แนวทางการพัฒนาการจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์อาคารสายสุทธานภดล ตำหนักพระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์อาคารสายสุทธานภดล ตำหนักพระ
วิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โดยใช้แนวคิดในการจัดพิพิธภัณฑ์ประเภทบ้านประวัติศาสตร์ และแนวคิดการประเมินคุณค่าทรัพยากรวัฒนธรรม และการลงพื้นที่สำรวจและเก็บข้อมูลในพิพิธภัณฑ์ ตลอดจนการศึกษาเอกสารทางประวัติศาสตร์ ประกอบกับการศึกษาพิพิธภัณฑ์ต้นแบบ และการสัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับพิพิธภัณฑ์
ผลการศึกษาพบว่า พิพิธภัณฑ์อาคารสายสุทานภดล หรือตำหนักพระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา เป็นพิพิธภัณฑ์ประเภทบ้านประวัติศาสตร์ มีการจัดแสดงเกี่ยวข้องกับบุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์ 2 ท่าน คือ พระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา พระอัครชายาในรัชกาลที่ 5 และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านิภานภดล กรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี พระราชธิดาในรัชกาลที่ 5 ซึ่งจากการประเมินคุณค่าทรัพยากรวัฒนธรรม พบว่าพิพิธภัณฑ์อาคารสายสุทธานภดล มีทรัพยากรวัฒนธรรมที่มีความสำคัญ 4 ด้าน คือ ความสำคัญเชิงประวัติศาสตร์ ความสำคัญเชิงสุนทรียศาสตร์ ความสำคัญเชิงวิชาการ และความสำคัญเชิงสังคม และจากการสัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับพิพิธภัณฑ์ และการศึกษาพิพิธภัณฑ์ต้นแบบ สามารถเสนอแนวทางการพัฒนาการจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์อาคารสายสุทธานภดลได้ 2 ส่วน คือ การจัดแสดงภายนอกพิพิธภัณฑ์ โดยการคืนสภาพเดิมให้เหมือนกับในอดีตตามข้อมูลประวัติศาสตร์ และการจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์ ในลักษณะการจำลองห้องที่ประทับในอดีต เสมือนเจ้านายยังคงมีพระชนม์ชีพ ตามหลักการจัดพิพิธภัณฑ์ประเภทบ้านประวัติศาสตร์
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศิลป์ปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศิลป์ปริทัศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศิลป์ปริทัศน์
References
จิรา จงกล. (2532). พิพิธภัณฑสถานวิทยา.กรุงเทพมหานคร: กรมศิลปากร.
ธนิก เลิศชาญฤทธ์. (2554). การจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์มนุษยวิทยาสิรินธร.
นิคม มูสิกะคามะ และคณะ. (2533). ทฤษฏีและแนวปฏิบัติการอนุรักษ์อนุสรณ์สถานและแหล่งโบราณคดี. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.
_____(2540). ระบบการบริหาร-จัดการวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร: กรมศิลปากร.
_____ (2521). วิชาการพิพิธภัณฑ์. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.
เนื่อง นิลรัตน์ . (2537) .ชีวิตในวัง เล่ม 1-2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์กรุงเทพ.
แน่งน้อย ศักดิ์ศรี,หม่อมราชวงศ์. (2525). พระราชวังและวังในกรุงเทพฯ (พ.ศ.2325-2525). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปณิตา สระวาสี. (ม.ป.ป.). “ความหมายและความยั่งยืนของพิพิธภัณฑ์บ้านประวัติศาสตร์.” ม.ป.ท.
(พระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547, 2547)
มงคลรัตน์ มหมัดซอ. (2553). การจัดการพิพิธภัณฑ์เชิงโหยหาอดีต : กรณีศึกษาบ้านพิพิธภัณฑ์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. สาขาวิชาการบริหารงานวัฒนธรรม วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วดี โภคศิริ. (2551). แนวทางการศึกษาข้อมูลทางวัฒนธรรมเพื่อจัดทำพิพิธภัณฑ์บ้านบุคคลสำคัญกรณีศึกษาวังสาเกในพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. สาขาวิชาวัฒนธรรมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
วินัย หมั่นคติธรรม. (2551). การศึกษาแนวทางการออกแบบและการบูรณะโบราณสถานเพื่อนากลับมาใช้ประโยชน์ใหม่กรณีศึกษา : อาคารศศิพงศ์ประไพอาคารจุฑารัตนาภรณ์อาคารอาทรทิพย์นิวาส และอาคารเอื้อนอาช์วแถมถวัลย์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
ราชกิจจานุเบกษา.เล่มที่ 121 ตอนพิเศษ 23 ก,หน้า 1-24.
วิทยาลัยครูสวนสุนันทา. (2523). สวนสุนันทาในอดีต. กรุงเทพมหานคร: พิศิษฐ์การพิมพ์.
_______. (2525). ดนตรีไทย. กรุงเทพมหานคร: อรุณการพิมพ์.
_______. (2536). เรื่องเล่าชาววัง. กรุงเทพมหานคร: อรุณการพิมพ์.
______ (2526). พระจรรยาของพระวิมาดาเธอกรมพระสุทธาสินีนาฏในศรุตานุสรณ์. กรุงเทพมหานคร: ม.ป.ท.
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม,มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. (2564). แผนยุทธศาสตร์ฯ และแผนปฏิบัติการ ประจำปี 2564. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
สุนทรี อาสะไวย์. (2544). กำเนิดและพัฒนาการของอาหารชาววังก่อน พ.ศ.2475 .ศิลปวัฒนธรรม, 32(7).
ฉันทนา สุรัสวดี. (2543). แนวทางในการอนุรักษ์และจัดการสิ่งแวดล้อมของตำหนักในสวนสุนันทา. กรุงเทพมหานคร: คณะกรรมการวิจัยศึกษา การศาสนาและวัฒนธรรม.
วีณา เอี่ยมประไพ. (2551). ภาพลักษณ์สวนสุนันทา: วาทกรรมเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
Australia ICOMOS (1999). The Burra Charter, The Australia ICOMOS Charter for Places of Cultural Significance. Australia: ICOMOS Inc.
Hardesty, Don & Little, Barbara. (2000). Assessing Site Significance walnut creek. California: Alta Mira Press.
New South Wales Heritage office. (2001). Assessing Heritage Significance. Sydney: New South Wales Heritage office