เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด

  • The submission has not been previously published, nor is it before another journal for consideration (or an explanation has been provided in Comments to the Editor).
  • The submission file is in OpenOffice, Microsoft Word, or RTF document file format.
  • Where available, URLs for the references have been provided.
  • The text is single-spaced; uses a 12-point font; employs italics, rather than underlining (except with URL addresses); and all illustrations, figures, and tables are placed within the text at the appropriate points, rather than at the end.
  • The text adheres to the stylistic and bibliographic requirements outlined in the Author Guidelines.

หลักเกณฑ์และการเตรียมต้นฉบับสำหรับการเสนอบทความเพื่อเผยแพร่

ใน “CRRU Journal of Communication

 

นโยบายการจัดพิมพ์

CRRU Journal of Communication เป็นวารสารวิชาการที่พิมพ์ออกเผยแพร่ปีละ 2 เล่ม (มกราคม-มิถุนายน และ กรกฎาคม-ธันวาคม) คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อเป็นสื่อกลางในการแสดงความคิดเห็นและเผยแพร่ผลงานทางวิชาการในสาขาการสื่อสาร การสื่อสารมวลชน นิเทศศาสตร์ หรือสาขาอื่นๆ ที่มีความเกี่ยวข้อง

 

เรื่องเสนอเพื่อตีพิมพ์

          ผลงานทางวิชาการที่รับตีพิมพ์มี 2 ลักษณะคือ เป็นบทความวิชาการ (Article) หรือบทความวิจัย (Research Article) บทความที่เสนอเพื่อตีพิมพ์จะต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน และไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น บทความที่นำเสนอเพื่อตีพิมพ์จะต้องผ่านการกลั่นกรองและพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) ซึ่งมาจากหลากหลากหลายหน่วยงานและมีความเชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อของบทความนั้นๆ จำนวน 3 ท่าน โดยผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แต่งไม่ทราบชื่อกันและกัน (Double-blind review) 

 

ลักษณะของบทความ

เป็นบทความวิชาการหรือบทความวิจัยที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการค้นคว้า การวิจัย การวิเคราะห์วิจารณ์หรือเสนอแนวคิดใหม่ด้านการสื่อสาร การสื่อสารมวลชน นิเทศศาสตร์ ซึ่งแบ่งได้ 2 ประเภทคือ

บทความวิชาการ หมายถึง งานเขียนที่นำเสนอองค์ความรู้ใหม่ในสาขาการสื่อสาร การสื่อสารมวลชน นิเทศศาสตร์ที่มีการวิเคราะห์หรือวิจารณ์ประเด็นต่างๆ ตามหลักวิชาการ โดยผู้เขียนสามารถแสดงทัศนะทางวิชาการของตนเองอย่างชัดเจน

          บทความวิจัย หมายถึง รายงานผลการศึกษาค้นคว้าวิจัยด้านการสื่อสาร การสื่อสารมวลชน นิเทศศาสตร์ ที่ได้ทำการศึกษาโดยผ่านกระบวนการวิเคราะห์ด้วยระเบียบวิธีวิจัยที่ถูกต้องจนได้องค์ความรู้ใหม่

 

 

การเตรียมต้นฉบับ

          บทความวิชาการหรือบทความวิจัย อาจนำเสนอเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ ให้พิมพ์ต้นฉบับด้วยกระดาษ เอ 4 หน้าเดียว โดยใช้ฟอนท์ Angsana New ขนาด 14 (สำหรับชื่อเรื่องภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ให้ใช้ฟอนท์ Angsana New ขนาด 18 ส่วนหัวข้อต่างๆ ให้ใช้ Angsana New ขนาด 16) ความยาวประมาณ 15-20 หน้า โดยบทความทุกประเภทต้องมีส่วนประกอบ ดังนี้

  1. 1. ชื่อเรื่อง
  2. 2. ชื่อผู้เขียน (ครบทุกคน กรณีที่เขียนหลายคน ให้เขียนบรรทัดถัดจากชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ โดยให้เขียนไว้ชิดด้านขวาของหน้า ให้ทำตัวเอียง ตัวอักษร ขนาด 14)
  3. 3. วุฒิการศึกษาขั้นสูงสุด สาขาวิชาและสถาบันที่สำเร็จการศึกษา และตำแหน่งทางวิชาการ (ถ้ามี)
  4. 4. สถานที่ทำงานปัจจุบันหรือหน่วยงานที่สังกัด (เช่น สาขาวิชา/ภาควิชา คณะ)

          (ข้อ 3 และข้อ 4 ให้ผู้เขียนทำเชิงอรรถไว้ท้ายชื่อผู้เขียนในหน้าแรกของบทความ)

  1. 5. บทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยในท้ายบทคัดย่อภาษาไทยให้ใส่ คำสำคัญ ของเรื่อง และท้ายบทคัดย่อภาษาอังกฤษให้ใส่ Keywords ด้วย

          **ทั้ง 5 ข้อที่กล่าวข้างต้น หากเป็นบทความภาษาไทย ผู้เขียนต้องเขียนข้อมูลทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ แต่หากเป็นบทความภาษาอังกฤษ ผู้เขียนไม่ต้องระบุข้อมูลภาษาไทย

 

          บทความวิชาการหรือบทความวิจัยต้องมีส่วนประกอบเพิ่มเติม คือ ต้องมีบทคัดย่อ (abstract) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยบทคัดย่อแต่ละภาษาต้องมีความยาวอย่างละไม่เกินครึ่งหน้ากระดาษ เอ 4

โครงสร้างของบทความวิชาการควรประกอบด้วย

- บทนำ

- เนื้อหาบทความ

- บทสรุป

- รายการเอกสารอ้างอิง

โครงสร้างของบทความวิจัยควรประกอบด้วย

- บทนำ

- วัตถุประสงค์ของการวิจัย

- สมมุติฐานการวิจัย (ถ้ามี)

- นิยามศัพท์ (ถ้ามี)

- แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

- วิธีการศึกษา

- ผลการศึกษา

- อภิปรายผล

- ข้อเสนอแนะ

- รายการอ้างอิง

          ภาพประกอบและตารางควรมีเฉพาะที่จำเป็น ให้มีหมายเลขกำกับภาพและตารางตามลำดับ ภาพจะต้องชัดเจน แสดงเนื้อหาสำคัญของเรื่อง คำอธิบายและตารางให้อธิบายด้วยข้อความกะทัดรัดและชัดเจน

          การใช้ภาษาในบทความ การเขียนควรใช้ภาษาที่ถูกต้อง เข้าใจง่ายและกะทัดรัด โดยคำศัพท์ให้อ้างอิงตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน การใช้คำศัพท์บัญญัติทางวิชาการควรใช้ควบคู่กับศัพท์ภาษาอังกฤษ กรณีที่เป็นชื่อเฉพาะหรือคำแปลจากภาษาต่างประเทศที่ปรากฏครั้งแรกในบทความ ควรพิมพ์ภาษาเดิมของชื่อนั้นๆ กำกับไว้ในวงเล็บ และควรรักษาความสม่ำเสมอในการใช้คำศัพท์ การใช้ตัวย่อโดยตลอดบทความ

 

การอ้างอิงและการเขียนเอกสารอ้างอิง

การอ้างอิงเอกสารให้เขียนตามแบบ  APA (American Psychological Association)

 

หลักเกณฑ์การอ้างอิงในเนื้อหาบทความ (In-text Citation)

 

การอ้างอิงแทรกในเนื้อหา ใช้ระบบนาม-ปี โดยมีรูปแบบ ดังนี้

กรณี ผู้แต่งเป็นคนไทย    ชื่อ/สกุล/(ปี) หรือ (ชื่อ/สกุล,/ปี)

       ผู้แต่งต่างชาติ       สกุล/(ปี) หรือ (สกุล,/ปี)

 

เช่น คมสัน รัตนะสิมากูล (2567)

      Khotler (2000)

         

กรณีที่มีผู้เขียนตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป ให้ใส่เฉพาะสกุลของผู้แต่งคนแรก แล้วตามด้วย และคณะ หรือ et al.

 

หลักเกณฑ์การอ้างอิงท้ายบทความ

ในการลงรายชื่อผู้แต่งคำนำหน้าชื่อตามปกติให้ตัดออก ได้แก่ นาย นาง นางสาว ตำแหน่งทางวิชาการ บรรดาศักดิ์ยศทางตำรวจ ยศทางทหาร และตำแหน่งนักบวช ยกเว้นผู้แต่งที่มีฐานันดรศักดิ์นำหน้าชื่อให้คงไว้ตามปกติ โดยไม่ตัดทิ้งหรือย้ายที่

ผู้แต่ง 1 คน

ผู้แต่งเป็นคนไทย : ให้ลง ชื่อนามสกุล./(ปีที่พิมพ์).  เช่น คมสัน รัตนะสิมากูล. (2567).  

ผู้แต่งเป็นชาวต่างประเทศ: ให้ลง นามสกุล และใช้เครื่องหมาย Comma (,) ขั้น ตามด้วยอักษรย่อของชื่อต้นและชื่อกลางและใช้เครื่องหมาย Full stop (.) ตามหลังอักษรย่อทั้ง 2 ตัว เช่น Smith, R. J. (2010).

         

ผู้แต่งไม่เกิน 6 คน

ให้ลงชื่อผู้แต่งทุกคน และใช้คำว่า "และ" ก่อนชื่อผู้แต่งคนสุดท้าย เช่น กาญจนา แก้วเทพ กิตติ กันภัย และ ปาริชาต สถาปิตานนท์ หากผู้แต่งเป็นชาวต่างประเทศให้คั่นระหว่างสกุลด้วย Comma (,) และใช้  “and" ก่อนชื่อผู้แต่งคนสุดท้าย เช่น Maliheh, S., Shima, S., and Robab, S. (2015).

 

ผู้แต่ง 6 คนขึ้นไป

กรณีผู้แต่งเป็นคนไทย ให้พิมพ์ชื่อและสกุลของผู้แต่งคนแรก และตามด้วยคำว่า และคณะ หากผู้แต่งเป็นชาวต่างประเทศ ใช้คำว่า  "et al.

 

  1. อ้างอิงจากหนังสือ

รูปแบบ :

ผู้แต่ง./(ปีพิมพ์)./ชื่อเรื่อง/(พิมพ์ครั้งที่)./เมืองที่พิมพ์ : สำนักพิมพ์.

ตัวอย่าง : 

นพมาศ อุ้งพระ. (2553). จิตวิทยาสังคม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Kapferer, J. N. (2008). The New Strategic Brand Management. Creating and Sustaining Brand Equity Long Term. 4th ed. Massachusetts: The University of Massachusetts.

 

  1. อ้างอิงจากวารสาร

รูปแบบ :

ผู้แต่ง./(ปีพิมพ์)./ชื่อบทความ/ชื่อวารสาร,/ปีที่(ฉบับที่),/เลขหน้า-เลขหน้า.

ตัวอย่าง : 

          เมธาวี จำเนียร. (2564). อัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่การสร้างและสื่อสารแบรนด์ กรณีศึกษา การแสดง

รำโทนนกพิทิด.วารสารราชพฤกษ์, 19(2), 1-12.

Bonner, S.E. (1997). Accounting Audit category knowledge as a precondition to learning from experience. Organizations and Society, 22(5), 387-410.

  1. อ้างอิงจากวิทยานิพนธ์

รูปแบบ : ผู้แต่ง./(ปีพิมพ์)./ชื่อวิทยานิพนธ์./(ชื่อปริญญาเต็ม)./มหาวิทยาลัย,/เมืองที่ตั้ง.

ตัวอย่าง :

ดวงแก้ว เธียรสวัสดิ์กิจ. (2552). กระบวนการรู้ เท่าทันสื่อโฆษณาครีมปรับสีผิวขาวของผู้รับสารสตรี.(วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ. 

  1. 4. อ้างอิงจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ

รูปแบบ : ผู้แต่ง./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อเรื่อง./สืบค้นจาก/URL

ตัวอย่าง :

          นิตยสารออนไลน์. (2566). ฉลาดซื้อ. สืบค้นจาก https://chaladsue.com/article/4164

Haiwainet. (2018). Big data helps targeted poverty alleviation and Guizhou builds a model for poverty alleviation. Retrieved from https://news.haiwainet.cn/n/

 

  1. 5. อ้างอิงจากการสัมภาษณ์

รูปแบบ : ผู้ให้สัมภาษณ์./ตำแหน่ง(ถ้ามี)./สัมภาษณ์/วันที่/เดือน/ปี.

ตัวอย่าง :

          นิวัตน์ เกษมสมบูรณ์. ประธานวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงปลานิล. สัมภาษณ์ 25 สิงหาคม 2566.

 

การส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ใน CRRU Journal of Communication

ผู้สนใจส่งบทความ สามารถส่งผ่านระบบของ ThaiJO  

ได้ที่  https://so01.tci-thaijo.org/index.php/CRRUJC/about/submissions

 

จริยธรรมในการเผยแพร่บทความวิจัยและบทความทางวิชาการ

  1. เนื้อหาทั้งหมดของบทความที่ลงตีพิมพ์ใน CRRU Journal of Communication เจ้าของผลงานมีการคิด ค้นคว้า ทบทวนวิเคราะห์ สรุป เรียบเรียงและอ้างอิงข้อมูล โดยผู้เขียน กองบรรณาธิการไม่มีส่วนร่วมรับผิดชอบ
  2. บทความวิจัยและบทความทางวิชาการทุกเรื่องที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารฯนี้ เป็นบทความที่ได้รับการตรวจอ่านประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) ที่มีความเชี่ยวชาญจากหลากหลายหน่วยงานจากภายนอกและภายในสถาบันตามหลักเกณฑ์การตรวจประเมินอย่างน้อย 3 ท่าน
  3. บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารนี้ ต้องไม่เคยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่น หากตรวจพบว่า มีการตีพิมพ์ซ้ำซ้อน ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียวในการละเมิดลิขสิทธิ์ ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารฯ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของวารสารห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากทางกองบรรณาธิการ
  4. หากผู้อ่านพบเห็นบทความใดของวารสารที่มีการลอกเลียนแบบโดยปราศจากการแอบอ้างหรือมีการทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นผลงานของผู้เขียน ถือเป็นการโจรกรรมทางวิชาการ (Plagiarism) โปรดแจ้งกองบรรณาธิการ
  5. กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการรับพิจารณาบทความจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์และสัตว์ทดลอง เฉพาะงานวิจัยที่ผ่านการรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์และสัตว์ทดลองเท่านั้น โดยผู้ส่งต้องแนบหลักฐานการรับรองจากคณะกรรมการมาพร้อมบทความที่ส่งให้กับกองบรรณธิการ