การพัฒนาเกณฑ์ปกติสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา วิทยาลัยการฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
คำสำคัญ:
การพัฒนา, เกณฑ์ปกติ, สมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ และพัฒนาเกณฑ์ปกติสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา ชั้นปีที่ 1-4 วิทยาลัยการฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ประจำปีการศึกษา 2560 โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามชั้นปีและเพศ กำหนดตามตารางของ เครซี่ และมอแกน การได้มาของกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 104 คน เป็นชาย 67 คน และหญิง 37 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบทดสอบสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ สำหรับประชาชน อายุ 18-29 ปี ของการกีฬาแห่งประเทศไทย โดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างกลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า 1.สมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ ดัชนีมวลกายของนักศึกษาชายและหญิง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์พอเหมาะ ( = 21.63 และ 21.42) สัดส่วนรอบเอวต่อรอบสะโพกของนักศึกษาชายมีค่าเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ( = 0.83) ส่วนนักศึกษาหญิงมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ( = 0.80) แตะมือด้านหลังมือขวาอยู่บนของนักศึกษาชายและหญิงมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ( = 5.54 และ 8.27) แตะมือด้านหลังมือซ้ายอยู่บนของนักศึกษาชายมีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ( = -1.52) ส่วนนักศึกษาหญิงมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ( = 5.78) นั่งงอตัวของนักศึกษาชายมีค่าเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ( = 4.74) ส่วนนักศึกษาหญิงมีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ( = 5.04) นอนยกตัวขึ้น 1 นาที นักศึกษาชายและหญิงมีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ( = 55.55 และ 49.08) ดันพื้น 1 นาที นักศึกษาชายมีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ( = 35.80) ส่วนนักศึกษาหญิงมีค่าเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ( = 34.81) และก้าวขึ้น-ลง 3 นาที นักศึกษาชายและหญิงมีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ( = 96.66 และ 107.68) 2.เกณฑ์ปกติสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ ดัชนีมวลกาย (กก./ม2) รูปร่างผอมบาง ชายน้อยกว่า 19 หญิงน้อยกว่า 18 รูปร่างพอเหมาะ ชาย 19 - 24.90 หญิง 18-23.90 น้ำหนักเกิน ชาย 25-29.90 หญิง 24-29.90 และโรคอ้วน ชายและหญิงมากกว่า 30 สัดส่วนรอบเอวต่อรอบสะโพก (นิ้ว) ระดับสูง ชายน้อยกว่า 0.81 หญิงน้อยกว่า 0.77 ระดับปานกลาง ชาย 0.81-0.86 หญิง 0.77-0.84 และระดับต่ำ ชายมากกว่า 0.86 หญิงมากกว่า 0.84 แตะมือด้านหลังมือขวาอยู่บน (ซม.) ระดับสูง ชายมากกว่า 9 หญิงมากกว่า 10 ระดับปานกลาง ชาย 2-9 หญิง 6-10 และระดับต่ำ ชายน้อยกว่า 2 หญิงน้อยกว่า 6 แตะมือด้านหลังมือซ้ายอยู่บน (ซม.) ระดับสูง ชายมากกว่า 3 หญิงมากกว่า 8 ระดับปานกลาง ชาย (-5) - 3 หญิง 3-8 และระดับต่ำ ชายน้อยกว่า (-5) หญิงน้อยกว่า 3 นั่งงอตัว (นิ้ว) ชายและหญิง ระดับสูง มากกว่า 6 ปานกลาง 4-6 และระดับต่ำ น้อยกว่า 4 นอนยกตัวขึ้น 1 นาที (ครั้ง) ระดับสูง ชายมากกว่า 63 หญิงมากกว่า 56 ระดับปานกลาง ชาย 48 - 63 หญิง 42 - 56 และระดับต่ำ ชายน้อยกว่า 48 หญิงน้อยกว่า 42 ดันพื้น 1 นาที (ครั้ง) ระดับสูง ชายมากกว่า 42 หญิงมากกว่า 39 ระดับปานกลาง ชาย 29-42 หญิง 30-39 และระดับต่ำ ชายน้อยกว่า 29 หญิงน้อยกว่า 30 ก้าวขึ้น-ลง 3 นาที (จับชีพจร 1 นาที) ระดับสูง ชายน้อยกว่า 89 หญิงน้อยกว่า 101 ระดับปานกลาง ชาย 89-105 หญิง 101-114 และระดับต่ำ ชายมากกว่า 105 หญิงมากกว่า 114
References
Banchuen, K. & Banchuen, H. (2016). Physical Education for Health Development. Bangkok: V Print. (in Thai)
Corbin, C.B. & Lindsey, R. (2007). Fitness for Life. (5th ed.). Illinois: Human Kinetics.
Corbin, C. B., Welk, G. I., Lindsey, R. & Corbin. W. R. (2003). Concept of Physical Fitness: Active Lifestyles for Wellness. (11th ed.). New York: Mc Graw-Hill.
Directing Committee of National Health Development Plan No. 12. (2017). The National Health Development Plan No. 12. (2017-2021). Ministry of Public health. Retrieved October 25, 2016, from http://www.info.dmh.go.th/ilaw/files/healthplan12. pdf. (in Thai)
Krejcie, R.V. & Mogan, D.W. (1970). Determing Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30 (1970). 607-610.
Khunaaphisit, W. (1992, July – December). Does the compulsion focusing on physical fitness in teaching physical education in schools be appropriated?. Journal of Health, Physical Education and Recreation. 4 (2), 46. (in Thai)
Paeratkul, P. (1977). Measurement Techniques. Bangkok: Watana Panich. (in Thai)
Plowmale, A., & Smith, D. (1997). Exercise physiology for health, fitness, andperformalece. Massachusetts: Allyn and Bacon.
Shekittka, M.E. (2002). Body Composition and Fitness Levels of Kinesiology Majors andNon-Major, 2005. Retrieved March 10, 2017, form www.lib.umi.com. http://who/int/hpr/docs/glossary.pdf
Sports Authority of Thailand. (2003). Simplified Physical Fitness Test, SATST of Sports Authority of Thailand. New Thaimit Printing (1996). (in Thai)
Weerasiriwat, T. (1995). Principles of Sports Coaching. Bangkok: Odeon Store. (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
"บทความวิชาการในวารสารฉบับนี้ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น"
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์