การสื่อความหมายในงานจิตรกรรมภาพเหมือนตัวเองของศิลปินหญิง: กรณีศึกษา 10 ศิลปินหญิง ในประวัติศาสตร์ศิลปะ

Main Article Content

ณัฐสุรี เตชะวิริยะทวีสิน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวม เรียบเรียง และศึกษาผลงานจิตรกรรมภาพเหมือนตัวเองของศิลปินหญิง เพื่อนำมาสู่วิเคราะห์รูปแบบศิลปกรรมผลงานจิตรกรรมภาพเหมือนตัวเองของศิลปินหญิง และเพื่อวิเคราะห์การสื่อความหมายที่เป็นเนื้อหาสาระของผลงานจิตรกรรมภาพเหมือนตัวเองของศิลปินหญิงผ่านการตีความ โดยมีแนวคิดด้านการจัดองค์ประกอบภาพและทฤษฎีสัญศาสตร์หรือสัญวิทยาเป็นแนวคิดและทฤษฎีสำคัญสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลด้านการสื่อสารความหมาย ด้วยวิธีดำเนินการวิจัยแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ


ผลจากการวิจัยที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ พบว่า


(1) ผลงานจิตรกรรมภาพเหมือนตัวเองของศิลปินหญิง 10 คนที่นำมาศึกษามีคุณค่าในทางประวัติศาสตร์ศิลปะอย่างสูงด้วยความสัมพันธ์ในเชิงรูปแบบกับลัทธิศิลปกรรมในแต่ละยุคสมัยอย่างสอดคล้อง ศิลปินหญิงในแต่ละช่วงเวลาอาศัยรูปแบบสำคัญที่เป็นกระแสของพัฒนาการทางด้านศิลปกรรมเป็นปัจจัยในการสร้างสรรค์ผลงานภาพเหมือนตัวเองให้เกิดเป็นลักษณะเฉพาะที่โดดเด่นและมีสาระเฉพาะตัว (2) รูปแบบผลงานจิตรกรรมภาพเหมือนตัวเองของศิลปินหญิงมีการจัดองค์ประกอบผลงานโดยนำเสนอใบหน้าและลำตัวส่วนบนของตัวเองเป็นจุดเด่นหรือจุดเน้นของภาพผลงาน โดยที่เทคนิคและลัทธิศิลปะในยุคสมัยต่าง ๆ ที่แตกต่างกันไม่ได้มีผลที่แตกต่างในด้านการนำเสนอรูปแบบของผลงาน การจัดองค์ประกอบของภาพจิตรกรรมจึงเป็นไปตามรูปแบบการวาดภาพเหมือนโดยปกติ แต่อาจแตกต่างในลักษณะของการเน้นการแสดงออกของสีหน้าและสายตาของตัวละครในภาพ (3) ผลงานจิตรกรรมภาพเหมือนตัวเองของศิลปินหญิงนั้นมักสื่อความหมายตรงด้านการแสดงออกถึงภาพใบหน้าที่มีต้นแบบจากตัวเองที่เป็นผลจากการมองภาพสะท้อนในกระจกหรือจากภาพถ่ายหรือจากเอกลักษณ์ของใบหน้าของตัวเองเป็นต้นแบบ และแสดงความหมายแฝง6 ประการ คือ ผลงานจิตรกรรมภาพเหมือนตัวเองของศิลปินหญิงมักมีนัยยะแฝงที่เป็นความหมายเชิงลึกอันเกี่ยวโยงกับประเด็นในเรื่องของความเป็นเพศหญิง ในฐานะศิลปินยุคก่อนสมัยใหม่ การที่ศิลปินหญิงใช้ตัวเองเป็นตัวละครสื่อแทนตัวละครในศาสนา การแสดงออกถึงนัยทางเพศที่แสดงออกทางสายตา โครงสร้างใบหน้า รูปร่าง และรูปทรงส่วนบนของร่างกาย การขับเน้นรูปร่างที่เว้าโค้งหรือแม้แต่การเปลือยร่างกาย การแสดงออกถึงวิถีชีวิตประจำวันที่เป็นผู้หญิงในฐานะชนชั้นกลาง และการเปิดเผยจิตใต้สำนึกของศิลปินหญิงที่เสมือนว่าเต็มไปด้วยสุนทรียภาพอันลึกลับ

