ความคิดเห็นต่อการสอนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และความคาดหวังต่อนักเรียน ที่เรียนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของครูชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นนทบุรี เขต 1 และ 2

ผู้แต่ง

  • บุญชัย อารีเอื้อ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • พรสิน สุภวาลย์
  • กฤษณะ โสขุมา
  • อภิชาติ ลือสมัย

คำสำคัญ:

การสอนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์, ความคาดหวัง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นต่อการสอนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และความคาดหวังของครูชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดนนทบุรีเขต 1 และ 2 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการสอนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และความคาดหวังต่อนักเรียนที่เรียนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ตามปัจจัยส่วนบุคคลของครู และ3) จัดกลุ่มครูและเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการสอนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และความคาดหวังต่อนักเรียนที่เรียนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูประถมศึกษาในสังกัดสำนักงานพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1 และ 2 จำนวน 85 โรงเรียน จำนวน 2,332 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ ครูจำนวน 80 คน ร้อยละของการตอบกลับเท่ากับ 24.24 โดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามการสอนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน MANOVA ANOVA LSD และ K-means Cluster

ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคิดเห็นต่อการสอนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของครูทุกด้านอยู่ในระดับมากโดยด้านเทคนิคการสอนมีค่าเฉลี่ยมากที่สุดและด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยสุด คือ ด้านผู้สอน และความคาดหวังต่อนักเรียนที่เรียนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์อยู่ในระดับมาก 2) เพศ อายุ ระดับการศึกษาและสาขาที่จบของผู้ตอบแบบสอบถามที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นทุกด้านพร้อมกันไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า สาขาวิชาที่จบต่างกัน (ครูที่จบคณิตศาสตร์กับครูที่ไม่จบคณิตศาสตร์) มีความคิดเห็นต่อการสอนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของครูด้านนโยบายของโรงเรียนแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ .05 และอายุของผู้ตอบแบบสอบถามต่างกันมีความคาดหวังต่อนักเรียนที่เรียนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ .05 และ 3) การจัดกลุ่มครูตามคะแนนความคิดเห็นฯ 3 กลุ่ม พบว่า กลุ่มสูงมีค่าเฉลี่ยของความคิดเห็นทุกด้านและความคิดเห็นในภาพรวมต่อการสอนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และความคาดหวังต่อนักเรียนที่เรียนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์มากกว่า กลุ่มกลางและกลุ่มต่ำ กลุ่มกลางมีค่าเฉลี่ยของความคิดเห็นทุกด้านและความคิดเห็นในภาพรวมต่อการสอนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และความคาดหวังต่อนักเรียนที่เรียนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์มากกว่า กลุ่มต่ำ

References

Chuchart, W. (2016). The Factors That Affect to Teacher’s Ability in Learning Management Supporting Student’s The 21st Century Learning Skills

in Suphanburi. (M.Ed. Program in Development Educational). Silpakorn University, Nakhon Pathom, Thailand

Harungsri, S. (2010). Utilizing Mixed-Method Research to Explain the Causal

Relationship Between Teachers’ Confidences and Teaching Behaviors on

Student’ Learning Behaviors. (M.Ed. Program in Educational Research Methodology). Chulalongkorn University, Bangkok, Thailand.

Jatchala, K. (2019). The Organizational Characteristics and Teacher's Performance Based on Professional Standard in the School under Nonthaburi Primary

Educational Service Area Office 1. (M.Ed. Program in Educational Administration). Silpakorn University, Nakhon Pathom, Thailand.

rulik, S. & Reys, R.E. (1980). Problem Solving in School Mathematics. Reston,

Virginia : NCTM

Maolichat, S., Wongsiras, C. and Chotisukan, S. (2013). The Teachers' Expectation on School Child Centered Management Under Bangkok Metropolitan Administration.

Phranakhon Rajabhat Research Journal: humanities &social sciences, 8(2), 49-57. (In Thai)

Siriwattanaatirakun, A. (2011). The Need of Self Development of teachers in Basic Schools Affiliated to Office of Songkhla Primary Education Region 2.

M.Ed. Program in Education for Resources Development). Thaksin University, Songkhla, Thailand.

Thasuwan, S. (2010). Perception of Secondary School Teachers and Administrators Under Educational Service Area of Nonthaburi on Health and Physical Education Area of Learning in Academic Year 2008. (M.Ed. Program in Physical Educational). Silpakorn University, Nakhon Pathom, Thailand.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-28

How to Cite

อารีเอื้อ บ., สุภวาลย์ พ. ., โสขุมา ก., & ลือสมัย อ. (2022). ความคิดเห็นต่อการสอนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และความคาดหวังต่อนักเรียน ที่เรียนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของครูชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นนทบุรี เขต 1 และ 2. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 13(1), 371–390. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/AJPU/article/view/248172

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Article)