การรับรู้ตราสินค้า และการสื่อสารทางการตลาดที่มีผลต่อภาพลักษณ์ของธุรกิจตรา ดอยตุง ในจังหวัดเชียงราย

Main Article Content

ศรัญย์ บุญเรือง
อรกัญญา กันธะชัย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการรับรู้ตราสินค้า การสื่อสารการตลาด
และภาพลักษณ์ของธุรกิจตราดอยตุง 2) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานของผู้บริโภคที่แตกต่างกันที่มีผลต่อการรับรู้ตราสินค้า ภาพลักษณ์ และการสื่อสารทางการตลาดของธุรกิจตราดอยตุง
เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคที่เคยซื้อผลิตภัณฑ์และใช้บริการของธุรกิจตราดอยตุง ในจังหวัดเชียงราย จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, t-test, One-Way ANOVA สรุปผลการวิเคราะห์ได้ดังนี้


ผลการวิจัย พบว่า 1) ข้อมูลพื้นฐานของผู้บริโภคของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า เป็นเพศหญิง มีอายุอยู่ในช่วง 31-40 ปี สถานภาพสมรส ระดับการศึกษาปริญญาตรี/อนุปริญญา มีอาชีพธุรกิจส่วนตัว และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-40,000 บาท 2) ผลการวิเคราะห์การรับรู้ตราสินค้าค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (   = 3.07, S.D. = 0.58) การสื่อสารทางการตลาดค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (  = 3.04, S.D. = 0.40) และภาพลักษณ์ของธุรกิจตราดอยตุง ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (  = 3.10, S.D. = 0.53) 3) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้บริโภคของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีผลต่อการรับรู้ตราสินค้า และภาพลักษณ์ของธุรกิจตรา ดอยตุง พบว่า อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน มีผลต่อการรับรู้ตราสินค้าและภาพลักษณ์ของธุรกิจตรา ดอยตุง และข้อมูลพื้นฐานของผู้บริโภคของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีผลต่อการสื่อสารทางการตลาด พบว่า รายได้เฉลี่ยต่อเดือน มีผลต่อการสื่อสารทางการตลาดของธุรกิจตราดอยตุง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จรัญญา ปานเจริญ. (2563). การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการผ่านสื่อดิจิทัลที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้แอพพลิเคชั่น วีแชท (WeChat) ของผู้บริโภคในมณฑลเสฉวน. วารสารสุทธิปริทัศน์, 34(109), 122-133.

จิตติมา จันทรพร และ ญาฎา ศริวิฑูรย์. (2561). ภาพลักษณ์ตราสินค้าโทรศัพท์สมาร์โฟนจากประเทศจีนที่มีผลต่อ การตัดสินใจซื้อของนักศึกษามหาวิทยาลัยในเขตกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์. นครปฐม.

จิรวรรณ ดีประเสริฐ. (2553). การตลาดทางตรง: เครื่องมือทางการตลาดที่เข้าถึงผู้บริโภครายบุคคล. Executive Journal วารสารนักบริหาร, 30(4), 122-118.

ชัยสิทธิ์ เจริญวงค์วัฒน์. (2560). กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดดิจิทัล กรณีศึกษา บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน). (การค้นคว้าอิสระนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. ปทุมธานี.

ซิลก์ อัลวิน เจ. (2556). เรียนลัดการตลาด MBA Harvard. (ปฏิพล ตั้งจักรวรานนท์ และวีรวุธ มาฆะศิรานนท์, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท. (ต้นฉบับพิมพ์ปี ค.ศ. 2021).

ธเนศ ยุคันตวนิชชัย. (2553). การสื่อสารการตลาดเชิงบูรณาการ IMC (Integrated Marketing Communications). วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 30(2), 99-115.

ธราเทพ โชติวิชญ์พิพัฒน์. (2562). ภาพลักษณ์ของ 7-11 ในมุมมองของผู้บริโภคเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง. กรุงเทพมหานคร.

ธันวา อานทิพย์สุวรรณ. (2559). ภาพลักษณ์ร้านค้าและความตระหนักถึงตราสินค้า ส่งผลต่อความภักดีในการเข้าใช้ บริการ ของลูกค้าที่มีต่อร้านแมคโดนัลด์ สาขาพาต้าปิ่นเกล้า. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. ปทุมธานี.

