ภาพตัวแทนของหญิงรักหญิงในละครคลับฟรายเดย์ เดอะ ซีรีส์
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประกอบสร้างภาพตัวแทนของหญิงรักหญิงในละครคลับฟรายเดย์ เดอะ ซีรีส์ โดยงานวิจัยชิ้นนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์ตัวบท (Textual Analysis) จากละครที่มีตัวละครหลักในเรื่องเป็นกลุ่มหญิงรักหญิง ทั้งหมด 4 เรื่อง ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาพตัวแทนของหญิงรักหญิงที่ปรากฏในละครถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1) ภาพตัวแทนที่สะท้อนให้เห็นถึงสภาพความเป็นจริงทางสังคม ทำให้หญิงรักหญิงถูกทำให้มีลักษณะ 2 แบบ ได้แก่ ผู้ถูกกระทำ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงที่มีลักษณะของผู้ชาย คือมีภาวะการเป็นผู้นำและคอยปกป้องดูแลผู้หญิงอีกฝ่าย โดยผู้หญิงที่เป็นผู้ถูกกระทำจะถูกหลอกและทำให้ต้องจำยอมต่อบรรทัดฐานของสังคม ได้แก่ การกลับไปคบกับผู้ชาย และการกลับไปทำหน้าที่แม่ และส่วนผู้ที่กระทำผู้อื่น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงที่มีลักษณะปกติทั่วไป แต่เป็นผู้หญิงที่ผิดหวังด้านความรักจากผู้ชายมาก่อน ผู้หญิงเหล่านี้จะกลับเข้าสู่ความรักที่เป็นไปตามมาตราฐานของสังคมด้วยกันกลับไปคบกับผู้ชาย และทำให้ตัวละครที่ถูกกระทำกลายเป็นตัวละครที่ต้องได้รับความผิดหวัง 2) ภาพตัวแทนที่สะท้อนจากกระบวนการสร้างทางความคิดของผู้ผลิต ซึ่งผู้กำกับที่เป็นเพศชายนำเสนอภาพตัวแทนของหญิงรักหญิงที่จะต้องเป็นฝ่ายที่ผิดหวัง ส่วนผู้กำกับที่เป็นเพศหญิงนำเสนอภาพตัวแทนของหญิงรักหญิงที่สามารถเลือกเองได้ ทำให้ภาพตัวแทนของหญิงรักหญิงมีความแตกต่างกันตามเพศของผู้กำกับด้วย 2. การเล่าเรื่องที่มีโครงเรื่อง 2 แนวทาง ได้แก่ 1) โครงเรื่องของการหลอกลวง 2) โครงเรื่องของการใช้ชนชั้นและสถานภาพทางสังคม มาสร้างความขัดแย้งโดยใช้เงื่อนไข 3 แบบ ได้แก่ 1) เงื่อนไขด้านค่านิยมทางสังคม 2) เงื่อนไขสรีระร่างกาย 3) เงื่อนไขศีลธรรม เพื่อเป็นการกำหนดมาตรฐานของสังคมเอาไว้ ซึ่งเมื่อหญิงรักหญิงขัดต่อกรอบดังกล่าวก็จะกลายเป็นผู้ที่เบี่ยงเบนออกจากมาตราฐานหลักของสังคม
Article Details
References
กาญจนา แก้วเทพ. (2535). ภาพลักษณ์ของผู้หญิงในสื่อมวลชน. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิจัย จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
กาญจนา แก้วเทพ. (2542). การวิเคราะห์สื่อ : แนวคิดและเทคนิค. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: เอดิสัน เพรส โพรดักส์.
กาญจนา แก้วเทพ. (2557). ศาสตร์แห่งสื่อและวัฒนธรรมศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
กาญจนา แก้วเทพ และสมสุข หินวิมาน. (2560). สายธารนักคิดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองกับสื่อสารศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. มหาสารคาม: อินทนิล.
ฉลาดชาย รมิตานนท์. (2555). เล่าเรื่องเบื้องต้น สตรีศึกษา สตรีนิยม. เชียงใหม่: วนิดาการพิมพ์.
วารุณี ภูริสินสิทธิ์. (2545). สตรีนิยม : ขบวนการและแนวความคิดทางสังคมแห่งศตวรรษที่ 20. กรุงเทพฯ: คบไฟ.
ชโลทร โพยมยล. (2552). ความรักและกระบวนการสร้างความหมายความรักในตระกูลภาพยนตร์ไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ฐิติวัฒน์ สมิตินันทน์. (2553). การสร้างตัวละครเพศที่สามในภาพยนตร์ไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศ ศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ตรีเดช ไชยหา. (2552). การนำเสนอภาพตัวแทน พม่า ในภาพยนตร์ไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พิมพ์ชญา ฟักเปี่ยม. (2552). กระบวนการสร้างความหมายและความเป็นจริงทางสังคม ในตรรกะการบริโภคในเพลงไทยลูกทุ่งยอดนิยม. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภัทรศศิร์ ช้างเจิม. (2560). ภาพตัวแทนผู้หญิงในการ์ตูนดิสนีย์ ปริ้นเซส. วารสารวิชาการระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 9(2), 231-243.
สัณฐิตา นุชพิทักษ์. (2552). ความร้ายกาจของตัวละครในละครโทรทัศน์ไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วรางคณา สุขม่วง. (2560). ภาพสะท้อนคนรักเพศเดียวกันในสังคมผ่านภาพยนตร์ไทย. การค้นคว้าอิสระนิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
วิรยาพร กมลธรรม. (2560). ความรุนแรงที่ปรากฏในสื่อ กรณีศึกษาละครโทรทัศน์เรื่อง ล่า 2017. การค้นคว้าอิสระนิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
วิราภรณ์ ดวงอยู่สาร. (2559). ภาพตัวแทนหญิงรักหญิงในสื่อบันเทิงไทย กรณีศึกษาผลงานของผู้ผลิตที่เป็นหญิงรักหญิง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อวิรุทธ์ ศิริโสภณา. (2560). การประกอบสร้างความหมายของผู้หญิงที่ถ่ายทอดผ่านตัวละครหญิงในละครโทรทัศน์ไทยยอดนิยมที่ถูกผลิตซ้ำ ระหว่างปี พ.ศ. 2530 – 2560. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไชยศิริ บุญยกุลศรีรุ่ง. (2553). เพศสภาพและเพศวิถีชายรักชายในภาพยนตร์ไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จอห์นนพดล วศินสุนทร. (2558). สรุปแนวคิดสัญวิทยาและการสร้างความหมาย. สืบค้น 10 พฤศจิกายน 2562, จาก http://johnnopadon.blogspot.com/2014/02/semiology-and-signification.html.
นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ (2558). เควียร์กับการวิพากษ์มานุษยวิทยากระแสหลัก. สืบค้น 10 พฤศจิกายน 2562, จากhttps://www.sac.or.th/databases/anthropology-concepts/articles/index.
เอกธิดา เสริมทอง. (2553). เจตคติของผู้ชมสตรีต่อการนำเสนอภาพลักษณ์สตรีในรายการข่าวและรายการละครทางโทรทัศน์. วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(1), 27.