สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ : ผู้ทรงนำการแต่งกายของไทยสู่แฟชั่นระดับโลก

Main Article Content

จารุพรรณ ทรัพย์ปรุง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฉลองพระองค์ชุดไทยของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่เก้า ผู้ทรงนำการแต่งกายของไทยสู่แฟชั่นระดับโลก ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่าเมื่อคราเตรียมการเสด็จเยือนสหรัฐ และ 14 ประเทศในยุโรป ทรงโปรดเกล้าให้ผู้เชี่ยวชาญ และดีไซเนอร์ไทย ศึกษาข้อมูลพื้นฐานจากประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และประเพณีไทย ฉลองพระองค์ 8 องค์ต้นแบบ ได้กลายเป็นเครื่องแต่งกายประจำชาติไทยในเวลาต่อมา เรียก “ชุดไทยพระราชนิยม” และจากพระอัจฉริยภาพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงโปรดเกล้าให้ ปิแอร์ บัลแมง นักออกแบบชาวฝรั่งเศส นำผ้าไหมไทยมาตัดเย็บเป็นฉลองพระองค์ชุดไทยพระราชนิยม และแบบสากลที่ทันยุคทันสมัยตามกระแสแฟชั่นนิยม เพื่อเผยแพร่ผ้าไหมไทย ภูมิปัญญาไทย อันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ ทำให้ขจรขจายเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก นับว่าสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงนำการแต่งกายของไทยสู่แฟชั่นระดับโลกอย่างแท้จริง

Article Details

บท
การออกแบบ

References

กัลยาณิวัฒนา สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้า. (2524). พระราชธิดาในรัชกาลที่5. กรุงเทพฯ: การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย.

กรมศิลปากร. (2525). สมุดภาพ วิวัฒนาการการแต่งกายสมัยกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

คณะกรรมการสวัสดิการ สำนักนายกรัฐมนตรี และคณะกรรมการอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทย. (2546). เทิดพระเกียรติ 150 ปี สมเด็จพระปิยมหาราช. กรุงเทพฯ: อักษรไทย.

คณะทำงานพิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ. (2555). ราชศิลป์พัสตราภรณ์. กรุงเทพฯ: พิพิธภัณฑ์ผ้า.

คณะทำงานพิพิธภัณฑ์ผ้า. (2560). “FIT FOR A QUEEN”. วารสารพิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ, 1(2560), 16-43.

จารุพรรณ ทรัพย์ปรุง. (2550). รายงานการวิจัยเรื่องอิทธิพลของเครื่องแต่งกายตะวันตกที่มีต่อการแต่งกายของเจ้านายฝ่ายในวังสวนสุนันทา. กรุงเทพฯ: คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

_________. (2559). วัฒนธรรมการแต่งกายของคนไทยที่ได้รับอิทธิพลจากอารยประเทศ. วิทยานิพนธ์ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาศิลปะและการออกแบบ คณะสถาปัตยกรรฒสาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ประมวลภาพเสด็จเยือน 17 ประเทศ. (2547). กรุงเทพฯ: ราชพัสตราภรณ์.