การถอดรหัสอัตลักษณ์ชุมชนแพรกหนามแดง กับการประยุกต์ใช้ในการออกแบบมาสคอต (mascot) ประจำท้องถิ่นอัมพวา เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

Main Article Content

SIRATCHA SAMLEETHONG

บทคัดย่อ

การถอดรหัสอัตลักษณ์ชุมชนแพรกหนามแดง กับการประยุกต์ใช้ในการออกแบบมาสคอต (mascot) ประจำท้องถิ่นอัมพวา เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม  เป็นการวิจัยเชิงสร้างสรรค์ (Creative Research )  มีวัตถุประสงค์ (1).เพื่อค้นหาชุดองค์ความรู้ ที่เป็นอัตลักษณ์ชุมชน ในการประยุกต์ใช้ออกแบบมาสคอต (Mascot) ประจำท้องถิ่น (2).เพื่อออกแบบรูปแบบ Mascot ต้นแบบสะท้อนความเป็นอัตลักษณ์ ความอุดมสมบูรณ์ ของชุมชนแพรกหนามแดง  อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม


งานวิจัยเริ่มจากการ  (1).กำหนดกรอบความคิดในการออกแบบมาสคอต  ศึกษาข้อมูลจากการลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลในการถอดรหัสอัตลักษณ์ชุมชน  กำหนดประเภทและลักษณะของการ์ตูนสัญลักษณ์ “มาสคอต” (Mascot)   สร้างชุดแบบสอบถามสำหรับผู้แทนชุมชน  เพื่อคัดเลือกองค์ประกอบการออกแบบ  (2). สรุปข้อมูลและทำการออกแบบรูปแบบมาสคอตต้นแบบ  สร้างชุดแบบสอบถามสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ และผู้แทนชุมชน  เพื่อทำการประเมินผลและสรุปการออกแบบ


ผลการศึกษาพบว่า  องค์ประกอบของมาสคอตที่เหมาะสมกับอัตลักษณ์ชุมชนแพรกหนามแดง กับการประยุกต์ใช้ในการออกแบบมาสคอต (mascot) ประจำท้องถิ่นอัมพวา เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม  มีองค์ประกอบดังนี้ สัญลักษณ์มาสคอต  ได้แก่ กุ้ง ปู ปลา ชาวประมง  วัย ของมาสคอต วัยรุ่น -วัยผู้ใหญ่  เพศ ได้ทั้งชายและหญิง   ขนาดตัวมาสคอต  3.5 ส่วน แบบสมส่วน  ลักษณะเป็นแบบกึ่งเหมือนจริง 3 มิติ  และ การ์ตูน   กลุ่มสี  ได้แก่  เขียว เหลือง แดง  สีเขียว สีเหลือง เป็นสีเอกลักษณ์ของชุมชน  ที่สื่อถึงความอุดมสมบูรณ์  ความยั่งยืน การพึ่งพาตนเอง  ผลประเมินการคัดเลือกรูปแบบ ที่มีปัจจัยประกอบด้วย เพศ  วัย บุคลิคภาพ  อิริยาบถ หรืออารมณ์ ของมาสคอต   ได้แก่ รูปแบบแนวคิดที่สื่อถึงอาชีพประมง และความอุดมสมบูรณ์ของอาหารทะเล  เช่น ปูทะเล  รูปแบบแนวคิดที่สื่อถึง ลำคลองสายน้ำ  และ รูปแบบแนวคิดที่สื่อถึง ต้นหนามแดง  ตามลำดับ

Article Details

บท
การออกแบบ

References

จันทร์เพ็ญ มีนคร. (2555). การประเมินความเสี่ยงจากพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวที่ ส่งผลต่อความเสียหายของทรัพยากรการท่องเที่ยวในพื้นที่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

จุฑาธิปต์ จันทร์เอียด. (2553). การวางแผนยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนแบบบูรณาการในจังหวัดสมุทรปราการ. พิษณุโลก:มหาวิทยาลัยนเรศวร.

นฤพนธ์ คมสัน. (2553). การพัฒนาสัญลักษณ์นําโชคประจำอำเภอจังหวัดพิษณุโลก. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ประไพพรรณ เปรื่องพงษ์, เอื้อเอ็นดู ดิศกุล ณ อยุธยา. (2557). การออกแบบมาสคอตสำหรับงานอีเว้นท์ทางวัฒนธรรมของจังหวัดเชียงใหม่. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะศิลปกรรมศาสตร์.

ไพโรจน์ พิทยเมธี. (2559).การสร้างประสบการณ์ทางสุนทรีย์จากสีไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร, คณะทัศนศิลป์.

วรรษมน จันทดิษฐ์. (2552). พฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยศึกษากรณีตลาดน้ำอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สาธิญา รุ่งพิพัฒนพงศ์. (2557). องค์ประกอบของความยั่งยืนสำหรับการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ : กรณีศึกษาชุมชนอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย