การสร้างสรรค์ตราสินค้าเครื่องแต่งกายแฟชั่น และผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์เพื่อการท่องเที่ยว จากนวัตกรรม สีดิน ณ อุทยานธรณีโลกจังหวัดสตูล ภายใต้แนวคิดการข้ามวัฒนธรรมร่วมสมัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์ตราสินค้าเครื่องแต่งกายแฟชั่น และผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์เพื่อการท่องเที่ยว จากนวัตกรรม สีดิน ณ อุทยานธรณีโลกจังหวัดสตูล ภายใต้แนวคิดการข้ามวัฒนธรรมร่วมสมัย โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบสอบถาม, แบบสอบถามที่ใช้วัดข้อมูลเบื้องต้น. บทสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ, แบบสัมภาษณ์, สถิติ เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัย โดยพบว่าจังหวัดสตูลซึ่งมีอุทยานธรณีโลกซึ่งได้รับการประกาศให้เป็นอุทยานธรณีโลกโดยยูเนสโก และเป็นแห่งที่ 5 ของเอเชียตะวันออก ว่าเป็นหินเก่าสมัย 500 ล้านปีใต้ท้องทะเลที่ได้เคลื่อนตัวขึ้นมาเนื่องจากการเคลื่อนของเปลือกโลกก่อเกิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรณีวิทยาที่สวยงาม ดังนั้นจึงจัดได้ว่าเป็นอัตลักษณ์ของจังหวัดสตูล ดังนั้นกลุ่มเป้าหมายหลักของอุทยานธรณีโลกสตูลจึงเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวและที่ตั้งใจเดินทางมาที่จังหวัดสตูลทั้งหมดเนื่องจากจังหวัดสตูลเป็นจังหวัดที่ไม่ใช่สถานท่องเที่ยวที่เป็นทางผ่านนับได้ว่าเป็นกลุ่มเป้าหมายที่มีไลฟ์สไตล์ชอบการท่องเที่ยวและการผจญภัย และเป็นผู้มีฐานะในระดับหนึ่งและใช้งานอินเตอร์เน็ตได้ ดังนั้นสินค้าที่สะท้อนอัตลักษณ์ของจังหวัดสตูลได้จึงเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยการใช้นวัตกรรมสกัดสีจากดินมาผ่านเทคนิคการทำผ้าบาติกซึ่งเป็นเทคนิคที่จังหวัดสตูลใช้เป็นหลักในการผลิตภัณฑ์กลุ่มผ้าและเครื่องแต่งกาย ร่วมกับการออกแบบโดยใช้แรงบันดาลใจจากสถาปัตยกรรมโมร็อกโก เพราะจังหวัดสตูลมีเอกลักษณ์ในด้านมีผู้ถือศาสนาพุทธและอิสลามมากพอๆกัน จึงทำให้พบเห็นสถาปัตยกรรมสไตล์โมร็อกโกได้มากใจจังหวัด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศิลป์ปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศิลป์ปริทัศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศิลป์ปริทัศน์
References
กรมประชาสัมพันธ์. (2561). UNESCO ประกาศให้ “สตูลจีโอพาร์ค” เป็นอุทยานธรณีโลก. สืบค้น กันยายน 10, 2565 จาก https://gnews.apps.go.th
กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑๑ สงขลา. (2562). แหล่งโบราณคดีถ้ำภูผาเพชร. สืบค้น กันยายน 4, 2565 จhttps://www.finearts.go.th
กลุ่มปันหยาบาติก. (2561). กลุ่มปันหยาบาติก Satun Geopark. สืบค้น กันยายน 10, 2565 จาก
ณรงค์ฤทธิ์ ทุ่งปรือ. (2554). ชมฟอสซิลที่อุทยานธรณีโลกสตูล. สืบค้น กันยายน 4, 2565 จาก www.wongnai.com
ปิ่น บุตรี. (2562). อุทยานธรณีโลกสตูล. สืบค้น กันยายน 10, 2565 จาก https://thai.tourismthailand.org
มูฮำหมัด ดือราแม. (2554). ฟอสซิล 800 ล้านปี สมบัติล้ำค่าเมืองสตูล. สืบค้น กันยายน 4, 2565 จาhttps://deepsouthwatch.org/th/dsj/2417