การออกแบบนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุจากภูมิปัญญาท้องถิ่นไม้ตาลโตนด

Main Article Content

ยุวดี พรธาราพงศ์
อาณัฎ ศิริพิชญ์ตระกูล

บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อออกแบบนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุจากภูมิปัญญาท้องถิ่นไม้ตาลโตนดที่สามารถช่วยเหลือและส่งเสริมด้านสุขภาพในการดำเนินชีวิต 2.เพื่อสร้างแนวทางการออกแบบนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุจากภูมิปัญญาท้องถิ่นไม้ตาลโตนดที่มีความเป็นเอกลักษณ์ให้แก่ชุมชนสามารถนำไปผลิตเพื่อยกระดับสินค้าที่พัฒนามาจากภูมิปัญญาท้องถิ่น วิธีการออกแบบโดยทำการศึกษาพฤติกรรมปัญหาด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ ด้านร่างกาย ซึ่งมีความเปลี่ยนแปลง เนื่องจากความชราภาพ เป็นการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา ปัญหาด้านกล้ามเนื้ออ่อนแรง เรี่ยวแรงลดลง การดูแลและส่งเสริมสุขภาพร่างกายของผู้สูงอายุมีความสำคัญ ผู้วิจัยทำการศึกษาค้นคว้าด้วยวิธีการออกแบบรูปแบบนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุ 5 รูปแบบ คือ รูปแบบที่ 1 ผลิตภัณฑ์ไม้ตาลโตนดกด นวดกล้ามเนื้อต้นคอ  รูปแบบที่ 2 ผลิตภัณฑ์ไม้ตาลโตนดกด นวดกล้ามเนื้อแขน ขา รูปแบบที่ 3 ผลิตภัณฑ์ไม้ตาลโตนดบริหารนิ้วมือ รูปแบบที่ 4 ผลิตภัณฑ์ไม้ตาลโตนดตอก นวดหลัง รูปแบบที่ 5 ผลิตภัณฑ์ไม้ตาลโตนดบริหารกล้ามเนื้อใต้ฝ่าเท้า ที่สามารถช่วยส่งเสริมด้านสุขภาพในการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุได้


     ผลการทดลองโดยนำเอานวัตกรรมผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุจากภูมิปัญญาท้องถิ่นไม้ตาลโตนดที่สามารถช่วยเหลือและส่งเสริมด้านสุขภาพในการดำเนินชีวิต ทดลองใช้กับผู้สูงอายุ จำนวน 50 คน ด้านรูปแบบ ด้านแนวคิด ด้านหน้าที่การใช้งาน พบว่าผู้สูงอายุมีความพึงพอใจกับนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุอยู่ในระดับดีมาก ผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุจากภูมิปัญญาท้องถิ่นไม้ตาลโตนด เป็นนวัตกรรมที่เกิดขึ้นจากฐานภูมิปัญญาผู้สูงอายุทำให้ผู้สูงอายุมีสุขภาวะที่ดีขึ้นในการดูแลใส่ใจสุขภาพ นวัตกรรมผลิตภัณฑ์จากไม้ตาลโตนด เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากส่วนลำต้นของไม้ตาลโตนด เป็นงานที่มีคุณค่าเป็นเอกลักษณ์ประจำท้องถิ่น การศึกษาในการใช้ไม้ตาลโตนดมาเป็นวัสดุในการจัดทำผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุต้องการสื่อความหมายของไม้ตาลโตนด ซึ่งเป็นวิถีชีวิตและภูมิปัญญา แสดงถึงความทรงจำที่ดีงามของผู้สูงอายุได้และสามารถสร้างรูปแบบและแนวทางในการสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีความเป็นเอกลักษณ์ให้แก่ชุมชน คุณค่าทางด้านวิถีชีวิตกับการพึ่งพาธรรมชาติ ซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีในท้องถิ่นเป็นสำคัญ

Article Details

บท
การออกแบบ

References

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2558). แนวทางการดูแลทางด้านสังคมจิตใจของผู้สูงอายุเพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพจิต. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย

ประทีป จีนงี่, ลัดดาวัลย์ เกษมเนตร, ชูศรี วงศ์รัตนะ, ประณต เค้าฉิม, ยุทธนา ไชยจูกุล, ทัศนา ทอง ภักดี, พวงรัตน์ เกษรแพทย์, (2562). การพัฒนานวัตกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุในศตวรรษที่ 21. วารสารบรรณศาสตร์ มศว. (12)2, 15-29.

ประเวศ วะสี. (2536). ภูมิปัญญาชาวบ้านกับการพัฒนาชนบท. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊ฟ

มาตรการขับเคลื่อนระเบียบวาระแห่งชาติ เรื่อง สังคมสูงอายุ (ฉบับปรับปรุง). (2561). กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. กรุงเทพมหานคร: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)

เสน่ห์ จามริก. (2539). การแสวงหาภูมิปัญญาไทยเพื่อการพัฒนา. วารสารชุมชนพัฒนา

สุธาสินี วิยาภรณ์, (2560). ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับประโยชน์ของต้นตาลโตนด หมู่บ้านตาลโตนด ตำบลถ้ำรงค์ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา. 11(3), 132-138

ระพีพรรณ คำหอม, วรลักษณ์ เจริญศรี และเล็ก สมบัติ. (2562). พัฒนานวัตกรรมทางสังคมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำของผู้สูงอายุไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

สมศักดิ์ ศรีสันติสุข. (2539). สังคมวิทยาภาวะสูงอายุ : ความเป็นจริงและการคาดการณ์ในสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.