institutions supervision report 2015. Retrieved October 1, 2016, from https://www.bot.or.th/Thai/FinancialInstitutions/Publications. (In Thai)

Chainakul, N. (2016). Personnel management. Retrieved October 1, 2016, from http: // www. krittin.in.th/
(in Thai)

Indraon, S. (2013). Trends and trends in human resource development of Thai Commercial Banks. Master of Public Administration, Faculty of Public Administration, National Institute of Development Administration. (in Thai)

Kasikornthai Bank. (2015). Sustainable development report 2015. Retrieved October 1, 2016,
from https://www.ktb.co.th/ktb/en/ktb-csr-operation.aspx?ddl_disp=20. (in Thai)

Kasikornthai Research Center. (2016). FinTech on the financial management model is changing. Bangkok: Kasikornthai Research Center. (in Thai)

Krungthai Bank. (2016). Annual report 2015. Bangkok: Krungthai Bank Public Company Limited. (in Thai)

McLuhan, M. (1962). The Gutenberg Galaxy: the making of typographic man. 1st edition. Toronto: University of Toronto Press.

McLuhan, M. (1989). The global village. NY: Oxford University press.

Meijers, R. & Welzen, S. (2017). Human capital trends have huge impact on financial services industry”.
Retrieved February 1, 2018, from https://www2.deloitte.com/nl/nl/pages/financial-services/articles/

Minjoon, J., & Shaohan, C. (2001). The key determinants of Internet banking service quality: a content
analysis. International Journal of Bank Marketing, 19(7), 276.

Pisanbut, S. & Kedsakorn, Y. (2002). Personnel development and training. 3rd edition. Bangkok: VJ Printing. (in Thai)

Pongrungsap, B. (2013). New age enterprise with Y generation. Retrieved October 15, 2017, from https://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1366877491 (in Thai)

Prachachat Business Online. (2016). FinTech partners or competitors of commercial banks. Retrieved
April 26, 2016, from https://www.prachachat.net/news_detail.php? newsid=1464865001 (in Thai)

Santipraphop, W. (2017). Look for the future of the 4.0 era with challenges in findingopportunities
Knowingly – uncertainty. Retrieved October 15, 2017, from https://www.tsdf.or.th/.th/blog/10141 (in Thai)

Suawcharoensuk, S. (2016). Opportunities, Trends and Adaptation of Thai Commercial Banks to the Digital Banking Era. Bangkok: Land and House Public Company Limited. (in Thai)

Tahir, M. Q., Ayisha, A., Mohammad, A. K., Rauf, A. S. & Syed, T. H. (2010). “Do human resource management practices have an impact on financial performance of banks?”. African Journal of Business Management, 4(7), 1281-1288.

Trakulmutita, C. (2001). Human resource development in organization. Songkhla: Department of Public Administration. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-05-22

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Article)