นราวิชญ์ จันทาวี. (2562). การรับรู้ภาพลักษณ์ตราสินค้า คุณค่าตราสินค้าและตัดสินใจซื้อสินค้าตราเมอร์เซเดส-เบนซ์. (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม. ชลบุรี.

นฤมล แสงหงษ์ และ สมบูรณ์ ศรีอนุรักษ์วงศ์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการรับรู้ในภาพลักษณ์ของตราสินค้า ห้างสรรพสินค้าสยามดิสคัฟเวอรี่ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 12(1), 1-12.

ปาจรีย์ หุตินทะ. (2562). ปัจจัยการสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการที่มีผลต่อการตัดสนใจซื้อ รถยนต์ ฮอนด้า ซิตี้ ของผู้ใช้รถยนต์ที่เป็นสมาชิกกลุ่มปิด All New City Club ในเฟซบุ๊กประเทศไทย. (การค้นคว้าอิสระนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. ปทุมธานี.

ปรีดี นุกุลสมปรารถนา. (2563). การรับรู้ตราสินค้า. สืบค้นจาก https://www.popticles.com/branding/ brand-image

ภัทรวดี เอี่ยมศุภโชค. (2561). การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการและส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรม การตัดสินใจซื้อน้ำหอมปรับอากาศในรถยนต์ของพนักงานสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสี ช่อง 3. (การค้นคว้าอิสระนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. ปทุมธานี.

มารยาท โยทองยศ และ ปราณี สวัสดิสรรพ์. (2564). การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างเพื่อการวิจัย. สืบค้นจาก http://www.fsh.mi.th

มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปภัมภ์. (2563). รายงานประจำปี 2561. สืบค้นจาก https://www.maefahluang.org

วราพร ดำจับ. (2562). สื่อสังคมออนไลน์กับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 Social Media for Teaching and Learning in the 21st Century. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 7(2), 143-159.

วุฒิกร โกสินชูกิจ. (2555). แหล่งข้อมูลการสื่อสารการตลาดแบบครบวงจร ความสนใจในรูปแบบการเรียนรู้แบบ ผสมผสาน(Hybrid Learning) และประสบการณ์ในการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อความตั้งใจใช้บริการอบรมของผู้ใช้บริการ. (การศึกษาเฉพาะส่วนบุคคลบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. ปทุมธานี.

ศรีกัญญา มงคลศรี. (2547). Brand management. กรุงเทพฯ: Higher Press.

สัณฐิตา พิมพ์หิรัญ. (2562). การศึกษาปัจจัยการสื่อสารการตลาดบูรณาการที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อ Cleansing Water Product ของผู้หญิง Gen Y ในกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. ปทุมธานี.

สิทธิ์ ธีรสรณ์. (2562). การสื่อสารทางการตลาด (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุนิศา เฟื่องฟูนวกิจ. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการรับรู้คุณค่าตราสินค้า ราบิก้า คอฟฟี่ของผู้บริโภคในเขต กรุงเทพมหานคร. (สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพมหานคร.

อจิรภาส มีเพิ่มพูนศรี, ชาญเดช เจริญวิริยะกุล และ สโรชินี ศิริวัฒนา. (2565). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อสินค้า นำเข้าจากประเทศจีน ภาพลักษณ์ตราสินค้านําเข้าจากประเทศจีน. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 6(2), 282-294.

Aaker, D. A. (1991). Managing Brand Equity: Capitalizing on the Value of Brand Name. New York: The Free Press.

Aaker, D. A. (1991). Building Strong Brands. New York: The Free Press.

Fill, C. (1999). Marketing Communications: Contexts, Contents and Strategies (2nd ed.). Barcelona: Prentice-Hall Europe.

Keller, K. L. (1993). Conceptualizing, Measuring, & Managing Customer-Based Brand Equity. Journal of Marketing, 5(7), 1-22.

Keller, K. L. (2001). Building Customer-Based Brand Equity. Marketing Management, 10(2), 14- 20.

Kotler, P. (2010). Principles of Marketing. New Jersey: Prentice Hall.

Russell, J. T., and Lane, W. R. (2002). Kleppner’s Advertising Procedure (15th ed.). New Jersey: Prentice Hall.

Shimp, T. A. (2000). Advertising, Promotion and Supplemental Aspects of Integrated Marketing Communications (5th ed.). Florida: Dryden Press.