Development Of Standard Criteria For Risk Assessment In Facility Management Office Building
คำสำคัญ:
Facility Management, การบริหารจัดการทรัพยากรกายภาพ, ความเสี่ยง, ตัวชี้วัด, เกณฑ์การประเมินบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาตัวบ่งชี้ความเสี่ยงในการบริหารจัดการทรัพยากรทางกายภาพอาคารสำนักงาน ด้วยการประยุกต์เทคนิคการวิจัยเอกสารการสังเคราะห์วรรณกรรมแบบเครือข่ายข้อมูลและเทคนิคการวิจัยอนาคต 2) เพื่อการพัฒนาเกณฑ์มาตรฐานการประเมินความเสี่ยงในการบริหารจัดการทรัพยากรทางกายภาพอาคารสำนักงาน จากการทบทวนวรรณกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้อง โดยการสังเคราะห์วรรณกรรมแบบเครือข่าย โดยการประยุกต์ใช้โปรแกรม Pajek การเชื่อมโยงเครือข่ายไม่พิจารณาถึงการหาระยะทาง (Distance) เพื่อจัดกระทำประเด็นมาเป็นองค์ประกอบหลักและองค์ประกอบย่อยของตัวบ่งชี้ความเสี่ยง เพื่อหาองค์ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกรอบแนวคิด เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาเกณฑ์การประเมินความเสี่ยงในการบริหารจัดการทรัพยากรทางกายภาพอาคารสำนักงาน การพัฒนาแนวโน้มของมาตรฐานการประเมินความเสี่ยงในการบริหารจัดการทรัพยากรทางกายภาพอาคารสำนักงาน ผู้วิจัยได้กำหนดวิธีการศึกษาโดยการประยุกต์ใช้เทคนิคการวิจัยแบบอนาคต (Ethnographic Delphi Futures Research: EDFR) รอบที่ 1 และ รอบที่ 2 รวม 17 คน โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการทรัพยากรทางกายภาพอาคารสำนักงาน พบว่า องค์ประกอบที่ใช้ในเกณฑ์มาตรฐานการประเมินความเสี่ยงในการบริหารจัดการทรัพยากรทางกายภาพอาคารสำนักงานองค์ประกอบหลักของเกณฑ์ 6 ด้าน ได้แก่ 1) ความเสี่ยงด้านเทคโนโลยี 2) ความเสี่ยงสำหรับการควบคุมคุณภาพ 3) ความเสี่ยงในการบริหาร 4) ความเสี่ยงสำหรับส่งมอบ 5) ความเสี่ยงด้านความปลอดภัย 6) ความเสี่ยงในการปฏิบัติงาน ถือว่ามีความสำคัญมากสำหรับองค์การทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ท่ามกลางการแข่งขันสูง และองค์การมีความต้องการขับเคลื่อนภารกิจต่างๆ ให้อยู่รอด เจริญเติบโตและดำเนินกิจการต่อไปด้วยความมั่นคงและยั่งยืน เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับการบริหารจัดการทรัพยากรทางกายภาพอาคารสำนักงานและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องให้ทราบถึงสภาพการดำเนินงานการบริหารความเสี่ยงด้านการบริหารจัดการทรัพยากรทางกายภาพอาคารสำนักงาน ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการบริหารจัดการการบริหารจัดการทรัพยากรทางกายภาพอาคารสำนักงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อไป
References
เจนเนตร มณีนาค และคณะ. (2548). การบริหารความเสี่ยงระดับองค์กรจากหลักการสู่ภาคปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพมหานคร: บริษัทไฟนอลการพิมพ์จำกัด.
ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี. (2550). การบริหารความเสี่ยง. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: บริษัทออฟเซ็ทครีเอชั่นจำกัด.
ธงชัย ทองมา. (2553). “การบริหารทรัพยากรกายภาพอาคารสานักงานให้เช่าระดับ เอ: กรณีศึกษาอาคารสำนักงานให้เช่า จำนวน 15 อาคาร ในบริเวณศูนย์กลางเขตธุรกิจกรุงเทพมหานคร.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธงชัย ทองมาและพิทักษ์ ศิริวงศ์. (2557). “วิถีชีวิตและคุณภาพชีวิต ในการทำงานของพนักงานช่างประจำอาคาร อาคารสำนักงานให้เช่าระดับเอ ในบริเวณศูนย์กลางเขตธุรกิจกรุงเทพมหานคร: กรณีศึกษาอาคารอับดุลราฮิม.” วารสารวิชาการ Veridian E-Journal 7, 1 (เดือนมกราคม- เมษายน): 293.
ธงชัย ทองมาและประสพชัย พสุนนท์. (2557). “ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการ การบริหารทรัพยากรกายภาพ: อาคารสำนักงานให้เช่าระดับ เอ ในบริเวณศูนย์กลางเขตธุรกิจกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษาอาคารอับดุลราฮิม.” วารสารวิชาการ Veridian E-Journal 7, 2 (เดือนพฤษภาคม-สิงหาคม): 15.
ธงชัย ทองมาและธีระวัฒน์ จันทึก. (2558). “การบริหารจัดการความเสี่ยงกับการบริหารการเปลี่ยนแปลง: องค์การในยุคโลกาภิวัฒน์.” วารสารวิชาการ Veridian E-Journal 8, 3 (เดือนกันยายน – ธันวาคม).
ธงชัย ทองมาและธีระวัฒน์ จันทึก. (2559). “วิธีการพัฒนาตัวชี้วัดความเสี่ยงด้วยแนวทางการจัดการทรัพยากรทางกายภาพอาคารสำนักงานเพื่อมุ่งสู่การพัฒนาเกณฑ์การประเมิน.” วารสารวิชาการ Veridian E-Journal 9, 1 (เดือนมกราคม – เมษายน).
ธรรญา สุขสมัย. (2552). “การบริหารความเสี่ยงขององค์กรแบบบูรณาการ.” เอกสารในการอบรมเชิงปฏิบัติการ สถาบันวิจัยและพัฒนาเพื่ออุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, 12-13 มิถุนายน.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2545). การพัฒนาตัวบ่งชี้สำหรับการประเมินคุณภาพการบริหารและการจัดการเขตพื้นที่การศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ธารอักษร.
ประชุม รอดประเสริฐ. (2539). การบริหารโครงการ. พิมพครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: เนติกุลการพิมพ.
วิริยะ รัตนสุวรรณ. (2544). “ลดความสูญเสียด้วยการบริหารความเสี่ยง.” วารสาร Productivity world. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
รัตนะ บัวสนธ์. (2550). ทิศทางและอาณาบริเวณการประเมิน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2554). ทฤษฏีการประเมิน. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมฤดี นิโครวัฒนยิ่งยง. (2550). คู่มือธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมฉบับประชาชน. กรุงเทพมหานคร: สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย.
สุพจน์ โกสิยะจินดา. (2541). การประเมินความเสี่ยงของโครงการคอมพิวเตอร์. กรุงเทพมหานคร: เอ็กซเปอร์เน็ท.
เสริชย์ โชติพานิช. (2553). การบริหารทรัพยากรกายภาพหลักการและทฤษฎี. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เสริชย์ โชติพานิช. (2541). “การบริหารจัดการทรัพยากรอาคารสถานที่.” วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ (อาษา) 03, 41 (ฉบับพิเศษงานสถาปนิก): 50-60
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2554). “แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559)” 26 ตุลาคม.
ผดุงชัย ภู่พัฒน์ (2551). การพัฒนาตัวบ่งชี้และเกณฑ์ในการประเมิน. ประมวลสาระชุดวิชาการประเมินและการจัดการโครงการประเมิน หน่วยที่ 4 หน้า 169-189 นนทบุรี บัณฑิตศึกษา สาขาวิชาศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
อมร มะลาศรี. (2554). “การพัฒนารูปแบบการประเมินความเสี่ยงทางการศึกษาสำหรับมหาวิทยาลัย ราชภัฏ.” ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
อุทุมพร จามรมาน. (2544). การวัดและประเมินการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพมหานคร
ห้างหุ้นส่วนจำกัดฟันนี่พับพลิชชิ่ง.
Alkin, M. C., and Carden, F. (2012). Evaluation Roots: An International Perspective. Journal of MultiDisciplinary Evaluation, 8(17), 102-118.
Broder, J.F. (2006). Risk Analysis and the Security Survey. 3rdEdition. United States of America: Elsevier Inc.
Brumale, S. and J. McDowall. (1999). “Integrated Management Systems.” The Quality Magazine. 8 (1): 52–58.
Denyer J.C. (1997). Office Management. 5thEdition. London: The English Language Book Company and Macdonald & Evens Ltd.
George R. Terry. (1960). Principle of Management. Home Wood Illionis: Richard D. Irwin.
Grose, V. L. (1987). Managing risk. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.
Gray, C.F. and E.W. Larson. (2006). Project Management. 3rd Edition. Singapore: McGraw-Hill Companies, Inc.
Jackson, J., N. Allum and G. Gaskell. (2006). “Bridging Levels of Analysis in Risk Perception Research : The Case of the Fear of Crime.” Forum: Qualitative Social Research.7 (January): 20.
Jo Allen, D.C., et al. (1998). Office Development Hand Book. ULI: Urban Land Institute.
Johnstone, J.N. (1981). Indicators of Education Systems. London: The Ancho Press, Tiptree Essex.
Jones H.E. and Long D.L. (1996). Principles of insurance: life, health and annuities. U.S.A.: Arcata Graphics.
Keeling, Lewis, B. & Kallaus, Norman, F. (1996). Administrative Office Management. 11th Edition., Cincinnati, Ohio: South-Western Education Publishing.
Oxford Advanced Learner’s Dictionary (2010). Oxford: Oxford University Press.
Scriven, M. (1967). The Methodology of Evaluation. AERA. Monograph Series in Curriculum Evaluation. No 1. Chicago: Rand McNally.
Smith, P. and G. Merrit. (2002). Proactive Risk Management: Controlling Uncertainly in Product Development. Proactive Risk Management. unpaged: June.
Quible, Z.K. (1996). Administrative Office Management: An Introduction. 6th Edition. New Jersey: Prentice Hall.Inc.
Trieschmann J.S., R.E. Hoyt and D.W. Sommer. (2005). “Risk Management and Insurance.” Newport News. unpaged: January.
Victor, Jupp. (2006). The SAGE Dictionary of Social Research Methods. London: SAGE Publications.
Zio, E. (2006). An Introduction to The Basics of Reliability and Risk Analysis. London: World Scientific Publishing Co. Pte. Ltd.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
"บทความวิชาการในวารสารฉบับนี้ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น"
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์