ความงามของสีในบรรยากาศธรรมชาติ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การสร้างสรรค์ผลงานชุด “ความงามของสีในบรรยากาศธรรมชาติ” จำนวน 4 ชิ้น ด้วยเทคนิคจิตรกรรมสีอะคริลิค ในรูปแบบศิลปะกึ่งนามธรรม โดยการกำหนดค่าเปอร์เซ็นต์สีโทนร้อน สีโทนเย็น ในปริมาณที่เหมาะสม ด้วยวิธีการระบายสี การแต้มสี ถูขยี้สี การป้ายสีโปร่งแสงซ้อนทับกันด้วยทีแปรงแบบสั้นๆ เกิดเป็นความเคลื่อนไหวของบรรยากาศตามสีที่กำหนด และสีสันบรรยากาศแต่ละช่วงเวลาตามความรู้สึกของผู้สร้างสรรค์ จากความประทับใจในความงามของสีบรรยากาศธรรมชาติ ที่ผู้สร้างสรรค์ชื่นชอบการเดินทางท่องเที่ยว สะท้อนความรู้สึกแห่งความผ่อนคลาย ปิติ และความสุขใจ สอดคล้องกับทฤษฎีลัทธิอิมเพรสชั่นนิสม์ ทฤษฎีสี แสง และทฤษฎีทางสุนทรียศาสตร์ด้านความงาม ที่แสดงออกถึงความประทับใจของสีบรรยากาศธรรมชาติแต่ละช่วงเวลาที่เปลี่ยนไป ร่วมกับการศึกษาทฤษฎีจิตวิทยาสีกับความรู้สึก ในการนำโทนสีสื่อความรู้สึกของผู้สร้างสรรค์ผ่านผลงานศิลปะ เพื่อปลดปล่อยอารมณ์ความรู้สึกจากความเครียดภายในจิตใจ สอดคล้องกับทฤษฎีสุขนิยม เป็นความสุขความพึงพอใจที่เกิดจากการสัมผัสธรรมชาติ กระตุ้นให้ทุกคนเห็นคุณค่าความงดงามของธรรมชาติจากการท่องเที่ยว เป็นการใช้ชีวิตเรียบง่ายสบายใจท่ามกลางธรรมชาติ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศิลป์ปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศิลป์ปริทัศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศิลป์ปริทัศน์
References
โจฮันเนท อิทเธน แปลโดย วิญญู สถิตวิทยานันท์ และคนอื่น. (ม.ป.ป.). องค์ประกอบของสี. กรุงเทพฯ.มหาวิยาลัยกรุงเทพ.
ชลูด นิ่มเสมอ. (2553). องค์ประกอบของศิลปะ. กรุงเทพฯ: อมรินทร์.
ธงชัย รักปทุม, ประหยัด พงษ์ดํา (บรรณาธิการ). (2559). ทัศนศิลป์. กรุงเทพมหานคร : บริษัทพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.)
จำกัด.
วิชิตา คะแนนสิน. วิถีสุขนิยมที่มองว่าเป็นคนต้องสุขสุดๆ. [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2565
จาก https://becommon.co/life/hedonism-life-thought/#accept
วุฒิ วัฒนสิน. (2552). ประวัติศาสตร์ศิลปะ. กรุงเทพฯ: สิปประภา.
อรอนงค์ ฤทธิ์ฤาชัย, สัญชัย สันติเวช และ นิธิวดี ทองป้อง. (2560). จิตวิทยาสีกับห้องเรียน BBL. วารสารศึกษาศาสตร์, 40(1), 8.
Annual Exhibition. ธรรมชาติ มิติในความสว่าง. [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อ 9 ตุลาคม 2565 จาก
http://www.rama9art.org/artisan/2018/november/nature_dimension_of_space/index.html
Artbangkok. ประเทือง เอมเจริญ. [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อ 9 ตุลาคม 2565 จาก https://www.artbangkok.com/?p=10377)%20
Artbangkok. My Way II. [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อ 9 ตุลาคม 2565 จาก https://www.artbangkok..com/?p=37871
Invaluable . 20th Century Chinese Art. [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อ 9 ตุลาคม 2565 จาก
http://www.invaluable.com/auction-lot/zhu- dequn-727-c-j6hu98o9xu
Team Write. มอแน (Monet) ชื่อนี้ สะเทือนวงการศิลปินวาดภาพสีน้ำมัน. [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อ 9 ตุลาคม 2565 จาก https://www.winnews.tv/news/1911