Article Details

บท
ทัศนศิลป์

References

จอห์นนพดล วศินสุนทร. (2558). โรล็องด์ บาร์ตส์ (Roland Barthes) มายาคติ (Myth) และในแบบหลังโครงสร้างสัญวิทยา (Post-Structural Semiology). สืบค้น 18 ตุลาคม, จาก http://johnnopadon.blogspot.com/2015/10/roland-barthes-myth-post-structural.html

ชลูด นิ่มเสมอ. (2559). องค์ประกอบของศิลปะ = Composition of art. กรุงเทพฯ: อมรินทร์.

ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2555). สัญวิทยา โครงสร้างนิยม หลังโครงสร้างนิยม กับการศึกษารัฐศาสตร์. กรุงเทพฯ: วิภาษา.

ธีรยุทธ บุญมี. (2551). การปฏิวัติสัญศาสตร์ของโซซูร์ เส้นทางสู่โพสต์โมเดอร์นิสม์. กรุงเทพฯ: วิภาษา.

โรล็องด์ บาร์ตส์. (2544). มายาคติ. (วรรณพิมล อังคศิริสรรพ, ผู้แปล) กรุงเทพฯ: คบไฟ.

สุชาติ เถาทอง. (2562). วิธีคิดทางศิลปะออกแบบขั้นสูง คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ บูรณาการความรู้ใหม่. ชลบุรี: คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุริยะ ฉายะเจริญ และคณะฯ. (2564). หลักการวิเคราะห์และการตีความแก่นความรู้ทางศิลปะออกแบบขั้นสูง. รายงานการประชุมวิชาการ

วิจัย และงานสร้างสรรค์ศิลปกรรมสถาปัตยกรรม ครั้งที่ 6: When Architecture meet Art. พิษณุโลก: คณะสถาปัตยกรรม

ศาสตร์ ศิลปะแลการออกแบบ มหาวิทยาลัยนเรศวร

Bailey, Stephanie. (2020,). Georgette Chen: An Inimitable Pioneer of the Nanyang Style. Retrieved 25 November 2020, from https://ocula.com/magazine/features/georgette-chen-pioneer-of-the-nanyang-style/#oc-col-1

Google Art & Culture. (2021). 10 Self-Portraits By Women Artists. Retrieved 24 Febuary 2021, from https://artsandculture.google.com/story/10-self-portraits-by-women-artists/nAJyCun4qsH7Jg

Natashamoura. (2021). First self-portraits painted by women. Retrieved 24 Febuary 2021, from

https://womennart.com/2021/02/24/first-self-portraits-painted-by-women/

National Museum of Women in the Arts. (2022). Alice Bailly Self-Portrait. from https://nmwa.org/art/collection/self-portrait/

National Portrait Gallery. (2022). Mary Cassatt Self-Portrait. from https://npg.si.edu/object/npg_NPG.76.33

Nutton, Sue. (2022). Self portraits by female artists. from https://artuk.org/discover/curations/self-portraits-by-female-artists

Scherker, Amanda. (2019). Why Female Artists Have Used the Self-Portrait to Demand Their Place in Art History. Retrieved 15 May 2019, from https://www.artsy.net/article/artsy-editorial-female-artists-self-portrait-demand-place-art-history-05-13-19

Stace, Charlotte. (2020). 10 Most Famous Self-Portraits by Female Artists. Retrieved 22 October 2020, from https://www.dailyartmagazine.com/female-artist-self-portraits/