Measurement and Evaluation of Learning Outcomes for Professional Experience Training of Teacher Students from Faculty of Arts Education Bunditpatanasilpa Institute
คำสำคัญ:
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้, การพัฒนาหลักสูตร, หลักสูตรฝึกอบรมบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของหลักสูตรฝึกอบรมเรื่อง การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ สำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะศิลปศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักศึกษากลุ่มนาฏศิลป์ และกลุ่ม ดุริยางคศิลป์ ก่อนและหลังการฝึกอบรม 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างนักศึกษากลุ่มนาฏศิลป์ และกลุ่มดุริยางคศิลป์ และ 4) ศึกษาความคิดเห็น ของนักศึกษาที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรม กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยครั้งเป็นนักศึกษาของคณะศิลปศึกษา (ส่วนกลาง) สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ชั้นปีที่ 4 ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 119 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มนาฏศิลป์ จำนวน 64 คน และ 2) กลุ่มดุริยางคศิลป์ จำนวน 55 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความคิดเห็น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) และการหาประสิทธิภาพ E1 / E2
ผลการวิจัยพบว่า
- ผลการหาประสิทธิภาพของหลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้ สำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะศิลปศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ พบว่า ค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 82.77/81.85 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80
- ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ของนักศึกษากลุ่มนาฏศิลป์ หลังฝึกอบรมสูงกว่าก่อนฝึกอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (t=37.11, Sig= 0.00) และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษากลุ่มดุริยางคศิลป์ หลังฝึกอบรมสูงกว่าก่อนฝึกอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (t=30.88, Sig= 0.00)
- 3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ระหว่างนักศึกษากลุ่มนาฏศิลป์ และกลุ่มดุริยางคศิลป์ หลังฝึกอบรม ไม่มีความแตกต่างกัน (t=56, Sig= 0.12)
- ความคิดเห็นของนักศึกษา ที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรมเรื่อง การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้ สำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์ วิชาชีพครู คณะศิลปศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ โดยภาพรวมนักศึกษาเห็นด้วยในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.27)
References
ไชยยศ ไพวิทยศิริธรรม, ภัทราวดี มากมี และ เขมณัฏฐ์ มิ่งศิริธรรม. (2556). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมด้านประเมินผลการเรียนรู้ระดับสูง สำหรับครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University. สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2559. จาก https://www.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal
ทวีป อภิสิทธิ์. (2553). เทคนิคการเป็นวิทยากรและนักฝึกอบรม. พิมพ์ครั้งที่ 4 กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ไพบูลย์ อ่อนมั่ง และคณะ. (2557). โครงการวิจัยนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ เรื่อง การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม เพื่อพัฒนาทักษะการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. สาขาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ .
วิเชียร วงษ์ใหญ่. (2537). กระบวนการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
สมคิด บางโม. (2553). เทคนิคการฝึกอบรมและการประชุม. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.
สิรินธร สินจินดาวงศ์, วัยวุฑฒ์ อยู่ในศิล และณรงค์ฤทธิ์ อินทนาม. (2556). การพัฒนาประสิทธิภาพด้านการประเมินผลการเรียนรู้ระดับสูง สำหรับครูในระดับการศึกษาขั้น
พื้นฐาน. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย. ปีที่19 ฉบับที่ 1 เดือนพฤษภาคม 2556.
สำนักงานปฏิรูปการศึกษา. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวาน กราฟฟิค จำกัด.
อมรา เขียวรักษา. (2558). การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรม เรื่องการประเมินผล การเรียนรู้ ตามสภาพจริงโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน สำหรับครูวิทยาศาสตร์ประถมศึกษา. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ.
อรณิชชา ทศตา. (2558).การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ“สร้างสรรค์และพัฒนาเพื่อก้าวหน้าสู่ประชาคมอาเซียน”. ครั้งที่ 2 18-19 มิถุนายน 2558 ณ วิทยาลัยนครราชสีมา อําเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา : ภาคโปสเตอร์.
Tyler, R. W. (1950). Basic Principles of Curriculum and Instruction, Syllabus for Education 360. Chicago: University of Chicago Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
"บทความวิชาการในวารสารฉบับนี้ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น"
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์