ยุทธศาสตร์การสื่อสารผ่านสื่อสังคมเครือข่ายในการเตรียมพร้อมสู่สังคมผู้สูงอายุ
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ 1. เพื่อศึกษายุทธศาสตร์และแนวทางการสื่อสารสุขภาพผู้สูงอายุจากหน่วยงานภาครัฐผ่านสื่อสังคมเครือข่าย 2.เพื่อศึกษาการกำหนดประเด็นการสื่อสารสุขภาพผู้สูงอายุจากสื่อมวลชนสังคมเครือข่าย 3.เพื่อศึกษาการเปิด รับข่าวสารสุขภาพผ่านสื่อสังคมเครือข่ายของผู้สูงอายุ ผลการศึกษาภาครัฐ พบว่า รัฐกำหนดยุทธศาสตร์แผนพัฒนาผู้สูงอายุแห่งชาติโดยบูรณาการหน่วยงานสู่แนวทางหลัก 4 ด้าน คือ 1.ด้านการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสุขภาพผู้สูงอายุ 2. ด้านการออมและส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีโอกาสทำงาน 3.ด้านบริการขนส่งสาธารณะและจัดสภาพแวดล้อมสะดวกและปลอดภัยให้ผู้สูงอายุ 4.ด้านการให้ความรู้ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุรู้เท่า ทันสื่อและเทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยไม่ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพได้ ผลการศึกษาจากสื่อ พบว่า การทำหน้าที่ของสื่อมวลชนเพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถรู้เท่าทันสื่อควรเริ่มจากภาครัฐเป็นผู้กำหนดวาระข่าวสารหลักตามยุทธศาสตร์ชาติ โดยสื่อมวลชนจะนำข้อมูลสำคัญที่ภาครัฐต้องการสื่อสารถึงผู้สูงอายุเผยแพร่ผ่านสื่อสังคมเครือข่าย มุ่งเพิ่มจำนวนเนื้อหาข่าวที่เป็นข้อเท็จจริง ลดข่าวลวง ข่าวเท็จ (Fake News) ป้องกันการถูกหลอกลวงจากผู้ไม่ประสงค์ดี ผลการศึกษาจากผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุนิยมเปิดรับข่าวสารจากไลน์เป็นหลัก รองลงมาคือ เฟสบุ้ก โดยต้องการให้ภาครัฐมีแพลทฟอร์มหลักที่สามารถรวมศูนย์ในการสื่อสารกับผู้สูงอายุอยู่ในแห่งเดียวกันที่ครอบคลุมทุกเรื่อง ทั้งด้านสุขภาพ สภาพแวดล้อม รายได้และเทคโนโลยีใหม่ๆ และอยากให้ภาครัฐหรือสื่อมวลชนมีรายการสำหรับผู้สูงอายุโดยเฉพาะ
Article Details
References
กรมอนามัย สำนักส่งเสริมสุขภาพ. (2554). คู่มือการดูแลผู้สูงอายุ. พิมพ์ครั้งที่ 16. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
กาญจนา แก้วเทพ และขนิษฐา นิลผึ้ง. (2556). สื่อสารอาหารและสุขภาพ. กรุงเทพฯ:โครงการเมธีวิจัยอาวุโสฝ่ายวิชาการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
กิรณา สมวาทสรรค์. (2559). การศึกษาพฤติกรรมการสื่อสารกับการส่งต่อข้อมูลผ่านแอพพลิเคชั่นไลน์ของผู้สูงอายุ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตX, สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์.
กนิษฐา เทพสุด. (2561). พฤติกรรมการใช้โซเชียลมีเดียที่เกียวกับสุขภาพกับการรู้เท่าทันสื่อของผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวาน ในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
นวภัทร์ ธรรมชอบ. (2562). ความต้องการการเปิดรับและความพึงพอใจในการใช้สื่อของผู้สูงอายุยุคสังคม 4.0 ในเขต กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
น้ำทิพย์ วิภาวิน. (2558). เครือข่ายสังคมในสังคมเครือข่าย. วารสารวิจัยสมาคมห้องสมุด. 8(2), 191-127.
นิด้าโพล. (2556). ผู้สูงอายุไทยกับการใช้เวลาว่าง. สืบค้นจาก http://nidapoll.nida.ac.th/index.php?op=polls-detail&id=300. เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2562.
ปรเมธี วิมลศิริ. (2559). สถานะสุขภาพของคนไทย (รายงานวิจัย). สถาบันวิจัยคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
ปราโมทย์ ปราสาทกุล. (2556). สถานการณ์ผู้สูงอายุ แนวโน้ม และผลกระทบจากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. กรุงเทพฯ: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
ปิญาภรณ์ พงศ์ศาสตร์.(2560). พฤติกรรมและบทบาทสื่อสารของผู้สูงอายุในชุมชนหมู่บ้านอีสานตอนกลาง. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 12 พศ. 2560-2564. สืบค้นจาก https://www.anamai.moph.go.th/download/2560/. เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2562.
พนา ทองมีอาคม และเพ็ญพักตร์ เตียวสมบูรณ์กิจ. (2551). การสื่อสารสุขภาพ : ประโยชน์และความจำเป็นของการศึกษาด้านนิเทศศาสตร์และการบริหารด้านสุขภาพ. วารสารวิชาการคณะนิเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยรังสิต. 12(2), 9-18.
ภาณุ อดกลั้น. (2556). ทฤษฎีการสูงอายุ. อุดรธานี : วิทยาลัยพยาบาลราชชนนี.
วรเวศม์ สุวรรณระดา (2556).การศึกษาพฤติกรรมการสื่อสารกับการส่งต่อข้อมูลของผู้สูงอายุ.วารสารนิเทศศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 6(2), 14-25.
รัตนา จักกะพาก และระวี สัจจโสภณ. (2554). สื่อเพื่อผู้สูงอายุในประเทศไทย : สภาพการณ์ปัจจุบัน ความคาดหวัง แนวโน้มในอนาคตและการกำหนดยุทธศาสตร์เชิงรุก (รายงานวิจัย). คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศรีไพร โชติจิรวัฒนา, พรสุข ตันตระรุ่งโรจน์ และสิริพันธุ์ สุวรรณมรรคา. (2562). การประเมินความต้องการจำเป็นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อสนับสนุนการรู้สุขภาพในศูนย์การเรียนรู้ สำหรับผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารบรรณศาสตร์ มศว. 12 (2), 60-74.
สุชาดา พงศ์กิตติวิบูลย์. (2563). บทเรียนจากการประเมินโครงการเพื่อความคุ้มค่าและการพัฒนาศักยภาพโครงการด้านการ
เฝ้าระวังและรู้เท่าทันสื่อ. วารสารวิทยาการการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย. 15(1), 114-132.
อัมพร เบญจพลพิทักษ์ และคณะ. (2555). คู่มือความสุข 5 มิติสำหรับผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: บริษัท บียอนด์พับลิสซิ่ง จำกัด
Division of the Department of Economic and Social Affairs of the United Nations Secretariat (2015). Asean Poupulation. Retrieved from http://variety1.thaiza.com/. Date March 5, 2019.
The Standard. (2020). Thailand Population. Retriever from www.worldometers.info/world-population/thailand-population/. Date November 25, 2020.
Nattida Rattanawut. (2012). What is Social Media. Retriever from http://www.marketingoops.com/media-ads/social-media/what-is-social-media. November 22, 2020.
ลัดดา ดำริการเลิศ. สัมภาษณ์. 11 มีนาคม 2562.
สกานต์ บุนนาค. สัมภาษณ์. 21 มีนาคม 2562
พีรพล อนุตรโสติร์. สัมภาษณ์. 2 เมษายน 2562
บุญลือ สุวรรณ. สัมภาษณ์. 22 เมษายน 2562
สุจินดา นำแสงวาณิช. สัมภาษณ์. 24 เมษายน 2562