มาตรการทางกฎหมายในการจ้างแรงงานผู้สูงอายุในภาคเอกชน

ผู้แต่ง

  • พรเพ็ญ ไตรพงษ์ หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต โรงเรียนกฎหมายและการเมือง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
  • กัลยา ตัณศิริ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
  • ภูมิ มูลศิลป์ หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
  • สมจิตร์ ทองศรี ศาลฎีกา กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย

คำสำคัญ:

มาตรการทางกฎหมาย, การจ้างแรงงานผู้สูงอายุ, ภาคเอกชน

บทคัดย่อ

การวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการจ้างแรงงานผู้สูงอายุในภาคเอกชน เปรียบเทียบกฎหมายเกี่ยวกับการจ้างแรงงานผู้สูงอายุในภาคเอกชนของประเทศไทยและต่างประเทศ และนำผลการศึกษาวิเคราะห์และแสวงหามาตรการทางกฎหมายที่เหมาะสมในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายให้มีความสมบูรณ์และเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ ดำเนินการวิจัยโดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้เทคนิคผสมผสานระหว่างการวิจัยเอกสาร (Document Research) การสัมภาษณ์ (Interview) โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการจ้างแรงงานผู้สูงอายุในภาคเอกชน 4 กลุ่ม จำนวน 23 คน และการสนทนากลุ่ม (Focus Group) โดยผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมายและผู้สูงอายุ จำนวน 8 คน จากการวิจัยพบว่า ประเทศไทยได้มีพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 เป็นกฎหมายแม่บทในการคุ้มครองแรงงาน และยังมีพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.2546 ที่บัญญัติเกี่ยวกับผู้สูงอายุไว้ ถึงแม้ว่ากฎหมายจะมีข้อกฎหมายที่ชัดเจนเกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงาน แต่ยังไม่มีระบุชัดเจนถึงแรงงานผู้สูงอายุด้วย เมื่อเปรียบเทียบกับกฎหมายของญี่ปุ่น ที่กำหนดไว้ที่อายุ 60 ปี แต่มีแนวโน้มขยายเกณฑ์อายุออกไปให้มีอายุมากกว่า 60 ปี แต่เยอรมนี ฝรั่งเศส เกาหลี อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย กำหนดไว้ที่อายุ 65 ปี ส่วนสิงคโปร์ที่กำหนดไว้ที่อายุ 67 ปี ด้านผลการวิจัยปัญหาการกำหนดอัตราส่วนการจ้างแรงงานผู้สูงอายุ พบว่า เนื่องจากในปัจจุบันยังไม่มีการวางมาตรการทางกฎหมายในเรื่องการจ้างแรงงานผู้สูงอายุ จึงยังไม่มีการกำหนดอัตราส่วนการจ้างแรงงานผู้สูงอายุไว้ แต่สำหรับคนพิการมีมาตรการกำหนดอัตราส่วนการจ้างแรงงานคนพิการให้นายจ้างและหน่วยงานของรัฐรับคนพิการเข้าทำงานตามลักษณะของงานในอัตราส่วนที่เหมาะสม
ส่วนแนวทางการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายให้มีความสมบูรณ์ ควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมเรื่องประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพให้ผู้มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์และสิ้นสุดสภาพการเป็นลูกจ้างมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ ถึงแม้ว่าเงินบำนาญชราภาพและเงินบำเหน็จชราภาพเป็นการบัญญัติกำหนดอายุของผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพจากกองทุนประกันสังคมเท่านั้น แต่ถ้าลูกจ้างที่มีอายุ 55 ปียังคงทำงานอยู่ก็ยังถือเป็นผู้ประกันตนที่ต้องส่งเงินสมทบกองทุนประกันสังคมแต่ไม่มีสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพจึงทำให้ส่วนใหญ่ภาคเอกชนจึงกำหนดอายุเกษียณไว้ที่อายุ 55 ปี เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรา 118 วรรคสอง นอกจากนี้ แนวทางการพัฒนากฎหมายในการจ้างแรงงานผู้สูงอายุในภาคเอกชน สามารถทำได้โดยการแก้ไขเพิ่มเติมการคุ้มครองแรงงานผู้สูงอายุเช่นเดียวกับการคุ้มครองแรงงาน สตรี เด็ก แรงงานทั่วไป จึงควรมีการคุ้มครองแรงงานเฉพาะสำหรับผู้สูงอายุ โดยเพิ่มหมวดผู้สูงอายุขึ้นมา เพื่อคุ้มครองแรงงานผู้สูงอายุ

References

Bureau of Labor Economics Office of the Permanent Secretary for Labor. (2010). Study project to find employment promotion model for the elderly in rural areas. (in Thai)

Bureau of Labor Economics Office of the Permanent Secretary for Labor. (2010). Career education programs and opportunities to receive appropriate compensation Consistent with the elderly. (in Thai)

Chaemchan, C. (2012). Consideration of new concepts of “Definition of the elderly” and “retirement age” in Thailand, 4(1), 131-150. (in Thai)

Department of Elderly Affairs. (2017). Statistics of the number of elderly people in Thailand in 2016. Retrieved July 21, 2017, from https://www.dop.go.th/upload/knowledge/ knowledge_th_20170707092742_1.pdf. (in Thai)

Eastern Non-formal Education Center. (2000). The follow-up report on the survey of disadvantaged people in the eastern region (Disadvantaged children, disabled people, elderly people, vulnerable groups). Rayong: Eastern Non-Formal Education Center. (in Thai)

National Labor Advisory Council and Ministry of Labor. (2006). Academic Tripartite Seminar Report when older workers must live with concern from the tripartite. Bangkok: (in Thai)

National Statistical Office. (2014). Elderly population survey report in Thailand. Bangkok: Bureau of Forecasting Statistics National Statistical Office. (in Thai)

National Statistical Office. (2016). Elderly population survey report in Thailand. Bangkok: Bureau of Forecasting Statistics National Statistical Office. (in Thai)

Office of Policy and Strategy Office of the Permanent Secretary for Labor. (2008). Project to create and expand the opportunity to access basic social security for the elderly: to study and research on the extension of retirement and saving for retirement age. Bangkok: (in Thai)

Office of Policy and Strategy Office of the Permanent Secretary for Labor. (2010). Study of the impact of the extension of working life of the private sector. Bangkok: (in Thai)

Office of the National Economic and Social Development Board. (2003). Summary of workshop topics Development direction of integrated family institutions. Bangkok: Office of the National Economic and Social Development Board. (in Thai)

Paitoon, S. (2014). The operation of the elderly in the country under the framework of the United Nations: the international action plan for the elderly. Bangkok: Bureau of the Promotion and Protection of the Elderly Office for the Promotion of Child Welfare, Youth, Underprivileged and Elderly Ministry of Social Development and Human
Security. (in Thai)

Secretariat of the National Reform Council. The Commission on Social Reform in the Country (2017). Elderly preparation Important and urgent reform agenda (27 agenda) in 2017. Bangkok: Bureau of the Commissioner 3, Secretariat of the House of Representatives. (in Thai)

Siriphanich, B. (1999). Thai elderly. Bangkok: Publishing House Doctor. (in Thai)

Suwanrada, W. (2013). Experience lessons in policy to extend working life from Japan. Bangkok: Thai Elderly Research and Development Institute Foundation. (in Thai)

Veetpheth, C. (1988). Physiology of exercise. Bangkok: Mahidol University Department of Physiology. (in Thai)

Yodpetch, S. (2001). Elderly welfare. Bangkok: Thammasat University Press. (in Thai)

Yurick, A. G., et al. (2008). The aged person and nursing process. New York: Appleton Century-Crofts. Academic Service Center, Chulalongkorn University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-26

How to Cite

ไตรพงษ์ พ., ตัณศิริ ก., มูลศิลป์ ภ., & ทองศรี ส. (2019). มาตรการทางกฎหมายในการจ้างแรงงานผู้สูงอายุในภาคเอกชน. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 10(2), 19–36. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/AJPU/article/view/201643

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Article)