การพัฒนาศักยภาพทางการตลาดของธุรกิจชุมชน ตำบลสาริกา อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก

ผู้แต่ง

  • สุบัน บัวขาว คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

คำสำคัญ:

ศักยภาพทางการตลาด, การพัฒนา, ธุรกิจชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับศักยภาพทางการตลาดของธุรกิจชุมชน ตำบลสาริกา จังหวัดนครนายก 2) เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมทางธุรกิจภายในและภายนอกของธุรกิจชุมชนของตำบลสาริกา จังหวัดนครนายก และ 3) เพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนาศักยภาพทางการตลาดของธุรกิจชุมชนตำบลสาริกา จังหวัดนครนายก เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน  โดยใช้การวิจัยทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยเลือกผู้ที่เป็นผู้นำกลุ่มและสมาชิกของธุรกิจชุมชนแต่ละประเภท ผู้นำชุมชน และนักวิชาการพัฒนาชุมชน รวมทั้งหมดจำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม และการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือผู้บริโภคที่มีความสนใจและเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญหรือแบบสะดวก จำนวน 123 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า ระดับศักยภาพทางการตลาดของธุรกิจชุมชนของตำบลสาริกา จังหวัดนครนายกทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการขาย โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางถึงมากที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านราคา รองลงมาคือด้านผลิตภัณฑ์ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และน้อยที่สุดคือด้านส่งเสริมการตลาด ส่วนแนวทางในการพัฒนาศักยภาพทางการตลาดของธุรกิจชุมชนของตำบลสาริกา จังหวัดนครนายก ด้านผลิตภัณฑ์ ผู้ประกอบการควรพัฒนาบรรจุภัณฑ์โดยจัดทำป้ายฉลากแสดงส่วนผสม วันที่ผลิต วันหมดอายุ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือแก่ผลิตภัณฑ์และสร้างความมั่นใจแก่ผู้บริโภค และพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีหลากหลาย ด้านราคา ควรติดป้ายแสดงราคาให้ชัดเจนเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้ผลิตภัณฑ์ และใช้เป็นข้อมูลเปรียบเทียบประกอบการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค ด้านช่องทางการจำหน่าย ควรพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายออนไลน์ รวมถึงการสร้างเครือข่ายทางสังคมของชุมชนเพื่อเพิ่มช่องทางการจำหน่ายไปยังชุมชนอื่น ๆ ด้านการส่งเสริมการตลาด ควรจัดทำกิจกรรมส่งเสริมการขาย ลด แลก แจก แถม และจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ “ของดี ที่กุดรัง” เพื่อสร้างความสนใจ ณ จุดขาย ให้แก่ผู้บริโภค

References

ฉัตรชัย อินทสังข์ และ ปวีณา อาจนาวัง. (2556). ต้นแบบกลยุทธ์การตลาดสำหรับพัฒนาผลิตภัณฑ์
วิสาหกิจชุมชนเพื่อการค้าระดับประเทศสู่ความยั่งยืน (กรณีศึกษา: ผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มีระดับต่ำกว่า 3 ดาวในอำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา). รายงานวิจัย ศูนย์กลางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

ธันยมัย เจียรกุล. (2557). ปัญหาและแนวทางการปรับตัวของ OTOP เพื่อพร้อมรับการเปิด AEC.วารสารนักบริหาร มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 34(1) : 177-191.
ธงพล พรหมสาขา ณ สกลนคร และ อุทิศ สังขรัตน์. (2556). แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนในเขตลุ่มทะเลสาบสงขลา. รายงานวิจัยภาควิชาสารัตถศึกษา คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ประมา ศาสตระรุจิ และ ณัฐกฤตย์ ดิฐวิรุฬห์. (2561). แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานธุรกิจชุมชนผ่านระบบสารสนเทศออนไลน์ของชุมชนหินตั้ง ตำบลหินตั้ง อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 10(20) กรกฎาคม-ธันวาคม 2561, 85-97
ปิยะดา พิศาลบุตร. (2561). กลยุทธ์การบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดปราจีนบุรี. Electronic Journal of Open and Distance Innovative Learning (e-JODIL) สืบค้นจาก http://e-jodil.stou.ac.th, 8(1) มกราคม-มิถุนายน 2561.
วรรณพงค์ ช่วยรักษา. (2560). แนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน: กรณีศึกษา กลุ่มสตรีทอผ้าฝ้ายย้อมคราม บ้านถ้ำเต่า จังหวัดสกลนคร. งานนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (สาขาวิชาบริหารธุรกิจสำหรับผู้บริหาร) วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ศรินทร์ ขันติวัฒนกุล. (2558). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการตลาดของผลิตภัณฑ์ของกลุ่มอาชีพในเขตจตุจักรเพื่อการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ, 6(1), 69-81.
ศุภชัย เหมือนโพธิ. (2559). การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการชุมชนตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (พัฒนศึกษา) มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สกลเกียรติ สังวรกิตติวุฒิ และ วรรณธนา รัตนานุกูล. (2561). การศึกษาการบริหารจัดการธุรกิจชุมชนสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0: กรณีศึกษากลุ่มข้าวซ้อมมือบ้านนาลิง ตำบลควนโส อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา. วารสารสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 4(1) : 330 - 341
สมชาย น้อยฉ่ำ, วรินทร์ธร ธรสารสมบัติ, และ สุภา แสงจินดาวงษ์. (2561). การบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชน อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารเกษมบัณฑิต, 19(1) : 130-139
อัญชัญ จงเจริญ. (2554). พัฒนารูปแบบและมาตรฐานการจัดการธุรกิจร้านจำหน่ายสินค้า OTOP และของฝากชุมชน จังหวัดระนอง. รายงานวิจัย ศูนย์การศึกษาวิจัยด้านสุขภาพ การท่องเที่ยวและการโรงแรมและที่พำนักระยะยาว วิทยาเขตระนอง มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
อินท์ชลิตา วัชรีจิระโชติ. (2556). การศึกษาเปรียบเทียบการจัดการวิสาหกิจชุมชน กลุ่มผลิตผ้าไหม อำเภอบ้านเขว้า และกลุ่มผลิตผ้าไหม อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.), 2(2) กรกฎาคม-ธันวาคม 2556, 47-63.
Owusu, V., Owusu-Sekyere, E., Donkor, E., Darkwaah, N. A., Adomako-Boateng Jr, D. (2017). Consumer perceptions and willingness to pay for cassava-wheat composite bread in Ghana: A hedonic pricing approach, Journal of Agribusiness in Developing and Emerging Economies, 7(2), 115-134.
Irefin, I. A, Abdul-Azeez, I. A., & Tijani, A. A. (2012). An investigative study of the factors affecting the adoption of information and communication technology in small and medium scale enterprises in Nigeria. Australian Journal of Business and Management Research, 2(2), 1-9.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-10-20

How to Cite

บัวขาว ส. (2020). การพัฒนาศักยภาพทางการตลาดของธุรกิจชุมชน ตำบลสาริกา อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 11(2). สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/AJPU/article/view/240053

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Article)