การสร้างรูปแบบการเรียนการสอนเชิงบูรณาการกับการทำงานใน หลักสูตรดนตรีระดับปริญญาตรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการใช้ชุดวิชาในการจัดการเรียนการสอนในวิชาดนตรีระดับปริญญาตรี 2) เพื่อสร้างรูปแบบการเรียนการสอนเชิงบูรณาการกับการทำงานในหลักสูตรดนตรีระดับปริญญาตรี 3) เพื่อการพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนดนตรีในวิถีความปกติใหม่ โดยใช้การศึกษาวิจัย 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาแนวทางการจัดการเรียนการสอนเชิงบูรณาการกับการทำงานด้วยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ขั้นตอนที่ 2 ตรวจสอบร่างรูปแบบการเรียนการสอนเชิงบูรณาการกับการทำงานในหลักสูตรดนตรีระดับปริญญาตรีโดยผู้เชี่ยวชาญ ขั้นตอนที่ 3 การประเมินรูปแบบการเรียนการสอนเชิงบูรณาการกับการทำงานในหลักสูตรดนตรีระดับปริญญาตรี โดยการสอบถามผู้สอนและนักศึกษา ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการเรียนการสอนเชิงบูรณาการกับการทำงานในหลักสูตรดนตรีระดับปริญญาตรีมี 3 องค์ประกอบ คือ 1) ด้านหลักสูตร ประกอบด้วยลักษณะหลักสูตรและการพัฒนาหลักสูตร 2) ด้านการจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วยการจัดการเรียนการสอนภายในสถานศึกษาและการจัดการเรียนการสอนภายในสถานประกอบการ 3) ด้านความร่วมมือ ประกอบด้วยประโยชน์ของสถานศึกษาและประโยชน์ของสถานประกอบการ รูปแบบการเรียนการสอนเชิงบูรณาการกับการทำงานในหลักสูตรดนตรีระดับปริญญาตรี ผลการศึกษาทั้ง 3 ด้านอยู่ในระดับมากมีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้สร้างรูปแบบการเรียนการสอนเชิงบูรณาการกับการทำงานในหลักสูตรดนตรีระดับปริญญาตรี
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศิลป์ปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศิลป์ปริทัศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศิลป์ปริทัศน์
References
กษิรา กาญจนพิบูลย์, และธนาสิทธิ์ เพิ่มเพียร. (2559). แนวทางปฏิบัติตามแนวการจัดการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงานที่เหมาะสมกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิตและความต้องการของสถานประกอบการ. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 8(3), 165-177.
ธานินทร์ ศรีชมภู และคณะ. (2557). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีในสถานศึกษา สังกัด สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 16(3), 120-131.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การพัฒนาการสอน. กรุงเทพมหานคร: สุวีวิยาสาส์น.
วรวิทย์ ศรีตระกูล. (2556). การพัฒนาการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีวิทยาลัยเทคนิคหนองคาย. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา, 26(90), 88-100.
สุภาภรณ์ พรหมบุตร. (2563). New normal กับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลง. สืบค้น พฤศจิกายน 25, 2564. จาก https://dsp.dip.go.th/th/category/2017-11-27-08-04-02/2020-06-29-14-39-49.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). สรุปผลดาเนินงาน ๙ ปี ของการปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: วี.ที.ซี. คอมมิวนิเคชั่น.
อภิญญา พูลทรัพย์. (2561). มทร. ล้านนา จับมือเบทาโกร สร้าง “นักศึกษา WiL” เรียนรู้ควบคู่การทำงาน. สืบค้น ตุลาคม 30, 2561 จาก https://www.rmutl.ac.th/dsk/news/
Office of the Basic Education Commission. (2020). Education in the digital age. Retrieved March 19, 2021 from https://www.posttoday.com/social/general/