การสื่อสารสุขภาพของเพจเฟซบุ๊กโจนส์สลัด

Main Article Content

เบญจมาศ สมบัติธีระ
กรกนก นิลดำ
คมสัน รัตนะสิมากูล

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาเนื้อหาการสื่อสารสุขภาพออนไลน์บนเพจเฟซบุ๊กโจนส์สลัด 2) เพื่อศึกษารูปแบบการนำเสนอเนื้อหาบนเพจเฟซบุ๊กโจนส์สลัด และ 3) เพื่อศึกษาการแสดงความคิดเห็นของผู้ใช้เพจเฟซบุ๊กโจนส์สลัด เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ซึ่งได้แบ่งขั้นตอนการศึกษาออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1) ศึกษาจากเครื่องมือลงรหัสสำหรับการวิเคราะห์เนื้อหาที่เก็บข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา จากเพจเฟซบุ๊กโจนส์สลัด 2) ศึกษาข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างจากผู้บริหารและผู้ก่อตั้งเพจเฟซบุ๊กโจนส์สลัด และได้นำข้อมูลทั้ง 2 ส่วน มาศึกษาวิเคราะห์โดยรายงานผลในรูปแบบตารางและการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา จากการศึกษาพบว่า เนื้อหาการสื่อสารสุขภาพออนไลน์บนเพจเฟซบุ๊กโจนส์สลัด สามารถจำแนกออกเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับสุขภาพ ได้แก่ การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การออกกำลังกาย และเนื้อหาอื่นๆได้แก่ การโภชนาการและอาหาร ความบันเทิง บริบททางสังคม นโยบายและธุรกิจ และพบว่า เนื้อหาที่มีการนำเสนอมากที่สุด ได้แก่ การส่งเสริมสุขภาพ รองลงมาคือ การโภชนาการและอาหาร ขณะที่รูปแบบการนำเสนอเนื้อหาการสื่อสารสุขภาพออนไลน์ผ่านสื่อเฟซบุ๊กเพจโจนส์สลัด สามารถจำแนกออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่ 1) การ์ตูน 2) รูปภาพ 3) อินโฟกราฟิก 4) วีดิทัศน์ และ 5) ลิงค์ และพบว่าในบางโพสต์มีการใช้รูปแบบการนำเสนอเนื้อหาที่หลากหลาย รูปแบบที่ถูกนำมาใช้ในการนำเสนอเนื้อหาบนเพจมากที่สุด ได้แก่ การ์ตูน รองลงมาอินโฟกราฟิก การแสดงความคิดเห็นของผู้ใช้เพจเฟซบุ๊กโจนส์สลัด ที่แสดงความคิดเห็น พบว่าการแสดงความคิดเห็นของผู้ใช้เพจที่แสดงความคิดเห็นบนเพจเฟซบุ๊กโจนส์สลัด มีทั้งหมด 3 แนวทาง คือ ความสัมพันธ์ในแง่บวก (Positive) มีมากที่สุด รองลงมาคือ ความสัมพันธ์แบบเป็นกลาง (Neutral) และความสัมพันธ์ในแง่ลบ (Negative) จากผลการศึกษาสรุปได้ว่า การสื่อสารสุขภาพผ่านสื่อสังคมเพจเฟซบุ๊กโจนส์สลัด มีวิธีการเล่าเรื่องที่มีการเลือกใช้รูปแบบและประเภทของเนื้อหาให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการสื่อสาร ซึ่งมีส่วนในการช่วยเพิ่มความโดดเด่น ความน่าสนใจ และดึงดูดให้ผู้บริโภคเข้ามามีส่วนร่วมกับเนื้อหาในเพจเฟซบุ๊กโจนส์สลัด ได้มากยิ่งขึ้น ทำให้เล่าเรื่องสุขภาพที่เข้าใจยาก ให้กลายเป็นเรื่องสนุกจนสามารถเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมสุขภาพ จนบรรลุเป้าหมายสูงสุด คือ ให้แฟนเพจเฟซบุ๊กโจนส์สลัด และผู้อ่านได้อ่านเนื้อหาสุขภาพเข้าใจง่ายและเพื่อสุขภาพที่ดี

