การวิเคราะห์เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับความเครียดของนักศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร กรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
การวิเคราะห์ , เปรียบเทียบ, นักศึกษา, ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดของนักศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดของนักศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร และ2. เปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดของนักศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร จำแนกตามลักษณะส่วนบุคคล โดยประชากรทั้งหมดมีจำนวน 2,950 คน กลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 353 คน โดยใช้สูตรการคำนวณของยามาเน่ (Yamane) โดยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบระบบ(systematic random sampling) ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ 1. ค่าความถี่ (Frequency) 2. ค่าร้อยละ (Percentage) 3. ค่าเฉลี่ย (Mean) 4. ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และ5.การทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ t-test เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างตัวแปรอิสระที่มี 2 กลุ่ม โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์คำนวณ
ผลการวิจัยพบว่า ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดของนักศึกษาภาพรวมอยู่ในระดับน้อย (xˉ =2.58) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ในทุกด้านอยู่ในระดับน้อย เช่นเดียวกันกับภาพรวม โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือด้านสภาพแวดล้อม (xˉ =2.68) รองลงมาคือ ด้านจิตใจ (xˉ =2.56) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ ด้านสังคม (xˉ =2.52)
ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า นักศึกษาที่มีเพศแตกต่างกัน กับปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดของนักศึกษาไม่แตกต่างกัน มีความน่าจะเป็น (p) เท่ากับ .019 นักศึกษาที่มีอายุที่แตกต่างกัน ลักษณะที่พักอาศัยที่แตกต่างกัน บุคคลที่พักอาศัยอยู่ด้วยที่แตกต่างกัน สถานภาพสมรสของบิดามารดาที่แตกต่างกัน รายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่แตกต่างกัน การสูบบุหรี่ที่แตกต่างกัน และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่แตกต่างกัน ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดของนักศึกษาไม่แตกต่างกัน มีความน่าจะเป็น (p) เท่ากับ .100, .718, .096, .081, .307 .167, .416 ตามลำดับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ส่วนนักศึกษาที่มีชั้นปีที่กำลังศึกษาที่แตกต่างกัน สาขาวิชาที่แตกต่างกัน และโรคประจำตัวที่แตกต่างกัน ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดของนักศึกษาแตกต่างกัน มีความน่าจะเป็น (p) เท่ากับ.032, .000, .017 ตามลำดับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05
References
Bunjerdthavorn, J. (2017). Stress and stress-related factors of undergraduate students receiving scholarships at the Faculty of Commerce and Accountancy, Chulalongkorn University. (Master of Science) Chulalongkorn University. Bangkok, Thailand.
Charoenwuthipong, S. & Watradul, D. (2011). Effects of stress management program on stress levels of teachers, staff and nursing students. Journal of Public Health Nursing, 25(1), 46-63.
Chan-emm, S. (1999) Child Psychology. (4th edition) Bangkok, Thailand: Thai Wattana Panich.
Department of Mental Health. (2000). EQ: Emotional Intelligence. Bangkok, Thaland: Office of Mental Health Development Department of Mental Health.
Hunnirun Anan Malarat,P. & Wangkhoklang, S. (2012). Stress of Public Health Undergraduate Students. Journal of Faculty of Physical Education Volume 15 (Supplement), 352 (In Thai)
Kanchanakitsakul, C. (2012). Research Methodology in Social Sciences Bangkok, Thailand: Jet Five-Four.
Khantakhuan, N. (2015). Stress and stress-related factors of first-year students. 1 Undergraduate degree, Chulalongkorn University. (Master of Science) Chulalongkorn University. Bangkok, Thailand.
Khempet, N. (2017). Stress Management for Students in the College of Politics and Governance Mahasarakham University. Journal of Politics and Governance Volume 7(2),306 (In Thai)
Lazarus, R.S. and Folkman, S. (1984). Stress appraisal and coping. New York USA.; Springer Publishing Company.
Sangkaphan, P. (2013) Stress and mental health problems of veterinary students, Khon Kaen University. (Education Services) Khon Kaen University. Khon Kaen, Thailand.
Sereerat, S. et al. (1998) Organization behavior. Bangkok, Thailand: Thira Film and Sitex Co., Ltd.
Tonyamad, A. (2013). Factors Related to Affecting Stress and Stress Management for Students of Islamic Private Schools in Hatyai District, Songkhla Province. (Master of Arts) Songkla University. Songkla, Thailand.
Uttha, T. & Ugsornwong, R. (2016). Factors Affecting Stress in Taking the Ordinary National Educational Test of Mathayom Suksa 3 Students of the Schools under the Jurisdiction of Secondary Educational Service Area Office 29. Ubon Ratchathani Journal of Research and Evaluation 5(2), 19 (In Thai)
Wongratana (2017) . Statistics for Research Techniques.(13th edition). Bangkok, Thailand: Amorn Printing.
Weerapalangkoon, W. (2020). SPSS : Basic Statistics in Social Science Research. Bangkok, Thailand: Asia Digital Printing
Wirunwiriyangkul. U. (2001). Stress of the First Year Faculty of Nursing Students Staying in Chiang Mai University Dormitory. (Master of Education) Chiang Mai University. Chiang Mai, Thailand.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
"บทความวิชาการในวารสารฉบับนี้ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น"
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์