The Communication Efficiency with in Faculty of Humanities and Social Science, Phranakorn Rajabhat University

ผู้แต่ง

  • ศุภโ่ชค มณีมัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

คำสำคัญ:

การสื่อสารภายในองค์กร, การประสานงานในองค์กร, การพัฒนาประสิทธิภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1)สภาพการสื่อสารภายในองค์กรของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร 2)ประเมินประสิทธิภาพการสื่อสารในองค์กรของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณประชากรคือบุคลากรของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ทั้งหมด แบ่งเป็น ผู้บริหาร ข้าราชการ พนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ และพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน จำนวน 113 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามซึ่งผ่านการทดสอบ รวมทั้งการหาความเที่ยงตรง และความเชื่อมั่นได้ของแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

          ผลการศึกษาพบว่า

          1) สภาพการสื่อสารภายในองค์กรของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ส่วนใหญ่บุคลากรให้ความสำคัญกับการสื่อสารของคณะฯ ทำให้การดำเนินการกิจกรรมร่วมกันระหว่างบุคลากร และการสื่อสาร ทำให้บุคลากรเข้าใจข่าวสารที่คณะฯ ต้องการประชาสัมพันธ์ให้ทราบ และการสื่อสาร ทำให้บุคลากรของคณะฯ เข้าใจเป้าหมายขององค์กรมากขึ้น เกิดการประสานงานกันระหว่างบุคลากร และการสร้างความร่วมมือกันของบุคลากร ทำให้เกิดความร่วมมือ ร่วมใจ ในการปฏิบัติงานให้เรียบร้อย มีประสิทธิภาพ มีการทำงานเป็นทีม เพื่อให้งานบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ และเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ มีการแบ่งหน้าที่กันทำ และ   มีความร่วมมือจนกว่างานจะบรรลุผลสำเร็จ สภาพของประสิทธิภาพภายในของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์นั้น คณะมนุษยฯ มีประสิทธิภาพดีมากทั้ง 3 ด้าน โดยมีค่าเฉลี่ยคือด้านการประสานงาน (3.944) ด้านการกระตุ้นให้เกิดแรงจูงใจในการทำงาน (3.904) และด้านการสร้างความผูกพันต่อองค์กร (3.904) มีค่าเฉลี่ยรวม 3.931  2) ประเมินประสิทธิภาพการสื่อสารในองค์กรของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางทั้ง 3 ด้าน มีค่าเฉลี่ยรวม 3.213 มีค่าเฉลี่ยปัจจัยด้านการสื่อสารของคณะฯ 3.213  ปัจจัยด้านข้อมูลและ ช่องทางการสื่อสาร 3.150 และปัจจัยด้านผู้รับข่าวสาร 3.097 คือ การประชาสัมพันธ์ข้อมูลต่าง ๆ ของคณะมนุษย์ฯ บ่อยครั้งไม่มีความชัดเจนมากพอ และ ระยะเวลาประชาสัมพันธ์หรือเชิญประชุมมีระยะเวลากระชั้นชิดเกินไป คณะมนุษยฯ ควรแจ้งข้อมูลต่าง ๆ ให้ชัดเจน และผู้บริหารต้องให้ระยะที่เหมาะสมมากกว่านี้ในการประชาสัมพันธ์ข่าวสารต่าง ๆ สู่บุคลากร ควรมีการกำหนดระยะเวลาการประชาสัมพันธ์ อีกทั้งควรกำหนดลำดับความสำคัญของข้อมูลข่าวสารและช่องทางการสื่อสารเพื่อให้บุคลากรทราบ 

References

เกรียงศักดิ์ เจดีย์แปง. (2551). การพัฒนาประสิทธิภาพการสื่อสารภายในองค์กร สำนักประชาสัมพันธ์ เขต 3 กรมประชาสัมพันธ์. สาขาวิชาการจัดการทั่วไป. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
จรัสโฉม ศริรัตน์. (2558). ปัญหาการติดต่อสื่อสารของบุคลากรในองค์กร : กรณีศึกษาสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพมหานคร: สำนักหอสมุดกลาง. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ชมสุภัค ครุฑกะ. (2557). หลักการจัดการความรู้. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ฐิติพันธ์ รักใคร่. (2553). การเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการด้านการประสานงานของ กรมควบคุมโรค. กระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพมหานคร: สาขาวิชาวิทยาการการจัดการ. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ณรังษี จ้อยเจนสิทธุ์. (2550). ความพึงพอใจต่อประสิทธิภาพระบบการสื่อสารภายในองค์กรของสำนักงานวิจัย คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี. สาขาวิชาการจัดการทั่วไป. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
ณรัฐ วัฒนพานิช. (2557). ความรู้ทั่วไปทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
บุญเลิศ เพ็งสุข. (2547). การศึกษาสภาพและปัญหาการสื่อสารภายในองค์กรของผู้บริหาร อาจารย์ และเจ้าหน้าที่ในวิทยาลัยเทคนิค. สังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษาในเขตสถาบันการอาชีพศึกษาภาค 1. สาขาวิชาครุศาสตร์เทคโนโลยี. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ประยงค์ มีใจซื่อ. (2557). พฤติกรรมองค์การ. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ศุภรัศมิ์ ฐิติกุลเจริญ. (2554). ทฤษฎีการสื่อสาร. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง. สาขาบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคราม.
สุวัลยา โพธิ์พะเนาว์. (2552). การพัฒนาการสื่อสารในสำนักงานเขตการศึกษานครราชสีมา. เขต 2
เสาวลักษณ์ อนันตศานต์. (2556). การพูดเพื่อการสื่อสาร. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร:
สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
Berlo’s Model of Communication Retrieved from http://www.managementstudyguide.com/berlo-model-of-communication.htm
J.A. Bolarinwa. (2009). Organizational Communication for Organization Climate and Quality Service in Academic Libraries. Akungba-Akoko, Ondo State.
Organizational Communication, Communication for Governance & Accountability Program, Towards A New Agora.
People Pulse-Empowering Better Business Decisions, Organizational Communication Survey, Target Audience : All employees. Retrieved from www.peoplepulse.com.au

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-08-08

How to Cite

มณีมัย ศ. (2017). The Communication Efficiency with in Faculty of Humanities and Social Science, Phranakorn Rajabhat University. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 8(1), 106–115. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/AJPU/article/view/70136

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Article)