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

เบญจมาศ สมบัติธีระ, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

นศ.ม. (นิเทศศาสตร์) คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย (2563)

กรกนก นิลดำ

ปร.ด. (สื่อสารมวลชน) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2558) ปัจจุบันเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขานิเทศศาสตร์

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คมสัน รัตนะสิมากูล

นศ.ด. (นิเทศศาสตร์) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2549) ปัจจุบันเป็นรองศาสตราจารย์ สาขานิเทศศาสตร์

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

References

กมลรัฐ อินทรทัศน์. (2547). รูปแบบและกลยุทธ์การสื่อสารเพื่อการพัฒนาแบบมีส่วนร่วม ระหว่างชุมชนกับศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีฯ ศูนย์เรียนรู้ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง. กรุงเทพมหานคร : สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

กรกนก นิลดำ. (2560). หลักการสื่อสาร. เชียงราย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์. (2553). การเผยแพร่นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา. สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2562 ,จาก https://www.thairath.co.th/content/46534.

กลุ่มวิชาการ สำนักงานโครงการขับเคลื่อนกรมอนามัย 4.0 เพื่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชน (สขรส.)

จาก http://dohhl.anamai.moph.go.th/

กาญจนา แก้วเทพ และ เธียรชัย อิศรเดช. (2549). สื่อพื้นบ้าน ขานรับงานสุขภาพ. นนทบุรี : โครงการสื่อพื้นบ้านสื่อสารสุข.

จรวยพร ธรณินทร์. (2534). หนังสือชุดพัฒนาคุณภาพชีวิตออกกําลังกายและกีฬาเพื่อ. สุขภาพ. กรุงเทพฯ: ตะเกียง.

จาก http://pirun.ku.ac.th/~faasppp/document/mm_chapter6.ppt

จิตอารี ศรีอาคะ. (2543). การรับรูปอุปสรรคต่อการออกกำลังกายและพฤติกรรมการออกกําลังกายของพยาบาล.วิทยานพนธ์ .พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการพยาบาลสตรี, บัณฑิตวิทยาลยั, มหาวิทยาลยเชียงใหม่.

ฉัฐมณฑน์ ตั้งกิจถาวร. (2557). การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจในการเปิ ดรับข้อมูลที่ถูกแชร์ (Shared) ผ่านเฟสบุ๊ค. การค้นคว้าอิสระนิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการสื่อสาร เชิงกลยุทธ์, คณะนิเทศศาสตร์, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

เฉลิมรัฐ พีกุล. (2556). การศึกษาเพื่อการสร้างสรรค์ : การ์ตูนล้อ ภาพสะท้อนการเมืองไทยกรณีศึกษา : จากการ์ตูนล้อการเมือง (ช่วงปี พ.ศ. 2552 ถึง 2554). วิทยานิพนธ์ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพมหานคร.

ชวรัตน์ เชิดชัย. (2530). เอกสารการสอนชุดวิชาการข่าวและบรรณาธิการ หน่วยที่ 1-5 เทคนิคการเขียนข่าว. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชัชวาลย์ วงษ์ประเสริฐ. (2548). การจัดการสารสนเทศเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร : ธรรกมลการพิมพ์

ณฐภัทร ลิ้มวาณิชตระกูล. (2560). การเปิดรับ และความพึงพอใจที่มีต่อเฟซบุ๊กแฟนเพจ All New Isuzu DMax ของลูกค้าอีซูซ. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ณัฐภัทร วัฒนถาวร. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจบริโภคอาหารคลีนฟู๊ดของประชากรในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ดวงรัตน์ กมโลบล. (2535). การศึกษาลักษณะของการสร้างอารมณ์โดยสังคม ในการ์ตูนญี่ปุ่นทางโทรทัศน์ชุด "โดเรมอน". วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร.

นธกฤต วันต๊ะเมล์. (2557). การสื่อสารการตลาด (พิมพ์คร้ังที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

นันทิดา ดอกแก้ว. (2551). บริบททางสังคมและบริบททางวัฒนธรรมเกาหลี ที่ปรากฎในละครซีรีส์เกาหลี เรื่อง สะดุดรักที่พักใจ Full House. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. กรุงเทพมหานคร.

