การพัฒนาอัตลักษณ์และออกแบบนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์จากจักสานผักตบชวา เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนและส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
การพัฒนาอัตลักษณ์และออกแบบนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์จากจักสานผักตบชวาเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนและส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น มีวัตถุประสงค์ คือ 1)เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์จากจักสานผักตบชวา 2)เพื่อออกแบบนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ผักตบชวา 3)เพื่อสร้างแนวทางการออกแบบนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ผักตบชวา วิธีการวิจัยโดยการสัมภาษณ์เพื่อหาแนวทางการออกแบบโดยรวบรวมเก็บข้อมูลอัตลักษณ์จากจักสานผักตบชวาจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านคลองนกกระทุง จำนวน 5 ท่าน และประเมินความพึงพอใจในการออกแบบผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์จากจักสานผักตบชวา สรุปผการประเมินรูปแบบวัตกรรมผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์จากจักสานผักตบชวา ผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 50 คน รูปแบบที่มีความเหมาะสมสำหรับการพัฒนาเป็นต้นแบบวัตกรรมผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์จากจักสานผักตบชวา คือ รูปแบบที่ 1 มีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.71) ลำดับที่ 2 คือ รูปแบบที่ 2 มีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.59) ลำดับที่ 3 คือ รูปแบบที่ 3 มีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.26) ภาพรวม ทั้ง 3 รูปแบบ มีระดับความหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.52)
แนวคิดการสร้างสรรค์ผลงานรับแรงบันดาลใจในการออกแบบรูปทรงมาจากรูปทรงธรรมชาติ โดยใช้เทคนิคการจักสาน ลวดลายโมเดิร์นลอฟท์มีความสอดคล้องรับกับรูปทรงผลิตภัณฑ์แสดงถึงการค้นพบลวดลายที่มีเทคนิคปรับการสานให้เป็นไปตามรูปทรงผลิตภัณฑ์จึงเกิดการแข็งแรง ทนทาน ซึ่งสะท้อนถึงฝีมือช่างสานของ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนจักสานผักตบชวา บ้านคลองนกกระทุง ลวดลายที่เกิดขึ้นจึงเป็นลาดลายที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะกลุ่ม ลักษณะการออกแบบเป็นผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์เน้นในด้านความงามของรูปทรงเป็นหลักและมีประโยชน์ใช้สอย จึงสามารถเป็นผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ที่ตกแต่งบ้านและเป็นเก้าอี้นั่งพักผ่อนที่มีความแปลกใหม่ โดดเด่น สามารถสร้างแนวทางในการต่อยอดผลิตภัณฑ์ใหม่ๆได้ จึงเกิดกระบวนการคิด แก้ไขปัญหา การสร้างสรรค์สร้างเกิดคุณค่าความงามของรูปทรงและองค์ความรู้ใหม่
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศิลป์ปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศิลป์ปริทัศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศิลป์ปริทัศน์
References
โกวิทย์ พวงงาม. (2553). การจัดการตนเองของชุมชนและท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์บพิธการพิมพ์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2538). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ยุวดี พรธาราพงศ์. (2564). การออกแบบแม่แบบเครื่องจักสานผักตบชวาจากน้ำยางพาราเพื่อลดต้นทุนในการผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานผักตบชวา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
ยุวดี พรธาราพงศ์. (2565). การจัดการความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นหัตถกรรมจักสานผักตบชวาเพื่อการออกแบบสร้างอัต
ลักษณ์ผลิตภัณฑ์ชุมชนและส่งเสริมรายได้เชิงพานิชย์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
วัฒนา บันเทิงสุข. (2546). การวิจัยเชิงปฏิบัติการณ์แบบมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น
ด้านการใช้สมนุไพรในชุมชนบ้านซากตับเต่า จังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์ กศ.ด.(การบริหารการศึกษา) กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยบูรพา.
วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. (2546). ศิลปะชาวบ้าน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ อัมรินทร์.