จริยธรรมการตีพิมพ์
มาตรฐานทางจริยธรรมของบรรณาธิการ (Editor) ผู้ประเมินบทความ (Reviewer) และผู้แต่ง (Author) ของ CRRU Journal of Communication
บทบาทและหน้าที่ของบรรณาธิการต่อการทำงานวารสาร
- บรรณาธิการทำหน้าที่รับบทความและจัดกระบวนการประเมินพิจารณาบทความในรูปแบบ Double Blind Peer Review เพื่อนำการตีพิมพ์ลงในวารสาร
- บรรณาธิการจะเป็นผู้ดูแลกระบวนการตีพิมพ์บทความของวารสาร (Peer Review Process) เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และขอบเขตสาขาการรับของวารสาร ตามมาตรฐานทางวิชาการ
- บรรณาธิการมีกระบวนการดำเนินการ เพื่อให้แน่ใจได้ถึงคุณภาพของบทความที่ตีพิมพ์ เพื่อรับรองมาตรฐานของบทความวิชาการและบทความวิจัยที่ตีพิมพ์
- การตัดสินใจยอมรับหรือปฏิเสธบทความวิชาการและบทความวิจัยเพื่อการตีพิมพ์ ขึ้นอยู่กับความสำคัญ ความใหม่ ความชัดเจน และคุณภาพทางวิชาการของบทความดังกล่าว ตลอดจนความเกี่ยวข้องกับขอบเขตของวารสาร
- วารสารฯ เปิดโอกาสให้ผู้นิพนธ์อุทธรณ์ได้ หากผู้นิพนธ์มีความคิดเห็นแตกต่างจากการตัดสินใจของบรรณาธิการ
- บรรณาธิการได้จัดพิมพ์คำแนะนำแก่ผู้นิพนธ์ในทุกประเด็นที่ผู้นิพนธ์ควรรับทราบเกี่ยวกับการตีพิมพ์ในวารสาร และเว็บไซต์ ซึ่งได้มีการปรับปรุงคำแนะนำให้ทันสมัยอยู่เสมอ
- บรรณาธิการจะปรับปรุงพัฒนาคุณภาพทางวิชาการของวารสารอย่างต่อเนื่อง
- บรรณาธิการจะไม่นำบทความจากผู้นิพนธ์ไปทำซ้ำ เขียนใหม่ เพื่อให้เป็นบทความของตนเองหรือกลุ่มวิจัย
- บรรณาธิการจะไม่แสวงหาผลประโยชน์ทางธุรกิจ กับผู้นิพนธ์ ผู้อ่าน หรือผู้ประเมิน ใด ๆ
- บรรณาธิการจะไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของผู้นิพนธ์ และข้อมูลส่วนบุคคลที่อาจถูกแสดงไว้ในบทความ เว้นแต่จะได้รับการอนุญาตอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
- หากบรรณาธิการรับรู้ความไม่ถูกต้องเกิดขึ้นกับบทความที่ตีพิมพ์ไปแล้ว หรือมีประโยคที่นำไปสู่ความเข้าใจผิด หรือมีรายงานที่บิดเบือนข้อเท็จจริง จะต้องแก้ไขให้ถูกต้องและชัดเจนทันที
- หากปรากฏการประพฤติทุจริตมิชอบใด ๆ ภายหลังการดำเนินการตรวจสอบแล้ว บรรณาธิการต้องดำเนินการเพิกถอนบทความนั้นด้วยความชัดเจนที่จะสามารถพิสูจน์ได้ ทั้งนี้ การเพิกถอนนี้ต้องให้ผู้อ่านและระบบฐานข้อมูลอื่นๆ ทราบด้วย
- บรรณาธิการมีระบบในการจัดการผลประโยชน์ทับซ้อนหรือการขัดกันด้านผลประโยชน์ของบรรณาธิการเอง รวมทั้งของเจ้าหน้าที่วารสาร ผู้นิพนธ์ ผู้ประเมินบทความ และ กองบรรณาธิการ
บทบาทและหน้าที่ของผู้นิพนธ์
- ผลงานของผู้นิพนธ์ต้องเป็นผลงานที่ไม่เคยตีพิมพ์หรือเผยแพร่ที่ใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการเสนอ เพื่อพิจารณาเผยแพร่ในวารสารฉบับอื่น
- บทความจะต้องไม่เป็นการคัดลอกผลงาน (Plagiarism) จากแหล่งอื่น กระบวนการวิจัยต้องเป็นไปตามหลักวิชาการ ผู้นิพนธ์ต้องไม่มีการเปลี่ยนแปลง ปิดบัง หรือละเลยผลการศึกษาโดยไม่มีคำอธิบายที่ถูกต้อง และ ผลการวิจัยต้องปราศจากการสร้างหรือแต่งขึ้นเอง (Fabrication) หรือนำเสนอข้อมูลอันเป็นเท็จ
- ผู้นิพนธ์ที่นำผลงานของผู้อื่นมาใช้ในบทความ ต้องอ้างอิงผลงานของผู้อื่น โดยจัดทำรายการอ้างอิงให้ถูกต้องครบถ้วนและต้องมีรายการอ้างอิง (Reference) ท้ายบทความ
- ผู้นิพนธ์ต้องไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ของข้อมูลและเนื้อหา รูปภาพ ภายในบทความของตนเอง
- ผู้นิพนธ์ร่วม (Co-author) ทุกคนต้องได้ยินยอมให้และรับทราบการส่งบทความนี้มายัง CRRU Journal of Communication
- ข้อความในบทความถือเป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์ทั้งหมด และเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์และคณะ
- ผู้นิพนธ์ต้องแก้ไขความถูกต้องของบทความตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) และกองบรรณาธิการ
บทบาทและหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ
- ผู้ประเมินบทความต้องพิจารณาประเมินคุณภาพบทความด้วยวิธีลับ โดยไม่เปิดเผยข้อมูลใด ๆ ของบทความที่พิจารณาให้แก่บุคคลอื่น ๆ
- มีความซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพ ไม่มีอคติ ให้ข้อคิดเห็นตรงไปตรงมา สร้างสรรค์ นำไปสู่การปรับปรุงบทความที่ได้มาตรฐานทางวิชาการ
- ประเมินบทความที่ตนมีความเชี่ยวชาญ โดยพิจารณาคุณภาพของบทความ ไม่ใช้ความคิดเห็นส่วนตัวที่ไม่มีข้อมูลมารองรับในการให้ข้อเสนอแนะหรือตัดสินบทความ
- ผู้ประเมินจะไม่นำบทความที่พิจารณา หรือนำผลที่พบไปเขียนเป็นบทความเรื่องใหม่ของตนเอง
- หากผู้ประเมินตระหนักว่า อาจมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์ ผู้ประเมินบทความควรแจ้งบรรณาธิการวารสาร และปฏิเสธการประเมินบทความนั้น
- หากผู้ประเมินบทความพบว่า บทความที่ประเมินมีความซ้ำซ้อนกับผลงานอื่น ต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบ