โครงการการออกแบบสื่อเพื่อประชาสัมพันธ์ และถ่ายทอดเรื่องราววัฒนธรรมของผ้าไหม ในจังหวัดจังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

เตชิต เฉยพ่วง

บทคัดย่อ

โครงการนี้เป็นโครงการการออกแบบสื่อเพื่อประชาสัมพันธ์และถ่ายทอดเรื่องราวผ้าไหมในวัฒนธรรมร่วมกรณีศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งเริ่มต้นจากการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับวัฒนธรรมผ้าไหมในจังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งผู้วิจัยได้ทำการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการทอผ้าไหม ลวดลายทอผ้าไหม แหล่งท่องเที่ยวและวัฒนธรรมที่สำคัญของจังหวัดบุรีรัมย์ รวมถึงผลิตภัณฑ์จากผ้าทอมือ โดยเป็นกรณีศึกษาที่กลุ่มทอผ้าบ้านแดงใหญ่ และกลุ่มทอผ้าบ้านคูณซึ่งผู้วิจัยได้ลงพื้นที่สำรวจและทำให้พบเอกลักษณ์สำคัญทั้งในด้านลวดลาย และเทคนิคการทอผ้าไหมมัดหมี่ที่มีความเฉพาะ จากนั้นจึงนำข้อมูลที่ได้มา มาวิเคราะห์ให้ได้มาซึ่งองค์ประกอบทางการออกแบบแผ่นพับ ซึ่งเป็นสื่อประชาสัมพันธ์ที่มีความเหมาะสมต่อการเป็นสื่อช่วยในการตัดสินใจซื้อของกลุ่มเป้าหมาย จัดทำออกมาทั้งหมด 4 ฉบับ แต่ละแผ่นพับเป็นหัวข้อต่างๆ กันที่เชื่อมโยงเรื่องราวของผ้าไหมในจังหวัดบุรีรัมย์ ตั้งแต่กระบวนการผลิตจนถึงกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความเชื่อมโยงในด้านวัฒนธรรมประเพณีของจังหวัด

Article Details

บท
การออกแบบ

References

Brandanything. (2554). Y&Rchetypes (Archetype)-13ตัวตนของแบรนด์. [ออนไลน์]. ได้จาก: http://www.brandanything.biz/wordpress/?p=1502 [สืบค้นเมื่อ วันที่ 6 กันยายน 2563]

BrandAnything!. (2552). กลยุทธ์ในการสร้างและบริหารแบรนด์ให้ประสบความสำเร็จ. ได้จาก: http://www.brandanything.biz/wordpress/?p=643 [สืบค้นเมื่อ วันที่ 6 กันยายน 2563]

ไกรฤกษ์ ปิ่นแก้ว. (2554). เศรษฐกิจสร้างสรรค์ทุนวัฒนฏรรมและโอกาสทางธุรกิจ. วารสารนักบริหาร, 31, 32-37.

โครงการพัฒนาผ้าพื้นเมืองในทุกจังหวัดของประเทศ. (2543). ผ้าทอพื้นเมืองในภาคอีสาน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

โครงการพัฒนาผ้าและผลิตภัณฑ์ผ้าพื้นเมืองทั่วประเทศ เพื่อส่งเสริมการผลิตและการส่งออก. (2543). ลวดลายและสีสันบนผ้าทอพื้นเมือง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์. (2557). ทุนสังคมและทุนวัฒนธรรมในระบบเศรษฐกิจและการจัดการยุคใหม่. รวมบทความจากการประชุมวิชาการ กรุงเทพ ประจำปี 2557.

ทฤษฎีบุคลิกภาพของคาร์ จี จุง. ได้จาก: http://lotus062.wordpress.com/2010/08/15/ทฤษฎีบุคลิกภาพของคาร์-จ/ [สืบค้นเมื่อ วันที่ 15 กันยายน 2563]

เทียนชัย ตั้งพรประเสริฐ. (2558). องค์ประกอบศิลป์ 1. กรุงเทพฯ.

ธีรยุทธ์ มูลละออง. (2544). โครงการศึกษาและพัฒนาเครื่องแต่งกายไทยทรงดำสู่ธุรกิจชุมชน กรณีศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรี. กรุงเทพฯ:

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ไพบูลย์ อมรประภา. (2553). ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับที่มาของศิลปะไทย. ได้จาก:

https://phaiboon01.wordpress.com/2010/04/26/%e0%b8%84%e0%b8%a7%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b8%a3%e0%b8%b9%e0%b9%89%e0%b8%84%e0%b8%a7%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b9%80%e0%b8%82%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b9%83%e0%b8%88%e0%b9%80%e0%b8%81%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b8%a2/ [สืบค้นเมื่อ วันที่ 6 กันยายน 2563]

สำนักอนุรักษ์และตรวจสอบมาตรฐานหม่อนไหม กรมหม่อนไหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. ผ้าโฮล. ได้จาก:

https://www.qsds.go.th [สืบค้นเมื่อ วันที่ 15 กันยายน 2563]

แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมจังหวัดบุรีรัมย์. วัดเกาะแก้วธุดงสถาน(วัดระหาน). ได้จาก: http://www.abcr.bru.ac.th/?fls=dmlld3MvdG91cmlzbS9kZXRhaWw=&id=12 [สืบค้นเมื่อ วันที่ 15 กันยายน 2563]

แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมจังหวัดบุรีรัมย์. ศาลหลักเมืองจังหวัดบุรีรัมย์. ได้จาก: http://www.abcr.bru.ac.th/?fls=dmlld3MvdG91cmlzbS9kZXRhaWw=&id=13 [สืบค้นเมื่อ วันที่ 15 กันยายน 2563]