ศิลปะบาติกและมัดย้อมผ้ารีไซเคิล จากสีธรรมชาติเปลือกแสมทะเล ความงามแห่งความยั่งยืน: กรณีศึกษา ชุมชนบ้านทอนลิบง เกาะลันตา จังหวัดกระบี่

Main Article Content

สิรัชชา สำลีทอง
เตือนตา พรมุตตาวงค์
ณัฐพล พิชัยรัตน์
ธนพรรณ บุณยรัตกลิน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาและพัฒนาการย้อมผ้าด้วยสีย้อมธรรมชาติ  จากเปลือกต้นแสมทะเลโดยใช้ผ้ารีไซเคิล  เพื่อทดลองสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ผ้าบาติกและผ้ามัดย้อมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การวิจัยดำเนินการในชุมชนบ้านทอนลิบง เกาะลันตา จังหวัดกระบี่ โดยใช้แนวคิดความยั่งยืนและการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเสริมสร้างเศรษฐกิจชุมชน  วิธีดำเนินการวิจัยใช้วิธีการเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยเริ่มจากการรวบรวมข้อมูลจากเอกสารต่างๆ  การสังเกต  สอบถาม และการสัมภาษณ์ ผู้ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่  ในด้านการใช้ผลิตภัณฑ์จากผ้ารีไซเคิลและย้อมสีธรรมชาติ จำนวน 50 คน  เพื่อวิเคราะห์ผลความเป็นได้ด้าน  ประเภทผลิตภัณฑ์  ความนิยมผลิตภัณฑ์จากวัสดุรีไซเคิล  ชุมชนรวบรวมวัสดุผ้ารีไซเคิลจากเศษผ้าม่านและผ้าจากโรงแรมในพื้นที่  นำไปแปรรูปเป็นเส้นด้ายและทอเป็นผืนผ้า


ผลการวิจัยพบว่า  จากการได้ทดลองย้อมผ้ารีไซเคิลด้วยสีสกัดจากเปลือกแสมทะเล ในกระบวนการแบบดั้งเดิมที่ลดการใช้สารเคมี  ได้สีน้ำตาลอมส้มและน้ำตาลอมแดง ผ่านเทคนิคมัดย้อมและบาติก ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความสนใจของผู้บริโภคและขายได้อย่างต่อเนื่อง  ได้แก่  เสื้อยืด  กางเกงเลย์  กระเป๋าผ้า  ผ้าคลุมไหล่  ตามลำดับ   และคิดเป็น 75% สนใจผลิตภัณฑ์ที่ทำจากวัสดุรีไซเคิล   58 %  ยินดีจ่ายราคาสูงขึ้นหากผลิตภัณฑ์มีส่วนช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม   โดยนักท่องเที่ยวและผู้ประกอบการส่วนใหญ่ให้ความสนใจ  ผลิตภัณฑ์ที่ใช้วัสดุรีไซเคิลและมีความยั่งยืน   การศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของชุมชนในการนำทรัพยากรที่มีอยู่มาสร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก สามารถนำไปปรับใช้ในชุมชนอื่นที่มีทรัพยากรธรรมชาติเพื่อสร้างความยั่งยืนในระยะยาว

Article Details

บท
การออกแบบ

References

คงคากุล, โศภิษฐ์. (2022). การออกแบบผลิตภัณฑ์แฟชั่นไลฟ์สไตล์จากกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่ดอยตุงโดยใช้ทฤษฎีความยั่งยืน

เพื่อการส่งออกประเทศญี่ปุ่น. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม,10(1), 10-20.

ธีรกานต์ โพธิ์แก้ว. (2019). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อมจากสีธรรมชาติของบ้านหินลูกเดียว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต.การ

ประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ครั้งที่ 1 ประจำปี 2562.

ประภัตร ไทยประดิษฐ์, เสรีย์ ตู้ประกาย, มงคล รัชชะ, & โกวิท สุวรรณหงษ์. (2023). การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของ

ผลิตภัณฑ์กรณีศึกษา: กระบวนการผลิตเก้าอี้ไม้. วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ, 8(3), 178-186.

สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์.(2566).ปรับประเทศไทยไปสู่เศรษฐกิจ-สังคมคาร์บอนต่ำ.สืบค้นเมื่อ 2 กันยายน 2567,จาก

https://tdri.or.th/2023/10/transforming-thailand-low-carbon-economy-Society.

เสวี่ย หยาง, & สินีนาถ เลิศไพรวัน. (2024). กลยุทธ์การจัดการเศรษฐกิจหมุนเวียนของขยะสิ่งทออย่างยั่งยืน: กรณีศึกษา

แบรนด์แฟชั่นในเมืองกานโจว มณฑลเจียงซี สาธารณรัฐประชาชนจีน. วารสารศาสตร์ ศรีปทุม ชลบุรี, 10(2), 144-160.

ศิวรี อรัญนารถ. (2024). การพัฒนาสิ่งทอย้อมสีธรรมชาติจากกากเมล็ดโกโก้กับแนวคิดแฟชั่นยั่งยืน. วารสารศิลปกรรมศาสตร์

วิชาการวิจัยและงานสร้างสรรค์, 11(1),1-10.

Jain, R., & Bhat, S. (2021). Sustainable natural dyeing practices in the textile industry. Journal of

Environmental Research, 45(2), 65-78.

Oyenuga, A., & Ehigie, P. (2022). The impact of mangrove tree bark on eco-friendly fabric dyeing processes.

International Journal of Textile Science, 39(4), 153-162.

Srisopa, S., et al. (2020). Recycled textiles in sustainable fashion: A case study from Thailand. Fashion Studies

Journal, 17(1), 40-55.