ประชัย จิตรปัญญา. 2558. ความรู้เบื้องต้นของการผลตรายการโทรทัศน์. สืบค้นเมื่อ 18 มกราคม 2558 จาก https://jameguitar.files.wordpress.com/2010/06/e0b89be0b8a3e0b8b0e0b88ae0b8b1e

ปรีชา ศรีศักิด์หิรัญ. (2537). การรับรูปกับพฤติกรรมผู้บริโภค. ในเอกสารสอนชุดวิชาพฤติกรรมผู้บริโภคหน่วยที่ 3. นนทบุรี. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ปัญญาพร ปรางจโรจน์. 2558. สไลด์ประกอบการบรรยายวิชารายวชาติ เทคโนโลยีมัลติมีเดีย. สืบคนเมื่อ 18 มกราคม 2558

ปาณมุก บุญญพิเชษฐ . (2554). การออกแบบสารในการประชาสัมพันธ์การตลาดผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพ็จของกลุ่มเครื่องสำอางตรา สินค้าหรู. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปิยะดนัย วิเคียน. 2549. แนวคิดการผลิตสื่อวิดีโอและวีดีทัศน์. เข้าถึงจาก : https://krupiyadanai.wordpress.com/ (11กันยายน 2560)

พชรมน ธรรมประสิทธิ์. (2554) .วิเคราะห์เนื้อหาการสื่อสารในภาวะวิกฤติ : กรณีศึกษาคลิปวีดีโอ รู้สู้ flood . บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. กรุงเทพมหานคร.

พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี : สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.).

พันธวิศ ติขะธรรม, (2555). บริบททางสังคมในการสร้างตัวละครหญิงเรื่องเกล็ดมรกตและจุดเจ็บในดวงใจ. กรุงเทพมหานคร :

พุทธชาด สวนจันทร์, (2550). ความรู้ทางโภชนาการการบริโภคอาหารและภาวะโภชนาการของครูโรงเรียนเอกชน .บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภาควิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภานุวัฒน์ กองราช. (2554). การศึกษาพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของวัยรุ่นในประเทศไทย : กรณีศึกษา Facebook. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ปทุมธานี.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2542. กรุงเทพมหานคร : นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ. (2541). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: บริษัท ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์ จำกัด.

สมบัติ กาญจนกิจ. (2541). พฤติกรรมการออกกําลังกาย.กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ ทหารผ่านศึก.

สมสุข หินวิมาน (2546). แนวทางการศึกษาและการเข้าสู่ปัญหาเรื่องการสื่อสารกับสุขภาพ. วารสารวิจัยสังคม, 26 (มกราคม-มิถุนายน 2546), 99-137.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA). (2561). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2561. กรุงเทพมหานคร : สำนักยุทธศาสตร์ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์กรมหาชน).

สุรัตน์ ตรีสกุล. (2548). หลักนิเทศศาสตร์.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

สุวัฒนา วงษ์กะพันธ์. (2539). การสื่อสารการตลาด. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาธุรกิจโฆษณา (หน่วยที่1-5). นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

อัญมณี ไวท์ยางกูร. (2544). พฤติกรรมสุขภาพเกี่ยวกับการบริโภคอาหารของหญิงตั้งครรภ์ โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ สังกัดสำนักการแพทย์. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Delozier, M. (1976). The Marketing communication process. London: McGraw Hill.

Hyperakt’s Josh Smith (2558) ,กระบวนการที่ดีในการออกแบบอินโฟกราฟิก (Infographics) 9 ขั้นตอน [online] , สืบค้นจาก https://www.learningstudio.info/infographics-design/ (19 พฤศจิกายน 2559).

Kozinets, R. V. (2002). The field behind the screen: Using netnography for marketing research in online communities, Journal of Marketing Research.

Kotler, P. and Amstrong, G. (2014). Principle of Marketing. 15th ed. England: Pearson. Kotler

Obar, J.A. and Wildman, S. (2015). Social media definition and the governance challenge: An introduction to the special issue. Telecommunications Policy, 39(9), 745-750.

Ratzen. (1994). Using Mass communication Theory. Englewood Cliffs : N.J. Princtice Hall.

Smiciklas, M. (2012) The Power of Infographics: Using Pictures to Communicate and Connect with your Audiences.