สัญลักษณ์แห่งพุทธศรัทธา

Main Article Content

ศิริศิลป์ พรมกิ่งศิริพันธ์

บทคัดย่อ

           การสร้างสรรค์ผลงานชุด “สัญลักษณ์แห่งพุทธศรัทธา” จากการศึกษาเทคนิคการปั้นปูนสดแบบไทยโบราณนั้นพบว่า เนื้อปูนมีลักษณะเฉพาะตั้งแต่วัสดุ ส่วนผสมปูนปั้นล้วนเป็นวัสดุที่ถูกคัดสรรเพื่อแสดงความเคารพ ความเชื่อ ความศรัทธา ที่ช่างปูนปั้นมักสร้างสัญลักษณ์ แทนคำสอนทางพุทธศาสนา ซึ่งผู้สร้างสรรค์ได้นำเทคนิคการผสมปูนสดแบบโบราณมาประยุกต์ใช้ในการสร้างสรรค์ผลงาน โดยการพัฒนาเทคนิค พบว่าการผสมมวลสารมงคลที่มีลักษณะเฉพาะ เช่น ชานหมาก น้ำมนต์ ข้าวก้นบาตร แผ่นทองคำเปลว ทำให้เนื้อปูนมีความพิเศษไม่เคยปรากฏการผสมวัสดุแบบนี้มาก่อน เป็นการนำเสนอแนวทางการผสมปูนปั้นให้เกิดเป็นผิวปูนที่มีสี และพื้นผิวที่แปลกตา จากการศึกษาทฤษฎีการปั้นปูนสดไทยโบราณ ร่วมกับศึกษาทฤษฎีสัญลักษณ์นิยมพบว่า การสร้างสัญลักษณ์ทางความเชื่อนั้น จำเป็นต้องใช้ประสบการณ์ในการรับรู้ การปลูกฝังทางความเชื่อจากรุ่นสู่รุ่น กลายเป็นวัฒนธรรมทางความเชื่อ อันสามารถแสดงถึงคุณค่าของงานประติมากรรมปั้นปูนสดไทยแบบโบราณในลักษณะศิลปะร่วมสมัย

Article Details

บท
ทัศนศิลป์

References

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (2562). งานปูนปั้นสกุลช่างเมืองเพชร. ใน วราพรรณ ชัยชนะศิริ (บ.ก.), มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม

ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๒. (น.60-65). สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2553). ปรัชญาเบื้องต้น(พิมพ์ครั้งที่ 3). นวสาส์นการพิมพ์.

จารุวรรณ ขำเพชร. (2549). งานปูนปั้น. กรุงเทพฯ: ศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ดวงมน จิตร์จำนง. (2536). สุขและทุกข์ในงานของนักเขียนสตรีไทย. วารสารรูสมิแล,15(2), 67.

น. ณ ปากน้ำ. (2533). ศิลปะลายรดน้ำ(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เอกพิมพ์ไทย.

นฤทธิ์ วัฒนภู. (2550). ตู้พระธรรมลายรดน้ำ : ฝี มือครูวัดเชิงหวาย.

นฤทธิ์ วัฒนภู. (2560). ลายรดน้ำ(ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: วาดศิลป์.

เสน่ห์ หลวงสุนทร. (2542). ลายไทย. กรุงเทพฯ: วาดศิลป์.

สันติ เล็กสุขุม. (2547). พัฒนาการของลายไทย : กระหนกกับเอกลักษณ์ไทย. กรุงเทพมหานคร: เมืองโบราณ.

สุมณฑา คณาเจริญ. (2548). ศรัทธาในพระพุทธศาสนา. วงการครู 2(18), 98 – 101.

สุมน อมรวิวัฒน์. (2530). การสอนโดยสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2528). พระพรหมคุณาภรณ์(พิมพ์ครั้งที่ 3). โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). พระธรรมปิฎก(พิมพ์ครั้งที่ 10). สหธรรมิก.

Rajabhat Idol. (2561). อาจารย์สมชาย บุญประเสริฐ. [Video]. Facebook. https://www.facebook.com/watch/?v=539631079763740