การสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์จากฐานความเชื่อและความกลัว
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง “การสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์จากฐานความเชื่อและความกลัว” การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสัญลักษณ์ของมายาคติแห่งความเชื่อและความกลัว การตีความบริบทแวดล้อมตามทัศนะ และ2) เพื่อนำเสนอมุมมอง วิธีคิด และการสื่อความหมายผ่านผลงานทัศนศิลป์ในรูปแบบศิลปะสัญลักษณ์นิยม (Symbolism in art) และเผยแพร่ผลงานศิลปะร่วมสมัยสู่สาธารณะ กำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) พิจารณาจากกลุ่มประชากรที่ได้รับสิ่งกระตุ้นเร้าความเชื่อและความกลัว โดยกำหนดช่วงอายุ 18 ปี - 70 ปีขึ้นไป เป็นตัวแทนกลุ่มอาชีพ จำนวน 131 คน ตัวแทน 4 จังหวัด 1) จังหวัดกรุงเทพมหานคร 2) จังหวัดสมุทรปราการ 3) จังหวัดนนทบุรี และ 4) จังหวัดนครปฐม เครื่องมือที่ใช้แบบสัมภาษณ์ (Interview) ที่ผ่านการตรวจคุณภาพ (IOC) จากผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่านและผ่านการขอจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ เพื่อใช้ข้อมูลดังกล่าวเป็นฐานคิดที่ช่วยค้นหาประเด็นทางความคิดที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อและความกลัว รวมไปถึงการตีความบริบทแวดล้อมตามทัศนะของผู้วิจัย
ผลการวิจัยพบว่า การศึกษาทฤษฎีสัญศาสตร์ (Semiotics) ศิลปะสัญลักษณ์นิยม (Symbolism in art) ที่มีความสอดคล้องกับภาษาภาพ สนับสนุนและเผยให้เห็นทัศนะที่นำไปสู่การรับรู้ เป็นผลมาจาก “สื่อ” (Mass Media) ตัวกลางสำคัญ เชื่อมโยงและชักจูงผู้คนในสังคมและมีส่วนในการบ่มเพาะ “ความเชื่อ” เป็นพื้นฐานความคิดการแสดงออก “ความกลัว” ในยุคดิจิทัลที่ไม่สามารถปฏิเสธได้ มายาคติ (Mythologies) ที่มีรูปลักษณ์ของความงาม ผันแปรไปตามยุคสมัย เรื่องราวเนื้อหาถูกแสดงผ่านรูปแบบงานจิตรกรรม ตามแนวทางการสร้างสรรค์ศิลปะร่วมสมัยอย่างมีนัยยะสำคัญ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศิลป์ปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศิลป์ปริทัศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศิลป์ปริทัศน์
References
ติช นัท ฮันห์ ผู้แปล นพ.ชวโรจน์ เกียรติกำพล. (2564). กลัว: หัวใจของปัญญาญาณเพื่อผ่าน พ้นพายุ: Fear Essential Wisdom
for Getting Through the Strom. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ฟรีมายด์.
ภิญโญ จิตต์ธรรม. (2516). ขนบธรรมเนียมประเพณีในคติชาวบ้าน อันดับ 12. (46 - 47). สงขลา: มงคลการพิมพ์
มงคลการพิมพ์ลำภู แก้วกล้า. (2564). อิทธิพลของค่านิยมที่มีผลต่อพฤติกรรมการเสี่ยงดวงในสังคมไทย. วารสารวนัมฎองแหรก
พุทธศาสตรปริทรรศน์, 8(1), 131-140.
กัญญ์ชลา นาวานุเคราะห์. (2561). หลุยส์ บูชัวส์...มาสเตอร์พีซในวัยแปดสิบ. ค้นเมื่อ [1 มกราคม 2566]. จาก แหล่งสารสนเทศ.
https://www.creativethailand.org/view/article-read?article_id=27787
สรยุทธ รัตนพจนารถ. (2565). อมิกดาลา อไมกดาลา Amygdala. ค้นเมื่อ [17 มีนาคม 2566]. จาก แหล่งสารสนเทศ.
https://www.novabizz.com/NovaAce/Physical/Amygdala.htm
II Sapere. (2018). Marina Abramovic on performing 'Rhythm 0' 1974. ค้นเมื่อ [12 ธันวาคม 2566].
จาก แหล่งสารสนเทศ. https://www.youtube.com/watch?v=kijKz3JzoD4
Molsymbolic. (2011). สัญลักษณ์นิยม (Symbolism). ค้นเมื่อ [12 ธันวาคม 2563]. จาก แหล่งสารสนเทศ.
https://molsymbolic.wordpress.com/2011/09/26/สัญลักษณ์นิยมsymbolism/
Research Gate GmbH. (2023). “Temple of Mind: Sala for the Mind”, 1995. ค้นเมื่อ [1 มกราคม 2566].
จาก แหล่งสารสนเทศ. https://www.researchgate.net/figure/Temple-of-the-Mind-Sala-for-the-Mind-1995-
Montien-Boonma-Herbal-medicine-wood-brass_fig20_267197314
Saussure, F. de (1960). Course in General Linguistics. ค้นเมื่อ [12 มีนาคม 2566]. จาก แหล่งสารสนเทศ.
https://www.artbangkok.com › Article-Visual Art
Top New. (2565). 4 จังหวัด ค่าครองชีพสูงสุดในประเทศไทย เงินเดือนไม่ถึง 35,000 อยู่ยากบอกเลย. ค้นเมื่อ
กันยายน 2565]. จาก แหล่งสารสนเทศ. https://www.youtube.com/watch?v=YNoOFxOKcrU